ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #แกนนำม๊อบหนาว ! ด่วน ศาลออกระเบียบใหม่การปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว

#แกนนำม๊อบหนาว ! ด่วน ศาลออกระเบียบใหม่การปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว

7 August 2021
681   0

   เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564  ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการปล่อยชั่วคราว (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๔

โดยที่การปล่อยชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอาจเป็นการปล่อยชั่วคราว โดยไม่มีประกันเลย หรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกันด้วยก็ได้ และในกรณีที่ศาลอ่านคำพิพากษา ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แล้ว

แม้ยังไม่มีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาหรือมีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาแล้ว แต่ยังไม่ได้ส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา

โฆษณา – อ่านบทความต่อด้านล่าง

ศาลชั้นต้นอาจอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวได้ประกอบ กับปัจจุบันศาลมีอำนาจใช้มาตรการกำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวได้ ตามพระราชบัญญัติมาตรการกำกับ และติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. ๒๕๖o

จึงสมควรปรับปรุงแก้ไข ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการปล่อยชั่วคราว พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้สอดคล้องกัน เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาหรือจำเลยในระหว่างการพิจารณาคดี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑

 ประธานศาลฎีกา จึงวางระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการปล่อยชั่วคราว (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๔ ”

โฆษณา – อ่านบทความต่อด้านล่าง

ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป

ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ แห่งระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการปล่อยชั่วคราว พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๔ ผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยตนเอง หรือผู้ที่เป็นเครือญาติหรือเกี่ยวพันโดยทางสมรส หรือในทางการงานกับผู้ต้องหาหรือจำเลยอาจยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยไม่จำต้องเสนอหลักประกันใด ๆ มาพร้อมกับคำร้อง เมื่อจะมีคำสั่งปล่อยชั่วคราว หากศาลเห็นว่าจำเป็นต้องใช้มาตรการเพื่อป้องกันการหลบหนี หรือก่อภัยอันตรายกับผู้ถูกปล่อยชั่วคราว ให้ศาลพิจารณาใช้วิธีการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราว ปฏิบัติและมาตรการกำกับดูแลก่อน ถ้าวิธีการดังกล่าวยังไม่เพียงพอ ศาลอาจให้ผู้ยื่นคำร้องทำสัญญาประกัน ด้วยตนเองด้วยก็ได้

กรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยมีความเสี่ยงสูงที่จะหลบหนีหรือไปก่อภัยอันตรายขึ้นอีก ศาลจะสั่งใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวร่วมด้วยก็ได้ การเรียกหลักประกันให้กระทำได้

โฆษณา – อ่านบทความต่อด้านล่าง

เมื่อศาลเห็นว่าวิธีการตามวรรคสองยังไม่เพียงพอ ต่อการป้องกันการหลบหนีหรือก่อภัยอันตราย หรือเป็นกรณีที่เกี่ยวกับการทุจริตฉ้อฉลอันมีผลกระทบ ต่อสาธารณชนส่วนรวมหรือการค้ายาเสพติดให้โทษที่พฤติการณ์แห่งคดีก่อให้เกิดความเสียหาย แก่เศรษฐกิจและสังคมอย่างร้ายแรง

ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ แห่งระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการปล่อยชั่วคราว พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๕ ในคดีที่ศาลชั้นต้นหรือศาลชั้นอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน ๕ ปี เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์หรือฎีกา หากจำเลยไม่เคยถูกคุมขังมาก่อน หรือได้รับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นหรือศาลชั้นอุทธรณ์ และไม่มีพฤติการณ์ จะหลบหนีหรือก่อเหตุร้ายใด ๆ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยไม่จำเป็น ต้องส่งให้ศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกาสั่ง

ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา หากจำเลยไม่เคยถูกคุมขังมาก่อนหรือได้รับการปล่อยชั่วคราว ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นหรือศาลชั้นอุทธรณ์ และไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนีหรือก่อภัยอันตรายใด ๆ แม้จำเลยยังไม่ได้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาหรือยังไม่ได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกา ศาลที่มีอำนาจ อาจมีคำสั่งให้ปล่อยชั่วคราวโดยใช้วิธีการอย่างเดียวกับศาลล่างหรือจะใช้วิธีการที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นก็ได้ ”

ข้อ ๕ ให้ยกเลิกข้อ ๘/๑และข้อ ๘/๒ แห่งระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการปล่อยชั่วคราว พ.ศ. ๒๕๔๘  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ว่าด้วยการปล่อยชั่วคราว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒

 ประกาศ ณ วันที่ ๒๔  มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔

เมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกา