เรื่องฮอต ประเด็นฮิต » #ไม่เคยมีจริง ! เพชรบลูไดมอนด์ ที่พวกล้มเจ้าใส่ร้ายสถาบัน

#ไม่เคยมีจริง ! เพชรบลูไดมอนด์ ที่พวกล้มเจ้าใส่ร้ายสถาบัน

6 August 2021
1187   0

แม้วันเวลาจะผ่านไปกว่า 32 ปีแล้วก็ตาม แต่คดี เพชรซาอุฯ ก็ยังถูกกลับเอามาเล่าขานกันอีกครั้ง
.
ตำนานเครื่องเพชรที่ถูกพูดถึงมากเรื่องหนึ่งในสังคมไทยโดย คดี เพชรซาอุฯ นั้นเกิดขึ้นครั้งแรกเกิดปี พ.ศ. 2532 นายเกรียงไกร เตชะโม่ง คนงานทำความสะอาดในพระราชวังของเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด ได้โจรกรรมเพชร ทอง และอัญมณี ที่ถูกวางไว้อย่างไม่เป็นที่เป็นทาง จากพระราชวัง โดยอาศัยช่วงเวลาที่เจ้าชายแปรพระราชฐานไปต่างประเทศ แอบนำถุงกระสอบขนาดใหญ่เข้าไปในพระราชวัง ซ่อนตัวอยู่ภายในพระราชวังจนถึงเวลากลางคืน แล้วจึงทำการขโมยเครื่องเพชรใส่ถุงกระสอบแล้วโยนถุงกระสอบลงมาออกนอกกำแพงพระราชวัง จากนั้นนำส่งประเทศไทยโดยการส่งปะปนมากับเสื้อผ้าเครื่องใช้ส่วนตัว ทำให้ ยากจะตรวจสอบได้
.
แต่สุดท้าย นายเกรียงไกร เตชะโม่ง ได้ถูก ตำรวจจับกุมได้ในเวลาต่อมา โดย ชุดจับกุมของ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ และยอมรับสารภาพทุกข้อกล่าวหา พร้อมช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการตามเพชรทั้งหมดกลับคืนอีกด้วย
.
—————
ไม่เคยมี “เพชรสีน้ำเงินมาแต่แรก”
—————
.
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เริ่มมี “คดีเพชรซาอุ” มีการพูดถึง เครื่องเพชร ชุดหนึ่ง คือ “เพชรสีน้ำเงิน”( เครื่องเพชรบลูไดมอนด์) ซึ่งแท้จริงแล้วมีปรากฎแต่ในการนำเสนอข่าวภายในประเทศไทยเท่านั้น ที่แม้แต่ พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรัตน์ ผช.อตร. เจ้าของคดี ยังถามถามสื่อมวลชนเองว่า “ไปเอาเรื่องนี้มาจากไหน ตนไม่เคยได้ยิน หรือเห็นมาก่อนเลย” จากนั้นก็มีการไปเอารูปภริยาอธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น พล.ต.อ. แสวง ธีระสวัสดิ์ ภาพใน น.ส.พ. ฉบับหนึ่ง ผู้หญิงสวมสร้อยคอที่มีจี้เป็นอัญมณีสีน้ำเงินล้อมเพชรและทอง ปรากฏตัวในงานเลี้ยงงานหนึ่ง ใช้ชื่อ “งานเลี้ยงบลูไดมอนด์” แล้วก็ลือกันตามมาว่าเป็นเพชรบลูไดมอนด์ของเจ้าฟ้าชายไฟซาล เรื่องราวนี้ดังไปถึงหู ทางการของประเทศซาอุฯ เลยส่งสายสืบลับของซาอุฯมาตรวจสอบเพิ่มเติม จนพบว่า ในความเป็นจริงแล้วเพชรบลูไดมอนด์ ในข่าวเป็นเพียง วัตถุที่ทำด้วยผ้ากำมะหยี่สีน้ำเงินเข้มที่นำมาประดิษฐ์เข้าคู่กับเพชรและทอง เท่านั้น คดีเพชรบลูไดมอนด์จึงจบไป…
.
ส่วน นายเกรียงไกร เตชะโม่ง จำเลยได้สารภาพว่า ได้แบ่งเครื่องเพชรให้กับเพื่อนที่มีส่วนรู้เห็นโดยไม่ได้แยกแยะ ชนิดสี ประเภทใดๆก่อนที่จะเดินทางกลับประเทศไทย โดยแยกทองและหินออกจากกัน เนื่องจาก นาย เกรียงไกร ทราบมูลค่าของทองดีแต่ไม่ทราบมูลของเพชรพลอยที่ประดับ หินบางส่วนถูกทุบให้แตกเพื่อแยกประเภทคร่าวๆตามความเข้าใจว่าเพชรเป็นของแข็ง หากไม่แตกก็จะเก็บเอาไว้ขายนั้นเอง จากนั้นจึงนำไปขายให้พ่อค้าเพชรและทองตามลำดับ
.
ในช่วงเวลาระหว่างการดำเนินคดี นายเกรียงไกร เตชะโม่ง จำเลยในคดีลักเพชรของเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด อธิบดีกรมตำรวจ พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพ มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบคือ (สิงเหนือ ) พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ ออกติดตามเครื่องเพชรคืนให้แก่รัฐบาลซาอุดิอาระเบีย โดยตามหาและส่งคืนกลับไปทั้งหมด ผลงานของ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศในครั้งนั้นสร้างชื่อเสียงมากจนได้รับการยกย่องจากประเทศซาอุดิอาระเบีย ให้เป็นแขกพิเศษ
.
อย่างไรก็ตามมีประเด็นต่อมา คือการส่งคืนเครื่องเพชรจำนวนมากในครั้งนั้นกลับไม่ครบ-และบางส่วนปลอม เลยมีการรื้อคดีกลับมาตรวจสอบอีกครั้ง จากคำให้การของนายเกรียงไกร ที่บอกว่า ได้โจรกรรมเครื่องเพชรของเจ้าชายไฟซาล แล้วนำเข้ามาขายในประเทศไทย โดยขายให้ นายสันติ ศรีธนะขัณฑ์ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ จึงพุ่งเป้าไปที่ นายสันติ เพื่อตามทวงคืน เครื่องเพชรส่วนที่เหลือ แต่นายสันติ ได้ปฎิเสธ พล.ต.ท.ชลอจึงจับลูกและภารยาของนายสันติ เป็นตัวประกันเพื่อบีบบังคับให้ นายสันติบอกที่ซ่อนของเพชรที่เหลือ แต่ก็ไม่เป็นผล …ประจวบกับเหตุการณ์เวลานั้นมีการคุกคามตัวประกัน จึงมีการสังหารตัวประกันแล้วจัดฉากให้เป็นอุบัติเหตุ แต่ในภายหลัง พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศถูกจับกุมในคดี สังหาร ครอบครัว ศรีธนะขัณฑ์ เลยได้รับโทษประหารชีวิต …(ซึ่งปัจจุบัน ได้รับการปล่อยตัวหลังจากที่จำคุกมาได้ 19ปี)
.
เมื่อมีการพยายามพูดถึง เพชรบลูไดมอนด์และเพชรที่เหลือจากซาอุฯ อีกครั้ง มีการตรวจสอบ ย้อนกลับซ้ำอีกครั้ง จึงพบว่า ทางซาอุฯไม่สามารถระบุรูปลักษณ์ของ เพชรบลูไดมอนด์ และไม่มีใครทั้ง นายเกรียงไกร เตชะโม่ง ,นายสันติ ศรีธนะขัณฑ์ และเจ้าหน้าที่ทางการไทย ต่างไม่เคยพบเห็นเพชรบลูไดมอนด์ เลยจึงได้ข้อสรุปว่าเพชรบลูไดมอนด์ ไม่เคยอยู่ในประเทศไทย
.
เรื่องราว เพชรซาอุฯ มีข้อเท็จจริงแต่เพียงเท่านี้…
.
————————
กำเนิดข่าวลือเพชรซาอุรอบที่สอง
————————
.
อย่างไรก็ตาม ในปี2551 ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง มีการยกเรื่อง เพชรสีน้ำเงิน เอาขึ้นมาอีกครั้ง บนเวทีสนามหลวง เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2551
.
ทั้งบนเวที และ ในลักษณะข่าวลือ โดยบนเวทีชุมนุมนั้นจะปรากฎ ภาพ แหวนเพชรสีน้ำเงินถูกสวมอยู่ในอุ้งเท้าไดโนเสาร์ ซึ่งในการชุมนุมครั้งนั้น มี หนึ่งในผู้ปราศรัย คือ(เสือใต้) พล.ต.อ สล้าง บุนนาค นายตำรวจยุคเดียวกับ (สิงเหนือ)พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ
.
ส่วนข่าวลือและภาพที่ถูกแชร์กันใส่สังคมออนไลน์ในช่วงปี 2553 คือภาพ เพชรสีน้ำเงิน หน้าต่างๆกันออกไปทั้งแบบที่เป็นแหวนเพชร และ สร้อยคอ โดยมีการระบุในข่าวลือว่าเป็น เพชรบลูไดมอนด์จากคดีเพชรซาอุฯ โดยมีการนำเอาภาพของสมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่9 ทรงพระศอประดับอัญมณีสีฟ้าในการแชร์พร้อมเรื่องราวข่าวเท็จเกี่ยวกับการขโมยเพชรสีน้ำเงินจากราชวงศ์ซาอุฯ จนกลายเป็นข่าวลือให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างแยบยล
.
ในความเป็นจริงแล้วไม่เคยมีใครเคยเห็น เพชรบลูไดมอนด์ ว่าอยู่ในสภาพแหวนหรือสอยคอ และมีจำนวนกี่เม็ดกันแน่
.
หากพิจารณาภาพเพชรสีน้ำเงินที่เผยแพร่ในช่วงนี้ก็จะพบว่าเป็นเพียงการนำภาพ เครื่องเพชรที่มีลักษณะใกล้เคียงมาตัดต่อพร้อมประกอบกับเรื่องราวข่าวลือเท่านั้น โดยภาพที่ปรากฏประจำคือ Hope Diamond ของฝรั่งเศส ทั้งนี้ Hope Diamond มีประวัติน่าสนใจมาก เพราะ เป็นเพชรสีน้ำเงินที่ถูกตัดออกมาจาก เพชรเม็ดยักของ ราชวงศ์ฝรั่งเศส ที่ชื่อว่า French Blue (Le bleu de France) ตั้งแต่สมัยปฎิวัติฝรั่งเศส โดยแหล่งกำเนิดของ French Blue (Le bleu de France) นั้นมาจากเหมืองในเมืองกอลคอนดา (Golconda) ในประเทศอินเดีย ตั้งแต่ ปี 1664
.
แต่ด้วยประวัติของผู้ครอบรองเพชรสีน้ำเงิน ที่ล้วนเป็นคนใหญ่คนโต และเสียชีวิตฉับพลันจึงทำให้กลายเป็นตำนานเพชรต้องสาป ซึ่งปัจจุบัน เพชรเม็ดนี้ อยู่ในพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน
.
ส่วนอีกภาพที่นิยมแชร์พร้อมกับข่าวลือคำสาปเพชรซาอุฯ คือภาพของ “Heart of the Ocean” หรือในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า “Le Cœur de la Mer” เพชรสีน้ำเงินรูปทรงหัวใจ เป็นเครืองประดับที่สวยงามมาก แต่น่าเสียดายว่า แท้จริงแล้ว”Heart of the Ocean”เป็นเพชรที่เกิดมาจาก การจินตนาการของผู้กำกับภาพยนต์ ไททานิค โดย “Heart of the Ocean” นั้นถูกจินตนาการขึ้นโดยอ้างอิง ประวัติ Hope Diamond ของฝรั่งเศส และถูกจินตนาการไปถึงการเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุการจมเรือในภาพยนตร์ไททานิค
.
ส่วนภาพสำคัญและมักถูกตกเป็นเป้าโจมตีของข่าวเท็จก็คือภาพของ สมเด็จพระราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ทรง พระศอไพลินสีน้ำเงิน(ไม่ใช่เพชร) เป็นภาพตั้งแต่ ปี 2500 ขณะทรงเยือนสหรัฐอเมริกา ซึ่งพระศอไพลินสีน้ำเงินนั้นเป็นมรดกตกทอดมาจากสมเด็จพระพันปีหลวง
.
และ แน่นอนว่า ภาพของ สมเด็จพระราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ทรง พระศอไพลินสีน้ำเงิน เป็นภาพที่เกิดขึ้นก่อน คดีเพชรซาอุฯ ถึง 32 ปี
.
ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ ที่ เพชรบลูไดมอนด์ จากคดีเพชรซาอุฯปี 2532 จะย้อน เวลาไปปรากฎในปี 2500 ได้โดยเด็ดขาด
———————————