ไลฟ์สไตล์ » สุขภาพ » #”ไหลตาย” โรคที่คนอายุน้อยก็เป็นได้ ถ้าไม่รู้จักดูแลตัวเอง

#”ไหลตาย” โรคที่คนอายุน้อยก็เป็นได้ ถ้าไม่รู้จักดูแลตัวเอง

7 November 2017
1292   0

เรียนรู้โรคไหลตาย “ฆาตกรเงียบ”อย่าคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว “ไหลตาย” โรคที่คนอายุน้อยก็เป็นได้ ถ้าไม่รู้จักดูแลตัวเอง

ไหลตาย เชื่อว่าหลายๆ ท่านต้องเคยได้ยินชื่อโรคนี้กันมาบ้าง แต่มีใครรู้ไหมว่าโรคไหลตายเกิดจากสาเหตุอะไร หลายท่านส่วนมากมักจะคิดว่าไหลตายเกิดขึ้นเฉพาะผู้ที่สูงอายุเท่านนั้นหรือบางท่านเชื่อว่าโรคไหลตายนั้น เกิดจากที่มีผีมารับไปอยู่ด้วย

แต่ที่หลายท่านอาจจะยังไม่รู้ คือไหลตาย เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า “โรคหัวใจวายเฉียบพลัน” มีสาเหตุที่สำคัญคือเกิดจากภาวะที่ร่างกายขาดแร่ธาตุโปแตสเซียม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง ส่งผลให้หัวใจเต้นแรงขึ้น แรงขึ้น จนเสียชีวิตจากหัวใจวายได้ โดยเฉพาะพวกที่กินข้าวเหนียวพร้อมเหล้า-เบียร์ มีโอกาสหัวใจวายสูง จึงมักพบมากในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและสามารถเป็นได้ทั้งหญิงและชาย แต่เพศชายจะเสียชีวิตมากกว่า อย่างไรก็ตามต้องคอยหมั่นสังเกตอาการเหล่านี้

สาเหตุของโรคหัวใจวายเฉียบพลัน หรืออาการไหลตาย
โรคหัวใจวายเฉียบพลัน หรืออาการไหลตาย มีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะที่เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ซึ่งไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร ในบางรายอาจมีสุขภาพปกติ แข็งแรง แต่อยู่ๆ ก็กลับมีอาการผิดปกติ เช่น แน่นหน้าอก รู้สึกอึดอัด เหนื่อยง่าย

อาการของโรคหัวใจวายเฉียบพลัน
ผู้ป่วยมักเสียชีวิตฉับพลันในเวลากลางคืน ทั้งๆ ที่เป็นคนแข็งแรงและไม่เคยป่วยมาก่อน ในประเทศไทยมักพบเจอบ่อยในภาคอีสานและบางส่วนของภาคกลาง ช่วงอายุผู้ป่วยอยู่ระหว่าง 30-50 ปี
ที่สำคัญคือโรคนี้ไม่ค่อยเป็นที่ รับรู้ของคนทั่วไป และผู้ป่วยมักเป็นกำลังสำคัญของครอบครัวและสังคม ดังนั้น หากอยู่ๆ เสียชีวิตไป จะทำให้มีปัญหากับคนที่อยู่ข้างหลังได้

สัญญาณอันตรายของโรคหัวใจวายเฉียบพลัน
1.เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก
2.อึดอัด หายใจไม่ออก โดยเฉพาะในตอนกลางคืน
3.วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย
4ใจหวิวๆ เครียดง่าย ตื่นเต้นง่าย
5.เหงื่อแตก
6.อาจมีอาการเป็นลม หมดสติ

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจวายเฉียบพลัน
1.เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง
2.สูบบุหรี่
3.มีอาการนอนกรน ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วย

*** หากท่านใดกังวลว่าตัวเองจะมีความเสี่ยงหรือไม่ หรือมีอาการเข้าข่ายต้องสงสัยควรรีบไปปรึกษากับแพทย์ เพื่อตรวจเช็คให้ละเอียดป้องกันไว้ก่อนที่จะสายเกินไป

เรียบเรียงโดย

พัชรพร นาคประดิษฐ์ : สำนักข่าวทีนิวส์

วิฑูรย์ โคตรทุม
สำนักข่าววิหคนิวส์