เรื่องฮอต ประเด็นฮิต » #แก้ปัญหาความจน !นวัตกรรมฝายชะลอน้ำ เป็น น้ำ ที่ดินทำกิน ที่มีความมั่นคงต่อชีวิต’

#แก้ปัญหาความจน !นวัตกรรมฝายชะลอน้ำ เป็น น้ำ ที่ดินทำกิน ที่มีความมั่นคงต่อชีวิต’

24 August 2022
257   0

 

 

น้ำ ที่ดินทำกิน คือความมั่นคงชีวิต’

 

นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา กล่าวในเวทีเสวนา เรื่อง “นวัตกรรมฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ และการบริหารจัดการน้ำเพื่อท้องถิ่นพึ่งพาตนเอง” ณ เทศบาลตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ใน ช่วงเช้าวันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม 2565 ว่า

‘วัตถุประสงค์เพื่อเพื่อสร้างความเข้าใจและแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กด้วยนวัตกรรมฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์และการบริหารจัดการน้ำเพื่อท้องถิ่นพึ่งพาตนเอง รวมทั้งรับทราบและนำปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กและความทุกข์ร้อนที่ซุกซ่อนในพื้นที่ห่างไกลมาพิจารณาหาแนวทางการส่งเสริมและแก้ไขปัญในชั้นกรรมาธิการต่อไป

 

‘ งานเร่งด่วนของคณะกรรมาธิการฯนอกจาการให้ความรู้เรื่องการจัดหาแหล่งน้ำขนาดเล็กแล้ว ‘
เรื่องที่ดินทำกินเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่เราให้ความสำคัญ และเพื่อให้การมองปัญหาคมชัด แก้ปัญหาไม่พลาดเป้า ขอให้ทางจังหวัดรวบรวมข้อมูลดังต่อไปนี้

1. รายชื่อ จำนวน และรายละเอียดต่าง ๆ ของประชาชนที่รอการสำรวจจากกรมที่ดินเพื่อออกโฉนดที่ดิน

2. รายชื่อและจำนวนผู้ที่อยู่ในพื้นที่ของรัฐที่ถูกดำเนินคดี รวมทั้งผู้ที่มีประสบปัญหาความเดือดร้อนจากการมีพื้นที่อยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ของรัฐ

‘เมื่อได้ข้อมูลแล้ว คณะกรรมาธิการฯจะลงพื้นที่อีกครั้งเพื่อร่วมปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการหาแนวทางหรือทางออกในการแก้ไขปัญหา’

‘นายสังศิต ย้ำหนักแน่นว่า ปัจจัยเรืองน้ำ ที่ทำกินคือความมั่นคงของชีวิตของพื้นที่ห่างไกลอย่างเช่น’บ้านบ่อเกลือใต้ ‘ขณะนี้ระดับนโยบายได้มีการปรึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาแล้ว และคงมีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในเร็ววันนี้ ‘

‘ส่วนประเด็นเรื่องการเข้าไปพัฒนาสาธารณูปโภคต่าง ๆ ในพื้นที่ของรัฐ เช่น พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ หรือพื้นที่อุทยานแห่งชาตินั้น ต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ เช่น การให้เจ้าของพื้นที่เป็นเจ้าของเรื่องในการดำเนินการ โดยให้ทาง อปท. เป็นผู้เข้าไปดำเนินการ’

‘และเพื่อเป็นสื่อกลางในการเสนอความรู้เรื่องการจัดหาแหล่งน้ำขนาดเล็ก การเสนอแนะข้อคิดเห็นหรือส่งเรื่องร้องเรียนปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ จึงเสนอให้ตั้งกลุ่มไลน์’ นายสังศิต กล่าวในที่สุด

ทั้งนี้ การเสวนาในวันนี้ มีนายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน นายธีระ แก้วมา นายอำเภอบ่อเกลือ นายประสิทธิ์ อุปจักร์ นายกเทศมนตรีตำบลบ่อเกลือใต้ ให้การต้อนรับ ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ และประชาชน ได้ให้ข้อมูล ข้อเสนอแนะ ดังนี้

นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ได้นำเสนอข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของจังหวัดน่านว่า จังหวัดน่านมี 15 อำเภอ ประชากรประมาณ 470,000 คน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ประมาณ 100,000 คน เศรษฐกิจในช่วง 4 – 5 ปี ที่ผ่านมาเปลี่ยนจากการพึ่งพาด้านการเกษตรโดยเน้นไปที่ภาคบริการและการท่องเที่ยว ผลกระทบที่ตามมาคือมีการบุกรุกพื้นที่ของรัฐเพื่อทำรีสอร์ทเพิ่มขึ้น เมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการจัดการขยะ ปัญหาสาธารณูปโภคไม่เพียงพอ เป็นต้น

นายประสิทธิ์ อุปจักร์ นายกเทศมนตรีตำบลบ่อเกลือใต้ ได้กล่าวถึงสภาพปัญหาโดยทั่วไป ดังนี้

1) ปัญหาเกี่ยวกับการออกเอกสารสิทธิพื้นที่ที่มีสิทธิในการออกโฉนดนั้น เจ้าหน้าที่กรมที่ดินยังไม่มีการดำเนินการลงพื้นที่รังวัดเพื่อออกโฉนดดังกล่าว

2) ปัญหาด้านที่ทำกินซึ่งชาวบ้านอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่มาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย แต่ถูกประกาศเป็นเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติทับพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินของประชาชน ทำให้ประชาชนถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ ถูกจับกุมดำเนินคดี

3) ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและพื้นที่อุทยานหรือห้ามล่าสัตว์ต่าง ๆ นั้น ทางองค์กรปกครองส่วนทั้งถิ่นไม่สามารถเข้าไปทำถนนหรือซ่อมแซมถนนให้ชาวบ้านได้ เพราะติดขัดกฎระเบียบต่าง ๆ และการประสานงานมีขั้นตอนเป็นจำนวนมาก

4) อำเภอบ่อเกลือมีจำนวนนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่น้ำตกสะปันในเขตอุทยานแห่งชาติขุนน่าน หมู่บ้านสะปัน อำเภอบ่อเกลือ แต่ยังขาดสาธารณูปโภคพื้นฐาน และสิ่งอำอวยความสะดวกอื่น ๆ เช่น ลานจอดรถ ห้องน้ำ เป็นต้น

นายกริชสยาม คงสตรี ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดน่าน ได้กล่าวต่อที่ประชุมว่า การแก้ปัญหาเรื่องที่ทำกินนั้น ใช้แนวทางของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) เป็นหลัก พื้นที่ในจังหวัดน่านประมาณ 1.5 ล้านไร่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ

ซึ่งการดำเนินการของ คทช. แบ่งประชาชนในพื้นที่จังหวัดน่านออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้

1) กลุ่มที่อยู่ในลุ่มน้ำชั้นที่ 3, 4 และ 5 ก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินในรูปแบบ คทช. ทั้งหมดแล้ว ซึ่งขณะนี้คณะอนุกรรมการจัดสรรคนลงพื้นที่จะดำเนินการต่อไป

2) กลุ่มที่อยู่ในลุ่มน้ำชั้นที่ 3, 4 และ 5 ที่มีการบุกรุกเพิ่มเติมนั้น มีการผ่อนผันให้เข้าสู่การจัดการที่ดินตามรูปแบบของ คทช. โดยองค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลจะต้องยื่นคำขอต่อกรมป่าไม่

3) กลุ่มที่อยู่ในลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ 2 ฝ่ายเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ยื่นคำขอ ซึ่งต้องมีข้อตกลงในการปลูกป่าร่วมกัน

4) กลุ่มที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าได้มีการสำรวจขึ้นแปลงไว้หมดแล้ว ขณะนี้กำลังรอรายละเอียดของกฎหมายลำดับรอง

นายเมธวัฒน์ พุทธิธาดากุล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ ได้กล่าวถึงสภาพปัญหาในพื้นที่ว่ามีพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นที่ลาดชันตามติคณะรัฐมนตรีปี พ.ศ. 2528 ซึ่งในปัจจุบันสภาพการณ์ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ควรมีการสำรวจใหม่อีกครั้ง นอกจากนั้นยังมีประเด็นปัญหาเรื่องพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ 2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่สามารถเข้าไปพัฒนาสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้

นายเอฟ คงธนวงค์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ ซึ่งในอดีตเป็นคอมมิวนิสต์ (ผกค.) และต่อมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 ได้กล่าวต่อที่ประชุมว่า ตั้งแต่เข้าร่วมเป็นผู้พัฒนาชาติไทยจนถึงปัจจุบันยังไม่มีที่ทำกินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง เพราะในพื้นที่ตำบลภูฟ้าไม่มีพื้นที่ที่เป็นโฉนดเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ในลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ 2 และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถเข้าไปพัฒนาสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้

นายนิพนธ์ นิยม รักษาราชการแทนหัวหน้าสำนักงานจังหวัดน่าน ได้กล่าวต่อที่ประชุมว่า ถ้าการดำเนินการของ คทช. มีความสำเร็จ การที่ อปท. จะขอเข้าไปพัฒนาสาธารณูปโภคต่าง ๆ ในพื้นที่ คทช. นั้น สามารถขอได้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัด การดำเนินการต่าง ๆ จะมีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ในขณะนี้ จังหวัดน่านสามารถจัดการกับปัญหาพื้นที่ในลุ่มน้ำชั้นที่ 3, 4 และ 5 ได้มากที่สุดในประเทศ เป้าหมายต่อไปคือการจัดการให้คนสามารถอยู่กับป่าได้ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ 2

ส่วนประเด็นเรื่องน้ำนั้น นายประดิษฐ์ เพชรแสงอนันต์ เลขานุการชมรมคนรักษ์ ดิน น้ำ ป่า น่าน ได้ให้ข้อมูลต่อที่ประชุมว่า ในพื้นที่บ้านยอดดอยวัฒนา ได้มีการทำฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ไปแล้วจำนวน 2 ฝาย แต่ยังมีน้ำใช้ไม่เพียงพอ และยังประสบปัญหาเรื่องดินสไลด์ ซึ่งทีมงานของนายภัทรพล ณ หนองคาย ได้ลงสำรวจพื้นที่เพื่อหาจุดในการทำฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ และเตรียมแนวทางในการแก้ไขปัญหาดินสไลด์แล้ว

นายภัทรพล ณ หนองคาย อนุกรรมาธิการศึกษา เสนอแนะ การแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้างด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและที่ดิน ได้นำเสนอวิธีการเก็บกักน้ำไว้ได้ผืนดิน เช่น การพรวนดินระดับลึก การเจาะพื้นดินเพื่อกักเก็บน้ำลงใต้ดิน และการสร้างฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์

การได้รับฟังปัญหาและประสบการณ์ของพี่น้องเกษตรกรในวันนี้ช่วยให้ ผมเกิดข้อคิดและตั้งคำถามกับตัวเองหลายประการ ดังต่อไปนี้คือ

ประการแรก แม้กระทั่งในพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ คนที่อาศัยอยู่ทำกินก็ยังประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการผลิต ปัญหาใหญ่จริงๆคือไม่มีนวัตกรรมในการจัดการเรื่องแหล่งน้ำขนาดเล็กให้กับเกษตรกร ซึ่งเรื่องนี้คณะกรรมาธิการของเรามีทฤษฎีและการปฏิบัติที่สามารถแก้ให้ตกไปได้แล้ว

ประการที่สอง ปัญหาคนอยู่กับป่าเป็นปัญหาที่มีความสำคัญที่สุด ของอำเภอบ่อเกลือใต้ เรื่องนี้มีหลายๆปัญหาซ้อนทับกันอยู่ ต้องค่อยๆ แก้ทีละปัญหา ปัญหาไหนแก้ได้ก่อน ก็ทำเลย

ประการที่สาม เรื่องการแก้ปัญหาคนอยู่ในพื้นที่ ลุ่มน้ำ 3,4,5 คณะกรรมาธิการและอนุกรรมาธิการด้านคุณภาพชีวิตควรลงมาศึกษา ค้นคว้าอย่างจริงจังเพื่อถอดเป็นบทเรียนสำหรับทำอย่างไรในพื้นที่อื่น

การแก้ไขปัญหาในพื้นที่ดังกล่าวมีข้อดีและมีจุดอ่อนอะไรอีกบ้างที่ยังต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อทำข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล

ประการที่สี่ สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในต้นน้ำชั้น 1,2 มาก่อนการประกาศกฎหมาย จะทำอย่างไร เราสามารถใช้แนวคิดเรื่องคนอยู่กับป่าได้ไหม ผมคิดว่าการดูแลรักษาป่าที่ดีที่สุดคือให้คนที่อยู่อาศัยทำกินบริเวณนั้นเป็นผู้ดูแล เราจะมีแรงจูงใจอะไรที่จะทำให้พวกเขา เกิดความรักและช่วยดูแลป่าอย่างจริงจัง

สำหรับเรื่องนี้ เราควรไปศึกษาและค้นคว้าให้รอบด้านมากขึ้น เพราะเป็นเรื่องของผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศกับผลประโยชน์ของชุมชนที่ควร หาจุดที่เหมาะสมที่จะช่วยให้อยู่ร่วมกันได้

ประการที่ห้า การเกิดรีสอร์ทจำนวนมากขึ้นในอำเภอบ่อใต้ และจากข้อมูลที่ ชาวบ้านบอกในวันนี้ คือมีการบุกรุกและมีการทำลายสิ่งแวดล้อม

คำถาม ความสัมพันธ์ระหว่างการรักษาผืนป่าต้นน้ำกับธุรกิจเอกชน ควรต้องมีการวางหลักการให้ชัดเจน ว่าอันไหนสำคัญกว่าอันไหน เรื่องนี้เราต้องลงไปศึกษาค้นคว้าให้รอบด้านขึ้นก่อนทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

สำหรับผมแล้วการรักษาผืนป่าต้นน้ำมีความสำคัญที่สุด ผมไม่แน่ใจว่ารบกวนจะทบทวนนโยบายในเรื่องนี้หรือไม่ว่า การสร้างที่พักที่ป่าต้นน้ำชั้น1 และ 2 ไม่สมควรได้รับการอนุญาต

แต่เราควรส่งเสริมให้ ธุรกิจเอกชนไปสร้างที่พักนอกผืนป่า นักท่องเที่ยวสามารถมาเที่ยวชมป่าได้ในเวลากลางวัน และไม่อนุญาตให้พักในพื้นที่ป่าต้นน้ำ เด็ดขาด

 

สวัสดีครับ… จนกว่าจะพบกันที่บ่อเกลือใต้ อีกครั้งหนึ่ง… จากผมเอง

 

สังศิต พิริยะรังสรรค์

ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา

24 สิงหาคม 2565