ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #ใครล้มล้างการปกครอง?

#ใครล้มล้างการปกครอง?

21 July 2019
1208   0

ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนาได้โพสต์เฟสบุ๊คเรื่องล้มล้างการปกครองไว้อย่างน่าสนใจว่า

นักการเมือง เด็กที่อ้างว่าเป็นคนรุ่นใหม่ ยังคงแยกแยะไม่ออกระหว่าง ล้มการปกครอง หรือเปลี่ยนการปกครอง หรือที่เรียกกันติดปากว่า (ปฏิวัติ) กับ ยึดอำนาจการรัฐประหาร หรือยึดอำนาจรัฐบาล หรือที่เรียกว่า (รัฐประหาร)

พอพรรคจะถูกยุบก็แถว่า คสช.ล้มการปกครอง หรือปฏิวัติยังไม่ผิด พอฝั่งตัวเองล้มการปกครองบ้างก็ต้องไม่ผิด เพราะคสช.ยังทำได้

อันที่จริง แล้ว ปฏิวัติ คือ การเปลี่ยนแปลงหลักมูลในโครงสร้างอำนาจหรือการจัดระเบียบซึ่งเกิดขึ้นในระยะเวลาค่อนข้างสั้น ปฏิวัติเกิดขึ้นตลอดประวัติศาสตร์มนุษย์และแปรผันหลากหลายในแง่วิธีการ ระยะเวลาและอุดมการณ์จูงใจ ผลแห่งปฏิวัติรวมถึงการเปลี่ยนแปลงสถาบันวัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคม-การเมืองครั้งใหญ่

ส่วน รัฐประหาร คือ การใช้กำลังยึดอำนาจ และเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาลโดยฉับพลันแต่ไม่เปลี่ยนระบอบการปกครอง

อันที่จริงแล้วการล้มการปกครองนั้น ประเทศไทยเคยเกิดขึ้นครั้งเดียว หรือการปฏิวัติสยาม เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 เวลา 06.00 น. หรือยามย่ำรุ่ง ฤกษ์โหราศาสตร์ในการยึดอำนาจคือ โจโรฤกษ์ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นพระประมุข หรือ ระบอบราชาธิปไตย

ราชาธิปไตย (อังกฤษ: monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองที่ตำแหน่งประมุขแห่งรัฐโดยปกติถืออยู่กระทั่งสวรรคตหรือสละราชสมบัติ โดยมากมักได้อำนาจมาโดยการสืบราชสมบัติ และโดยปกติมักให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์แห่งราชวงศ์ที่ปกครองอยู่ก่อนอย่างเป็นทางการ พระมหาษัตริย์มักมีฐานันดรศักดิ์เป็นพระราชาหรือพระราชินี อย่างไรก็ดี จักรพรรดิ/จักรพรรดินี, แกรนด์ดยุก/แกรนด์ดัชเชส, เจ้าชาย/เจ้าหญิง และคำอื่น ถูกใช้เพื่อระบุตำแหน่งพระมหากษัตริย์ด้วย แม้คำว่า “monarch” จะมาจากคำว่า “ผู้ปกครองคนเดียว” ปัจจุบันมี 44 รัฐอธิปไตยในโลกที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (อังกฤษ: absolute monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย กล่าวคือ ที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คำสั่ง ความต้องการต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมาย กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ

การเปลี่ยนการปกครอง ถ้าทำสำเร็จจะเรียกว่า ปฏิวัติ และการยึดอำนาจรัฐบาล จะเรียกว่ารัฐประหาร ตามลำดับ หากไม่สำเร็จ เรียกว่า “กบฎ” ซึ่งเคยเกิดขึ้นนับสิบครั้ง และจะต้องถูกเอาผิดไม่จำคุก ก็ถูกประหารชีวิตอันเป็นโทษสุงสุด เช่น กบฏบวรเดช กบฏเมษาฮาวาย กบฏแมนฮัตตัน กบฏนายสิบ เป็นต้น

ที่ผ่านมา มีพรรคการเมือง 2 พรรค ที่ถูกศาลพิพากษาว่ามีพฤติกรรมในการล้มล้างการปกครอง แต่ไม่สำเร็จ คือ พรรคไทยรักไทย และพรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งเป็นเครือข่ายระบอบทักษิณ ศาลเพียงมีคำสั่งให้ยุบพรรค และตัดสิทธิทางการเมือง แต่ไม่ได้มีโทษจำคุก หรือประหารชีวิต

เมื่อทั้ง 2 พรรคถูกยุบ มีเพียงกรรมการบริหารพรรค ที่ต้องถูกตัดสิทธิทางการเมือง สมาชิกพรรค และสส.ภายในพรรค ก็จะกลับเข้าไปสังกัดพรรคในระบอบทักษิณเช่นเดิม การยุบพรรคจะเพียงข่าวใหญ่เพียง 3 วัน จากนั้นทุกอย่างก็จะวนมาที่เดิม

นั้นหมายถึงการยุบพรรคจึงยึด พฤติกรรมในการกระทำความผิด โดยยึดเจตนา เป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาคดีในการชี้การกระทำความผิดเป็นสำคัญ แต่ทำให้คนไทยได้เห็นว่า ระบอบทักษิณนั้น คือระบอบที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

“ กรรมเกิดจากการกระทำ ใครทำกรรมใดไว้ย่อมได้รับผลกรรมตามนั้น “

ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา
20 กรกฎาคม 2562

สำนักข่าววิหคนิวส์