เรื่องฮอต ประเด็นฮิต » #แฉ ภาพหนีออกรพ. ! ล่า..ชาวไนจีเรีย ป่วยฝีดาษลิง ทำคนใก้ลชิดเสี่ยงอีก 6 ราย

#แฉ ภาพหนีออกรพ. ! ล่า..ชาวไนจีเรีย ป่วยฝีดาษลิง ทำคนใก้ลชิดเสี่ยงอีก 6 ราย

22 July 2022
442   0

 

 

🔴#ภูเก็ต💥#เปิดไทม์ไลน์ หนุ่มป่วยฝีดาษลิง ตุ่มขึ้นทั้งตัว โผล่เที่ยวสถานบันเทิง มี 6 รายอาการใกล้เคียง

เผยอาการผู้ป่วยฝีดาษลิง ตุ่มขึ้นทั่วตัว สัมผัสเสี่ยงสูง 2 ราย ไม่พบเชื้อ ตรวจสถานบันเทิง 2 แห่ง 6 รายมีอาการใกล้เคียง 4 รายไม่เจอเชื้อ อีก 2 อยู่ระหว่างตรวจ

เมื่อวันที่ 22 ก.ค.65 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงกรณีพบผู้ป่วยฝีดาษวานรหรือฝีดาษลิง (Monkeypox) รายแรกของประเทศไทย ว่า กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประกาศให้โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังลำดับที่ 56 กำหนดอาการสำคัญคือ ไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองบวมโต เจ็บคอ มีตุ่มน้ำหรือตุ่มหนองที่ศีรษะ ลำตัว อวัยวะเพศ แขนขา หรือฝ่ามือฝ่าเท้า

ดังนั้น คณะกรรมการโรคติดต่อโรคจังหวัด/คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร (กทม.) และเจ้าพนักงานควบคุมโรคต้องทำแผนปฏิบัติการโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังและรายงานสถานการณ์โรคหรือเหตุที่สงสัยอาจเกิดการระบาดขึ้น

ทั้งนี้ จ.ภูเก็ต ค้นหาผู้ป่วยและเฝ้าระวัง ซึ่งได้รับรายงานจาก รพ.แห่งหนึ่งใน จ.ภูเก็ต พบชายชาวไนจีเรีย อายุ 27 ปี มีอาการต้องสงสัยเข้าได้กับฝีดาษลิง เพราะมีตุ่มขึ้นที่ใบหน้า ลำตัว แขนขา และอวัยวะเพศ มีการส่งหนองและสิ่งส่งตรวจต่างๆ ไปตรวจที่ รพ.จุฬาลงกรณ์พบผลบวกต่อโรคฝีดาษลิง เมื่อเราเจอโรคอุบัติใหม่รายแรกๆ ของประเทศจะต้องมีแล็บ 2 แห่งเพื่อยืนยันกัน

จึงส่งสิ่งส่งตรวจเพิ่มเติมที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยืนยันตรงกันวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา ขั้นตอนต่อไปคือรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยรายนี้ ทั้งทางคลินิก ระบาดวิทยา และเสนอคณะกรรมการวิชาการ ภายในคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อแห่งชาติ พิจารณาและประกาศยืนยันเมื่อวันที่ 21 ก.ค.ที่ผ่านมา ว่าเป็นโรคฝีดาษลิง

🟥เปิดไทม์ไลน์ผู้ป่วย #ฝีดาษลิง คนแรกในไทย หลบหนี⁣

จังหวัดภูเก็ตออกแถลงข่าวด่วน ‘ผู้ป่วยฝีดาษลิง’ รายแรกในประเทศไทย หลบหนีหายตัวปริศนา⁣

▪ ผู้ป่วยรายนี้ เป็นเพศชาย ชาวไนจีเรีย อายุ 27 ปี ปฏิเสธการให้ประวัติอาชีพ และปฏิเสธการให้ประวัติเดินทางออกนอกประเทศไทย เดินทางเข้าประเทศไทยเมื่อ 21 ตุลาคม 2564 ⁣

▪ เข้าพักอาศัยที่คอนโดมิเนียมใน ต.ป่าตอง อ.กระทู้ จ.ภูเก็ต ตั้งแต่ พฤศจิกายน 2564 ถึงปัจจุบัน⁣

▪ 9 ก.ค. 65⁣
ไข้ เจ็บคอ มีผื่นคัน มีตุ่มนูนแดง ตุ่มหนอง เริ่มจากอวัยวะเพศ ลามไปใบหน้า ลำตัว แขน ไม่ทราบประวัติเดินทาง⁣

▪ 16 ก.ค. 65⁣
เข้ารับการรักษาที่ รพ.เอกชน ผลตรวจร่างกายพบตุ่มหนอง กระจายตามอวัยวะเพศ ใบหน้า ลำตัว แขน ต่อมน้ำเหลืองโตที่บริเวณขาหนีบทั้ง 2 ข้าง ซักประวัติเพิ่มเติม พบประวัติสัมผัสนักท่องเที่ยวในสถานบันเทิงป่าตอง ช่วง 2-3 สัปดาห์ก่อนป่วย พร้อมทั้งให้ประวัติมีเพศสัมพันธ์ไม่ปลอดภัย แพทย์สงสัยโรคฝีดาษลิง เจาะเลือดส่งตรวจ⁣

▪ 17 ก.ค. 65⁣
เวลา 14.10-15.13 น. ผู้ป่วยออกไปทานข้าวโดยมีประวัติเข้า-ออก คอนโดที่พัก⁣

▪ 18 ก.ค. 65⁣
-เพื่อนพบว่าผู้ป่วยยืนอยู่บนระเบียงคอนโดของที่พัก⁣
-18.33 น. กล้องวงจรปิดพบผู้ป่วยนั่งรถแท็กซี่ ออกจากคอนโดของที่พัก⁣
-19.00 น. กล้องวงจรปิดพบ ผู้ป่วยเช็กอินที่โรงแรม สัมผัสกับพนักงานต้อนรับ โดยเดินทางมาคนเดียว สวมเสื้อแขนยาวถึงข้อมือ สะพายกระเป๋าเป้สีดำ ไม่มีเล่มพาสปอร์ต แจ้งเข้าพัก 2 คืน โดยแสดงหลักฐานพาสปอร์ตจากรูปถ่ายทางโทรศัพท์ และชำระค่าที่พักด้วยเงินสด ทั้งผู้ป่วยและพนักงานไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย พนักงานพาไปส่งที่ลิฟต์ และเป็นคนกดลิฟต์ให้ จากกล้องวงจรปิด ไม่พบผู้ป่วยออกมานอกห้อง ไม่ได้สั่งอาหารให้มาส่ง⁣

▪ 19 ก.ค. 65⁣
-ผลแล็บฯ จากห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และทีมสอบสวนควบคุมโรค ยืนยันว่า เป็นผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงจริง สายพันธุ์ West African ซึ่งเป็นสายพันธุ์ไม่รุนแรง⁣
-15.00 น.⁣
แม่บ้านไปเคาะประตูห้อง ผู้ป่วยแง้มประตูเปิดคุยช่วงสั้นๆ ไม่ได้ให้เข้าไปทำความสะอาด⁣
-21.00 น.⁣
ผู้ป่วยออกจากห้องมาวางกุญแจที่เคาน์เตอร์ล็อบบี้ ไม่ได้พบพนักงาน/แขกคนอื่น⁣
หลังจากนั้นพนักงานต้อนรับนำกุญแจไปเก็บที่ชั้นวาง ไม่ได้ทำความสะอาดกุญแจ จากนั้นไม่พบผู้ป่วยอีก⁣

▪ ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 17 คน⁣

อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การพบผู้ป่วยฝีดาษลิงรายแรกของประเทศไทยเป็นไปตามระบบเฝ้าระวังโรค และรายงานให้องค์การอนามัยโลกทราบทันที่ตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญเมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา เบื้องต้นยังไม่ประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระดับโลก ซึ่งการประกาศจะมีเกณฑ์หลายประการ เช่น มีความรุนแรงสูง แพร่ระบาดได้ง่าย และอาจต้องจำกัดการเดินทาง

ซึ่งโรคฝีดาษลิงความรุนแรงไม่ได้มาก การติดต่อไม่ได้รวดเร็วมาก ตั้งแต่พบผู้ติดเชื้อวันที่ 7 พ.ค.2565 พบผู้ป่วย 12,608 ราย กระจาย 66 ประเทศทั่วโลก ไม่ได้เพิ่มขึ้นรวดเร็ว หากเทียบกับโควิดที่ในไม่กี่เดือนพบผู้ติดเชื้อหลักล้านคน หลักๆ ยังพบในยุโรปและอเมริกา ส่วนเอเชียมีรายงานที่สิงคโปร์ ไต้หวัน และอินเดีย ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุด คือ สเปน 2,835 ราย เยอรมนี 1,859 ราย สหรัฐอเมริกา 1,813 ราย และอังกฤษ 1,778 ราย

นพ.โอภาส กล่าวว่า ข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก คือ ให้มีกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม มีการประเมินความเสี่ยงและวางแผนจัดการ ส่วนประเทศไทย คณะกรรมการวิชาการฯ ให้แจ้งเตือนประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่สงสัยมีอาการเสี่ยงให้พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย สถานพยาบาลรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยทางคลินิก ทั้งผู้ป่วยสงสัยหรือผู้ป่วยยืนยัน เพื่อให้องค์การอนามัยโลกรวบรวมข้อมูลในการออกคำแนะนำหรือมาตรการต่อไป

ย้ำว่าโรคฝีดาษลิงลักษณะไม่ได้รุนแรงสูงมากนัก มีสายพันธุ์หลัก 2 สายพันธุ์คือแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลาง ซึ่งรายนี้เป็นสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตกมีความรุนแรงน้อยกว่า ท่านใดมีตุ่ม และประวัติเสี่ยงของให้พบแพทย์ตรวจวินิจฉัย ส่วนประชาชนการติดต่อจะเกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดไม่ได้ติดต่อง่าย มาตรการป้องกันโรคโควิด 19 ใช้ได้กับฝีดาษลิง เน้นล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยที่มีตุ่มหนอง ต้องไม่ตีตรา ลดทอนคุณค่าผู้ติดเชื้อหรือกลุ่มเสี่ยง

นพ.โอภาส กล่าวว่า คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม.จัดระบบเฝ้าระวังคัดกรองสถานพยาบาลทุกแห่งคลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ หากพบผูป่วยต้องสงสัยต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยยืนยันต่อไป รายที่รับการวินิจฉัยต้องสอบสวนควบคุมโรคแยกกักกักตัวให้ความรู้หรือสังเกตอาการแล้วแต่กรณี โรคนี้ระยะฟักตัว 21 วัน นานกว่าโควิด 14 วัน ระยะกักตัวสังเกตอาการจึงอยู่ที่ 3 สัปดาห์

อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวอีกว่า การรักษาจะรักษาตามอาการ ตุ่มอาจดูน่ากลัว แต่ความรุนแรงของโรคไม่มาก ขณะนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสโดยตรง ส่วนวัคซีนขณะนี้มีการผลิตและเตรียมใช้มีหลายบริษัท กรมควบคุมโรคสั่งจองเบื้องต้นแล้ว ส่วนวัคซีนเดิมที่เรามี คือ วัคซีนสำหรับโรคฝีดาษ (smallpox) องค์การเภสัชกรรมเก็บไว้ อยู่ในขั้นตอนที่อาจจะนำมาใช้ได้ ต้องดูตามข้อบ่งชี้ คือ ประสิทธิภาพ ผลข้างเคียงวัคซีน และประเมินสถานการณ์การระบาด

ภาพรวมความจำเป็นการฉีดในวงกว้างยังไม่จำเป็น แต่บางกลุ่มเฉพาะ เช่น เจ้าหน้าที่ห้องแล็บสัมผัสเชื้อโรค เจ้าหน้าที่การแพทย์และสาธารณสุขดูแลผู้ป่วยใกล้ชิดแต่ไม่ทั้งหมด ข้อมูลวัคซีนเดิมมีผลข้างเคียงบ้าง ต้องดูผลดีผลเสียและความจำเป็น จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไป

เมื่อถามถึงกรณีผู้ป่วยรายนี้มีการหลบหนีออกจาก รพ.หรือไม่ นพ.โอภาส กล่าวว่า ในรายละเอียดทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ตจะรายงานต่อไป ตามบทบาทหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ

ถามว่า ต้องกักตัวหรือสังเกตอาการ 21 วัน นพ.โอภาส กล่าวว่า แล้วแต่กรณี เพราะไม่ได้เป็นโรคติดต่ออันตราย แต่เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังและไม่ได้ติดง่าย จะไปกักตัวแบบโรคติดต่ออันตรายก็ไม่ใช่ ให้ดูตามความเหมาะสม เช่น รายไม่แน่ใจอาจกักตัว รายที่ตามได้ทุกวันก็อาจสังเกตอาการ เป็นหน้าที่ของฝ่ายภาคปฏิบัติ

ถามว่า โอกาสระบาดวงกว้างหลังเจอรายแรกเป็นอย่างไร นพ.โอภาส กล่าวว่า คงไม่ระบาดแบบโควิด เราตรวจผู้สัมผัสเสี่ยงสูงผลเป็นลบ ค้นหาเชิงรุกยังไม่พบผู้ป่วย คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ตก็ต้องไปรวบรวมข้อมูล ดูไทม์ไลน์ เพื่อตีวงควบคุมโรคต่อไป