.
วันที่ 14 พฤษภาคม 2568 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติสั่งให้ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ยุติปฏิบัติหน้าที่เฉพาะในฐานะผู้กำกับดูแลกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และรองประธานคณะกรรมการคดีพิเศษ ตามคำร้องที่ส.ว.เข้าชื่อเสนอ
โดยระบุว่า ผมไม่เคยเห็นกรณีศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุติการปฏิบัติหน้าที่เป็นส่วนๆ (ถ้าจำคลาดเคลื่อนต้องขออภัย) ที่ผ่านมาถ้าสั่งหยุดก็หยุดเลย แต่วันนี้สั่ง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ยุติปฏิบัติหน้าที่เฉพาะในฐานะผู้กำกับดูแลกรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI) และรองประธานคณะกรรมการคดีพิเศษ ตามคำร้องที่ส.ว.เข้าชื่อเสนอ
พูดบ้านๆคือที่แล้วมาสั่งให้เป็นอัมพาต หยุดเต็มตัวเต็มตำแหน่ง แต่คราวนี้สั่งรมว.ยุติธรรมให้เป็นอัมพฤกษ์ เคลื่อนไหวไม่ได้เป็นบางส่วน ข้อกล่าวหาคือ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯและรมว.กลาโหม กับพ.ต.อ.ทวี ใช้อำนาจแทรกแซงหรือครอบงำหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการเลือกตั้ง โดยใช้ DSI เป็นเครื่องมือแทรกแซงกระบวนการตรวจสอบการเลือกสมาชิกวุฒิสภา
DSI มีอำนาจทำคดีนี้ด้วยมติคณะกรรมการคดีพิเศษ ศาลยกคำร้องกรณีนายภูมิธรรมซึ่งทำหน้าที่ประธาน แต่สั่งรองประธานหยุดทำหน้าที่ แปลกแน่ๆ แต่ก็ต้องตามนั้น เพราะคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร
ในฐานะรมว.ยุติธรรม แม้เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของ DSI แต่การทำคดีเลือกส.ว.ดำเนินการคู่ขนานกับกกต. ซึ่งทางกกต.ก็ตั้ง DSI เป็นผู้ช่วย ไม่ได้แสดงออกว่าจะถูกแทรกแซงครอบงำใดๆ ทุกขั้นตอนจนถึงขณะนี้มีแต่คณะส.ว.บางส่วนที่เห็นว่าไม่ชอบธรรม แต่คนทั่วไปชอบให้ทำ เพราะเรื่องนี้จัดอยู่ในประเภทคดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญประชาชน
ผมยืนยันอีกครั้งว่าคดีเลือกส.ว.ไม่ได้มีความหมายเพียงสงครามการเมืองเรื่องสี แต่เป็นการต่อสู้เพื่อปกป้องระบบรัฐสภา ถ้าเรื่องนี้จบลงโดยไม่มีใครผิด จะกลายเป็นประเทศไทยผิดที่ประกาศในรัฐธรรมนูญว่าปกครองในระบอบประชาธิปไตย
แม้มีเส้นทางอีกยาวไกลอีกหลายเงื่อนไขให้ต้องต่อสู้ แต่ถ้าไม่สู้เรื่องนี้ที่ชัดเจนเต็มตาแบบนี้ สังคมจะเดินหน้าอย่างไร
ที่น่าเป็นห่วงอีกเรื่องคือ เมื่อศาลวินิจฉัยและสั่งรัฐมนตรียุติการทำหน้าที่เฉพาะเรื่อง จะมีผลกดดันข้าราชการคนทำงานหรือไม่ อาจมีคนอาศัยช่องนี้ฟ้องดำเนินคดี 157 กับเจ้าหน้าที่ ทำให้คดีที่กำลังเข้าด้ายเข้าเข็ม กลายเป็นเข้ารกเข้าพงไปหรือไม่
ขอส่งกำลังใจไปยังผู้กำลังปฏิบัติงานทุกคน อย่ายอมตนเป็นเครื่องมือทางการเมืองของสีไหน แต่จงตระหนักว่าท่านเป็นความหวังของประชาชน
ส่วนศาลรัฐธรรมนูญ ผมเคารพอยู่แล้วล่ะ ข้อกล่าวหาคือ นายภูมิธรรม เวชยชัย และพ.ต.อ.ทวี ใช้อำนาจแทรกแซงหรือครอบงำหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการเลือกตั้ง โดยใช้ DSI เป็นเครื่องมือแทรกแซงกระบวนการตรวจสอบการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พูดบ้านๆคือที่แล้วมาสั่งให้เป็นอัมพาต หยุดเต็มตัวเต็มตำแหน่ง แต่คราวนี้สั่งรมว.ยุติธรรมให้เป็นอัมพฤกษ์ เคลื่อนไหวไม่ได้เป็นบางส่วน แปลกแน่ๆ แต่ก็ต้องตามนั้น เพราะคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร
DSI มีอำนาจทำคดีนี้ด้วยมติคณะกรรมการคดีพิเศษ ศาลยกคำร้องกรณีนายภูมิธรรมซึ่งทำหน้าที่ประธาน แต่สั่งรองประธานหยุดทำหน้าที่ ในฐานะรมว.ยุติธรรม แม้เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของ DSI แต่การทำคดีเลือกส.ว.ดำเนินการคู่ขนานกับกกต. ซึ่งทางกกต.ก็ตั้ง DSI เป็นผู้ช่วย ไม่ได้แสดงออกว่าจะถูกแทรกแซงครอบงำใดๆ ทุกขั้นตอนจนถึงขณะนี้มีแต่คณะส.ว.บางส่วนที่เห็นว่าไม่ชอบธรรม แต่คนทั่วไปชอบให้ทำ เพราะเรื่องนี้จัดอยู่ในประเภทคดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญประชาชน
ผมยืนยันอีกครั้งว่าคดีเลือกส.ว.ไม่ได้มีความหมายเพียงสงครามการเมืองเรื่องสี แต่เป็นการต่อสู้เพื่อปกป้องระบบรัฐสภา ถ้าเรื่องนี้จบลงโดยไม่มีใครผิด จะกลายเป็นประเทศไทยผิดที่ประกาศในรัฐธรรมนูญว่าปกครองในระบอบประชาธิปไตย แม้มีเส้นทางอีกยาวไกลอีกหลายเงื่อนไขให้ต้องต่อสู้ แต่ถ้าไม่สู้เรื่องนี้ที่ชัดเจนเต็มตาแบบนี้ สังคมจะเดินหน้าอย่างไร
ที่น่าเป็นห่วงอีกเรื่องคือ เมื่อศาลวินิจฉัยและสั่งรัฐมนตรียุติการทำหน้าที่เฉพาะเรื่อง จะมีผลกดดันข้าราชการคนทำงานหรือไม่ อาจมีคนอาศัยช่องนี้ฟ้องดำเนินคดี 157 กับเจ้าหน้าที่ ทำให้คดีที่กำลังเข้าด้ายเข้าเข็ม กลายเป็นเข้ารกเข้าพงไปหรือไม่
ขอส่งกำลังใจไปยังผู้กำลังปฏิบัติงานทุกคน อย่ายอมตนเป็นเครื่องมือทางการเมืองของสีไหน แต่จงตระหนักว่าท่านเป็นความหวังของประชาชน
ส่วนศาลรัฐธรรมนูญ ผมเคารพอยู่แล้วล่ะ