ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #เข้าคิว3วัน ! เปรู หนัก เข้าแถวซื้อออกซิเจน

#เข้าคิว3วัน ! เปรู หนัก เข้าแถวซื้อออกซิเจน

8 February 2021
653   0

    ในประเทศเปรู ขณะที่ผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ต้องต่อสู้รักษาลมหายใจไว้ให้มั่นบนเตียงนอนที่บ้าน ลูกหลานญาติพี่น้องต้องยอมทนลำบากนอนตากน้ำค้างริมถนน บางครั้งก็มาราธอนเป็นหลายวันหลายคืนเพื่อต่อคิวเอาถังไปซื้อออกซิเจน จะได้ใช้ต่อชีวิตของบุคคลผู้เป็นที่รัก ภายในวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-19 ระบาดหนักรอบที่ 2
.
บนทางเดินริมถนนยามดึกดื่นซึ่งมีท้องฟ้าเป็นหลังคาและถูกห่อล้อมด้วยมวลอากาศหนาวเหน็บ พวกเขานอนห่มผ้าบนพื้นดิน และจำนวนไม่น้อยที่มีเพียงแผ่นกระดาษกล่องช่วยกั้นน้ำค้าง บางรายดีหน่อยมีเต็นท์เล็กไปกางให้อาศัยพักผ่อน ทุกคนเฝ้ารอให้คิวของตนเขยิบไปถึงประตูโรงงานออกซิเจนเล็กๆ แห่งหนึ่งในนครเอล กาเยา เมืองชายทะเลชานกรุงลิมา เมืองหลวงของเปรู
ถังออกซิเจนผอมสูงไล่เลี่ยกับความสูงของผู้ชายเกณฑ์เฉลี่ยจำนวนหลายร้อยถังถูกตั้งเรียงกันเป็นแถวเป็นแนวยาวเหยียดไปตามถนนด้านนอกของโรงงาน แต่ละถังมีชื่อเจ้าของเขียนไว้ชัดเจน
.
“เมื่อวานนี้แถวต่อคิวก็ยาวเหยียดกันแล้วครับ ผมไปถึงตั้งแต่ตี 5 คิวก็ยาวแล้ว มีเยอะเลยครับที่รอคิวมาตั้งสองสามวันละ” ยามิล อันโตนิโอ ซูกา ให้สัมภาษณ์ต่อเอเอฟพี
ซูกาซึ่งเป็นนักศึกษาวัย 25 ปี เผยความคาดหวังในใจว่าจะไม่ต้องนอนค้างบนฟุตปาธเป็นคืนที่ 2 เพราะลำบากเหลือเกิน กระนั้นก็ตาม เขาแน่ใจว่าคงต้องรอกันจนค่ำกว่าจะเขยิบไปถึงหน้าโรงงาน
.
กลับบ้านมือเปล่า ไม่ได้ออกซิเจนไปด้วยน่ะหรือ เขาไม่ยอมหรอก
“พ่อผมติดเชื้อโควิด-19 ท่านอายุแค่ 50 ผมต้องเอาออกซิเจนไปช่วยท่านให้จงได้ครับ” ซูกากล่าว
.
ทุกเช้า เจ้าหน้าที่ของโรงงานซึ่งมีตำรวจคอยช่วยเหลือ จะดูแลจัดระบบคิวรอซื้อออกซิเจน และตรวจสอบรายชื่อผู้เข้าคิวรอ แล้วประกาศว่าในวันนั้นๆ จะเติมออกซิเจนให้ได้กี่ถัง
.
โรงงานแห่งนี้ไม่ขึ้นราคาค่าออกซิเจน แม้โรงงานอื่นๆ พากันฉวยโอกาสโก่งราคาขึ้นไปสูงลิ่ว บางเจ้าปรับราคาขึ้น 300 เปอร์เซ็นต์ อันเป็นพฤติกรรมที่รัฐมนตรีสาธารณสุขปิลาร์ มาซเซตติประณามว่าเป็น “อาชญากรรมขนานแท้”
.
ในท่ามกลางการแพร่ระบาดระลอกที่ 2 ของโรคติดเชื้อโควิด-19 นี้ ปัญหาออกซิเจนขาดแคลนปรากฏในประเทศต่างๆ ของทวีปอเมริกาใต้ ครอบครัวชาวเปรูมากมายบอกว่าบุคคลที่รักของพวกเขาต้องเสียชีวิตเพราะพวกเขาไม่สามารถหาออกซิเจนมาให้ได้
.
ที่เอล กาเยา ผู้คนยอมที่จะกินอยู่ลำเค็ญวันแล้ววันเล่า ไม่มีห้องน้ำขับถ่าย และบางคนไม่มีอาหารรับประทาน เพื่อให้ได้สิ่งประทังลมหายใจกลับไปช่วยบุคคลอันเป็นที่รักซึ่งนอนรักษาตัวอยู่ที่บ้าน สืบเนื่องจากปัญหาที่โรงพยาบาลทั้งปวงไม่เหลือเตียงรองรับผู้ป่วยได้แล้ว
.
ในยามเช้ามืด คนเร่ขายของจะเข้ามาเสนอขายอาหารเช้าง่ายๆ ราคาถูก จำพวกขนมปังกับอโวคาโด หรือกาแฟสักหนึ่งแก้ว
มิเกล อังเคล หนุ่ม 22 ปี บอกว่าเขาได้คิวหมายเลข 124
“ที่บ้านมีผู้ป่วยโควิดอาการหนักท่านหนึ่งครับ คุณย่าผมเอง อายุ 89 ปีแล้ว มีอะไรทำได้ ก็ต้องทำให้ท่านทุกวิถีทางล่ะครับ” อังเคลบอกอย่างนั้น และเล่าด้วยว่ามาซื้อออกซิเจนพร้อมญาติคนหนึ่ง จะได้ผลัดกันยืนอยู่ในคิว
.
โรงงานขอกำลังตำรวจมาช่วยเฝ้าระวังลูกค้าซึ่งล้วนแต่ร้อนใจอยากได้ออกซิเจนกลับบ้านไปไวๆ ตำรวจจะคอยดูแลไม่ให้มีการแย่งคิวตลอดจนกันไม่ให้พ่อค้าจากที่อื่นแฝงตัวมาแย่งซื้อเอาไปขายต่อแบบบวกราคาเพิ่ม เพราะออกซิเจนที่นี่มีราคาถูกพิเศษเพื่อลูกค้าที่ซื้อไปใช้จริง
.
ความรู้สึกของผู้ที่ต่อคิวอยู่มากมายนั้นเต็มไปด้วยความหดหู่มืดมน ใครๆ ก็ล้วนแต่ห่วงกังวลไปถึงสมาชิกครอบครัวที่ป่วยไข้ กระนั้นก็ตามกลับไม่มีการเบียดเสียดยื้อแย่งคิวกันเพราะผู้คนพร้อมจะโอบกอดเป็นกำลังใจให้แก่กันและกัน
.
เมื่อมีการประกาศรายชื่อผู้ที่ถึงคิวรับการเติมออกซิเจน ใบหน้าต่างๆ จะสว่างไสวด้วยรอยยิ้ม นำความหวังไปสู่คนอื่นๆ ให้มีกำลังใจที่จะรอคอยต่อไป
.
ศักยภาพของโรงงานเล็กๆ แห่งนี้คือ เติมออกซิเจนได้รอบละ 10 ถัง โดยใช้เวลา 45 นาทีต่อหนึ่งรอบ โดยจะทำการไปจนถึงเวลา 17.00 น.
.
“แม่ของดิฉันอ่อนแอมาก อายุตั้ง 69 ปีค่ะ” ยูลิตซา ตอร์เรส วัย 46 ปี เล่าอย่างนั้น และบอกว่า “ถ้าไม่มีออกซิเจนไปให้ แม่จะต้องตายแน่ค่ะ”
.
รัฐบาลเปรูสั่งล็อกดาวน์เต็มรูปแบบใน 2 เมือง (กรุงลิมา และนครกาเยา) กับ 7 ภาคในพื้นที่ตอนกลางของประเทศ ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 1 ถึงอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นอย่างน้อย เพื่อรณรงค์ยุติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่คร่าชีวิตชาวเปรูเวี่ยนไปแล้วมากกว่า 4 หมื่นราย และมีผู้ป่วยสะสมมากกว่าหนึ่งล้านหนึ่งแสนรายนับจากเมื่อเดือนมีนาคม 2020 ส่งผลให้โรงพยาบาลต่างๆ ใช้ศักยภาพรองรับคนไข้อย่างล้นเกินสุดๆ แล้ว และจึงมีชาวเปรูเวี่ยนป่วยด้วยโรคติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมหาศาลต้องนอนรักษาตัวอยู่ที่บ้านและต้องเสาะหาออกซิเจนมาใช้เอง รอยเตอร์รายงาน
.
การล็อกดาวน์ครั้งนี้เข้มงวดอย่างที่สุดโดยมีมาตรการมากกว่าที่ผ่านมา ผู้คนต้องทำงานแบบ Work from Home เท่านั้น และจะออกนอกเคหะสถานได้เฉพาะเมื่อต้องซื้อสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น โดยที่ร้านค้าที่ไม่ใช่สินค้าหรือบริการจำเป็นจะต้องปิดทำการ เที่ยวบินภายในประเทศตลอดจนการเดินทางด้วยพาหนะทางบกถูกระงับทั้งหมด และมีการเพิ่มข้อห้ามด้านเที่ยวบินต่างประเทศ โดยห้ามเที่ยวบินจากยุโรปและเที่ยวบินจากบราซิล ประเทศซึ่งมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่สุดยอดวิกฤต โดยมียอดสะสมผู้ติดเชื้อโควิด-19 สูงสุดอันดับสามของโลก ที่จำนวนมากกว่า 9.3 ล้านราย และยอดตายสะสมที่จำนวนมากกว่า 2 แสนราย
.
วิกฤตโควิด-19 แพร่ระบาดรุนแรงในเปรูระลอกสองนี้ นับว่าไม่สาหัสหนักหนาเท่ากับเมื่อปี 2020 ซึ่งเปรูเคยติดอันดับผู้ป่วยสูงสุดอันดับ 8 ของโลก แต่ด้วยความที่เปรูมีพรมแดนติดต่อกับบราซิลยาวเหยียดตลอดแนวตอนกลางของประเทศ การแพร่ระบาดในรอบนี้จึงนับได้ว่าดุเดือด โดยขณะนี้ยอดผู้ป่วยโควิด-19 ในเปรูอยู่ที่อันดับ 18 ข