ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #อาจารย์สมกียรติ ออกโรงแล้ว !! ฝันเกิดเหตุการณ์พิเศษเปลี่ยนหัวหน้าคสช. ยกวิกฤติชาติ 6 นายกต้องลาออก

#อาจารย์สมกียรติ ออกโรงแล้ว !! ฝันเกิดเหตุการณ์พิเศษเปลี่ยนหัวหน้าคสช. ยกวิกฤติชาติ 6 นายกต้องลาออก

13 January 2018
1096   0

สมเกียรติ พงษ์ไพบูรณ์ แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้โพสข้อความทางเฟสบุ๊คระบุว่า ”ไม่เคยลืมเลือน ย้ำเตือนสัมพันธ์ มั่นใจใฝ่ฝัน สักวัน…” ”เพราะเรามีรักผูกพันด้วอุดมการณ์ ร่วมใจใฝ่ฝันมั่นในศรัทธายิ่งใหญ่ อุทิศชีวิตเลือดเนื้อเพื่อมวลประชาชนไทย นี่คือรักอันยิ่งใหญ่ ศัตรูใดใดไม่อาจทำลาย”

โรดแมป2561: การสร้างและช่วงชิงสถานการณ์”การเลือกตั้ง”*
1: แนวคิดสำคัญของบทความนี้ เรา(หมายถึงผู้เขียน)ขอเริ่มต้นโดยอัญเชิญพระราชดำรัสของรัชกาลที่ 10 ที่ทรงมีต่อองคมนตรี “ครั้งแรก”ในตอนค่ำวันที่ 7ธันวาคม 2560 คัดบางตอนความว่า “…ช่วยกันดำรงความมั่นคงของประเทศชาติ^…ตลอดจนปรับความสำคัญ ในการทำงานของประเทศให้สอดคล้องกับนโยบายเกี่ยวกับสถาบันและประเทศชาติเป็นเรื่องของแผ่นดิน…” ต่อมาพลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา(อดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งองคมนตรีได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานของ ป.ป.ช. (ชุดที่ต่ออายุทั้งชุด) เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2560 ความบางตอนว่า “…เรื่องแบบนี้ต้องใช้เวลา อย่างน้อยคนทำเลวต้องอยู่อย่าง หวาดผวาตลอดเวลา คนโกงแผ่นดินไม่เห็นได้ดีสักคน ไม่ว่ารัฐบาลใด คนชั่วไม่มีทางหลุดพ้นกระบวนการยุติธรรมได้ แต่ต้องให้เวลา ไม่มีใครหลุดพ้นการทุจริตได้ ถ้าหมดอำนาจเมื่อไหร่ ยังไงก็หนีไม่พ้นแน่…”

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ รัฐบุรุษและประธานองคมนตรีกล่าวกับพลเอกประยุทธ์ฯ ในคราวที่นำ ครม.เข้าอวยพรและรับคำอวยพร วันขึ้นปีใหม่เมื่อ 28ธันวาคม2560 ความเฉพาะตอนว่า “…ตู่ใช้กำลังกองหนุนไปเกือบหมดแล้ว แทบจะไม่มีกองหนุนเหลืออยู่แล้ว…” คราวนี้ลองพิจารณาดูคนที่หลายฝ่ายเชื่อว่าเป็น “ศูนย์กลางอำนาจทางทหาร”ตัวชี้ว่าการรัฐประการจะสำเร็จหรือไม่?และที่สำคัญเป็นคนเดียวที่พลเอกประยุทธ์ฯ มอบอำนาจให้”เคลื่อนย้าย กำลัง” ในไทยรัฐวันที่ 1มกราคมฯ พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ. ในฐานะเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)กล่าวถึงกรอบ การทำงานของ คสช.ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้งเดือนพฤศจิกายน 2561 ว่า ที่ผ่านมา คสช.ลดบทบาทลงไปมาก ในปี 2561 เราจะดูเรื่องความมั่นคงเป็นหลัก^ ส่วนที่เหลือจะเป็นการสนับสนุนนโยบายรัฐบาล การปรองดอง การปฏิรูปและการดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ และการเตรียมเลือกตั้ง…”

2: รัฐบาลคนนอกหรือรัฐบาลแห่งชาติ? มีความพยายามเสนอให้มีรัฐบาลที่เรียกว่า”แห่งชาติ” หรือ “สมานฉันท์” มานานพอควรแล้ว ในช่วงเวลานี้ นายพิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้เสนอไว้สองประเด็นแล้วก็พูดกันค่อนข้างจะมากคือ เสนอตั้งรัฐบาลแห่งชาติ และจากนั้นในประชาธิปัตย์เสนอให้นายชวน หลีกภัย เป็นหัวหน้าพรรคนายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นรองฯ ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ดังปรากฏจากสื่อทุกประเภท นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) บอกว่า “ส่วนตัวคิดว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ไม่ได้บัญญัติข้อห้าม แต่อย่างใด”

พลเอกประยุทธ์ฯ กล่าวตัดบทว่า “ไม่มีความเห็น ไม่ใช่เวลาที่จะพูดช่วงนี้” ตั้งแต่วันนี้ อาจจะพูดกันอีกหลายครั้ง เช่น มีการเคลื่อนไหว “ราชประชาสมาสัย” และรัฐบาล ปรองดองแห่งชาติ รัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติ ได้ทั้งนั้น** เราคิดว่า เหตุการณ์การเมืองยังอยู่ในความไม่แน่นอน แปรผันไป ค่อนข้างจะรวดเร็ว ไม่สมควรสรุปว่า จะเกิดอะไรชัดๆ ตัวแปรคือ “เหตุการณ์พิเศษ” ที่มีการเคลื่อนไหวในอย่างน้อยสามประการคือ การเมืองในโลกออนไลน์ การเมืองบนท้องถนน และการเคลื่อนย้ายของทุนอย่างขนานใหญ่ หรือไม่ก็ประคับประคองเหตุการณ์ในสองประการนี้
หนึ่ง: ปล่อยเหตุการณ์ไปตามเหตุปัจจัย ให้เป็นไปตามกลไกที่

ควบคุม เช่น รัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ วุฒิสภา250คน กรรมการ28คนในคณะกรรมการ ยุทธศาสตร์ชาติและความมั่นคงแห่งชาติ (รวมทั้ง ป.ป.ช. ตำรวจอัยการ ฯลฯ) สอง: นายกรัฐมนตรีมาจากคนนอก อาจเรียกว่ารัฐบาลปรองดองฯ หรือชื่ออื่นก็ได้ ส่วนการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปนั่น เราค่อนข้างจะให้น้ำหนักน้อย นอกจากจะมีเหตุการณ์พิเศษ และอาจหมายความถึง “เหตุการณ์พิเศษจากประชาชน” ด้วย ก็เป็นไปได้

สำหรับคำพูดของพลเอกประยุทธ์ฯ ปฏิเสธเสียงแข็งตลอด 8ครั้ง เพิ่งมาเปลี่ยนในครั้งที่เก้าที่ว่า “ผมไม่ใช่นักการเมือง” เปลี่ยนผันแปรไปเป็น “นักการเมืองที่เคยเป็นทหาร”***(หลังจากพลเอกเปรมฯพูดเรื่องกองหนุน…ไม่กี่วัน) ไม่มีความหมายและไม่มีความจำเป็นมากนักกับการอ่านสถานการณ์การเมืองของเราในวันนี้และวันข้างหน้า^^ จึงไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้

3: สถานการณ์ทางสังคมบางด้านในวันนี้และวันข้างหน้า มีเหตุที่อาจนำมา “เหตุการณ์พิเศษ” หรือ”เหตุการณ์พิเศษจากประชาชน” อย่างน้อยสามประการ เป็นอย่างน้อย(หลายประเด็นจะผสมโรงร่วมด้วยช่วยกัน) (1) ปมร้อนแรงที่สุดไม่พ้นเรื่อง ป.ป.ช.ไม่ดำเนินการตรวจสอบการทุจริต และ การต่ออายุของ ป.ป.ช. ประชาชนหมดความไว้วางใจและเชื่อถือองค์กรตรวจสอบนี้สิ้นเชิงแล้ว…****ฯลฯ (2) ความพยายามสืบทอดอำนาจ พูดกลับไปกลับมา การได้และถือรัฏฐาธิปัตย์ ทำอะไรในสิ่งที่ประชาชนเรียกร้องแทบไม่ได้เป็นชิ้นเป็นอันเลย (ใช้ ม.44 ไม่เป็นธรรมในหลายกรณี) เช่น พลังงานป.ต.ท. น้ำมันและแก๊สราคาแพงมาก ไม่คืนท่อก๊าซ เขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน (ประเด็นเหล่านี้มีมาช้านานแล้ว) การปฏิรูปตำรวจ การปฏิรูปอัยการ การปฏิรูประบบราชการ(ลากประเทศไปไกลมากร่วมมือกับทุนนิยมสามานย์ใน “ประชารัฐ” แล้ว) การแก้ไขกฎหมายตามตุลาการผู้หวังดีต่อชาติบ้านเมือง ศ.พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล ที่เสนอให้แก้กฎหมายให้การทุจริตไม่มีอายุความ ปัญหาภาคใต้โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และเทพา ปัญหาชาวประมงพื้นบ้าน ปัญหาพืชผลการเกษตรตกต่ำ(ชาวบ้านไม่มีเงิน ไม่มีอำนาจการซื้อ) เช่น ยางพารา และพืชผลแทบทุกชนิด เป็นต้น

(3) เอาตัวหัวโจกในวิกฤตธรรมกาย และอดีตนายกรัฐมนตรีหญิง ไม่ได้ ฯลฯ กล่าวโดยสังเขป ในสามเหตุการณ์ ป.ป.ช.ไม่ได้รับความไว้วางใจสิ้นเชิง. ผู้ถือรัฏฐาธิปัตย์ไม่ได้ใช้อำนาจ(ม.44)อันรวดเร็ว ใช้อย่างไม่เป็นธรรม และใช้ในสิ่งที่ประชาชนมุ่งหวังจริงๆไม่ได้เลย(เช่น น้ำมันและแก๊สแพง ต้องเอา ป.ต.ท.คืนมา, เอาท่อก๊าซคืนเพราะเป็นของรัฐตามคำพิพากษ, ปฏิรูปตำรวจ, แก้ไขกฎหมายการทุจริตไม่ให้มีอายุความ, ถูกกล่าวหาว่าทุจริตมีหลักฐานชัดๆ ต่อมาชัดแจ้งอีกเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลแต่ไม่กล้าที่จะใช้ มาตรา 44 ฯลฯ แถมยังคิดอ่านออกกฎหมายรวมรัฐวิสาหกิจ11แห่งแล้วให้เอกชนร่วมดูแลและร่วมลงทุนใน…ร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ…..) และความไร้ประสิทธิภาพคุณภาพที่มองจากข้อเท็จจริง(ไม่ใช่ฟังจากปากคนพูด)

4: สรุป เราผ่านเหตุการณ์วิกฤตชาติถึงขั้นนายกรัฐมนตรีต้องลาออกไปแล้ว 6 คน*****ส่วนมากเป็นหน้าที่สุดท้ายของศาลรัฐธรรมนูญและศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ได้แก่ จอมพลถนอม กิตติขจร(2516) พลเอกสุจินดา คราประยูร(2535) นายทักษิณ ชินวัตร(2549) นายสมัคร สุนทรเวช(2551) นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์(2551) และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร(2557)…หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเลือกตั้งครั้งใหม่จะสุจริตและเที่ยงธรรมทุกประการ การปลดล็อกประเทศ(ไม่เฉพาะล็อกพรรคการเมือง)…และหวังอีกว่า ความฝันที่จะเกิด”เหตุการณ์พิเศษ” เช่น เปลี่ยนตัวหัวหน้า คสช.
คนใหม่ การปฏิวัติเงียบเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีคนกลางมาควบคุมการเลือกตั้งและใช้งบประมาณ ก็ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้(ผู้อ่านคิดอย่างไร? ในสองประเด็นนี้) ความฝันในคำว่ากองหนุนหมายถึง “ทหารที่คุมกำลังในกองทัพ) ก็ไม่น่าจะใช่ หรือไม่น่าจะเกิดขึ้นจริงๆได้ง่าย การเลือกตั้งทุจริตเต็มรูปแบบเหมือน”การเลือกตั้งสกปรก”ก็ไม่น่า จะเกิดอีกเช่นกัน แต่ถ้ามันทุจริตในการเลือกตั้งอย่างขนานใหญ่จริง…อะไรจะเกิดขึ้นตามมา มันจะเหมือนที่คำพูดพลเอกประยุทธ์ฯ พูดว่า ไม่มีรัฐประหารอีกแล้ว…จริงหรือไม่? ครับ.

เชิงอรรถ. *ผมขอมอบบทความนี้แด่ท่าน ทั้งหลายในคำอวยพรที่มีให้ผม…ผมขออวยพรให้ท่านทั้งหลายประสพความสำเร็จและความสมหวังในสิ่งดีงามที่ปรารถนาทุกประการ มีความแข็งแรงด้านร่างกายไว้เพื่อการแก้อุปสรรค ความเข้มแข็งด้านจิตสำหรับการให้กำลังใจ และพัฒนาสติปัญญาเพื่อ การแก้ปัญหาทั้งปวง…พบกันเมื่อชาติต้องการ ครับ” ผมขอขอบคุณภาพและคนทำภาพที่ใช้ประกอบในบทความนี้ **เป็นแนวคิดของ ศ.ดร. ปราโมทย์ นาครทรรพ (เคลื่อน ไหวนานแสนนานแล้ว) ต่อมานายบรรหาร ศิลปอาชา พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เสนอเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ และดูแนวคิดของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เริ่มเคลื่อนไหว”ราชประชาสมาสัย” ในช่วงนี้.

***ประยุทธ์ลั่น”ผมไม่ใช่นักการเมือง” 9 ครั้ง ก่อนเปิดตัว…บีบีซีไทย.(google). ^^มีกระแสข่าวเรื่อง “การจัดตั้งพรรคทหาร” โดย พลตรี กอ.รมน.ท่านหนึ่งและการถ่ายรูปคู่ กับนักการเมืองอย่างน้อยสองฝ่าย (แรงจูงใจพิเศษคือ?…ท่านคิดเอาเอง) ****Pitthaya Wongkul (google.5ม.ค.เวลา05.59.) เขาประเมินว่า “สถาบันคณะกรรมการ ที่แต่งตั้งไว้มากมายมีหน้าที่ตามกฎหมายและวัตถุประสงค์ของการ ก่อตั้ง ปัญหาคือการไม่ทำหน้าที่และซื่อสัตย์ (เป็นเพียง)”การปฏิรูปขั้นต้น”คือการผลักดันตรวจสอบให้สถาบันทำหน้าที่. Worapong Sriklud.10ม.ค.

เวลา 8:53 pm. ธรรมาภิบาลอยู่หนใด?…”พบ19เรือนมูลค่า29ล้านบาท ไม่ได้แจงบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. จะมาอ้างเพื่อน19เรือนคงไม่ไหว… อย่ามาอ้างว่าปราบทุจริต”(google)
ศ.พิเศษ.ดร.เขียน ธีระวิทย์…นักวิชาการดีเด่นชี้ปฏิรูปล้มเหลว แถมมีแต่ทุจริต.โดย ADMIN VIHOK.9ม.ค.2018. และการทุจริต

ขนานใหญ่ใน…อิศรานิวส์หรือสำนักข่าวอิศราที่นำเสนอได้อย่างครบถ้วนและลึกซึ้ง…จะได้นำเสนอในโอกาสเหมาะสม.

สำหรับสมเกียรติฯ เคยดำรงตำแหน่งผู้นำนักศึกษาสมัย14ตุลาคม 2516 โดยเป็นประธานสภานิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(มศว.) มหาสารคาม(2517) เปลี่ยนย้ายมาเรียนที่กรุงเทพฯ เป็นประธานสภานิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (8วิทยาเขต)เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (31ปี) ดำรงตำแหน่งประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏคนแรก(ราชภัฏ40แห่ง) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์หนึ่งสมัย(ปัจจุบันลาออกจากพรรคการเมืองแล้ว) ที่ภูมิใจมากคือ เป็นผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาสมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน(สกยอ.) สมัชชาคนจน (สคจ.) และเป็น5แกนนำพันธมิตร ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อุดมการณ์สูงสุด หยุดทุนนิยมสามานย์ ต่อต้านการทุจริต และต่อสู้กับผู้ล้มล้างสถาบันฯ

สำนักข่าววิหคนิวส์