เรื่องฮอต ประเด็นฮิต » #สอบข้อเท็จจริง !คำสั่งนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งให้ ศ.วิชา มหาคุณ เป็นประธานตรวจสอบข้อเท็จจริง

#สอบข้อเท็จจริง !คำสั่งนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งให้ ศ.วิชา มหาคุณ เป็นประธานตรวจสอบข้อเท็จจริง

6 December 2022
209   0

  บทบาท ของประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง
“คดีบ้อส อยู่วิทยา “ตามคำสั่ง นายกรัฐมนตรี
………………\\\\\\\\\……………………………
โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษา นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ศึกษากรณี คำสั่งนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งให้ ศ.วิชา มหาคุณ เป็นประธานตรวจสอบข้อเท็จจริง

ความเป็นมาของสภาปัญหา

สังคมเรียกร้องความยุติธรรมกรณีสำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) มีคำสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือบอส ขับรถชน ด.ต. วิเชียร กลั่นประเสริฐ ผบ.หมู่งานปราบปราม สน.ทองหล่อ เสียชีวิตเมื่อปี 2555 ซึ่งเป็นคดีที่ได้รับความสนใจของทั้งคนไทย และสื่อต่างชาติ

พลอ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 225/2563 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534

เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาดังกล่าว เป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชนต่อเนื่องมาโดยตลอดนับแต่เกิดเหตุ มีการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอย่างกว้างขวางและกระทบกระเทือนต่อความเชื่อมันในองค์กร เจ้าหน้าที่ และกระบวนการยุติธรรม ได้ถูกเผยแพร่ ต่อสื่อมวลชนทำเนียบรัฐบาล

อำนาจหลัก ๆ ของคณะกรรมการชุดนี้คือการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายคือ เสนอแนะแนวทางเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ เพื่อประโยชน์ในด้านการพัฒนาองค์ความรู้ การปฏิบัติหน้าที่และการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนเสนอข้อแนะนำอื่นใด

โดยประธานและคณะกรรมการ ที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้น จะต้องไม่ก้าวล่วงหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ในคดีดังกล่าว

ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงนั้น จึงมีบท
บาทหน้าที่ขอบเขตและคำสั่งนายกฐัฐมนตรีเท่านั้น ไม่มีหน้าที ลักษณะสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น หากละเลยต่อหน้าที่

เจตนารมของกฏหมายจะต้องรับผิดในฐานะส่วนตัว ใช้อำนาจหน้าที่ โดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย ที่ตีความกฏหมายผิดไปจากคำสั่งนายกรัฐมนตรี

คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่รัฐกระทำโดยไม่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือกระทำอื่นใดหรือกระทำอื่นใด เนื่องจากการกระทำโดยไม่มีอำนาจ หรือนอกจากอำนาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฏหมาย

หรือไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสารสำคัญที่กำหนดไว้ สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริตหรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฎิบัติที่ไม่เป็นธรรมหรือมีลักษณะสร้างขัะนตอนโดยไม่จำเป็น

หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินควรหรือใช้ดุลยพินิจโดยไม่ชอบ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวีธีพิจารณาคดีปกครองพศ. 2542 ตามมาตรา 9 นั้น

จึงเป็นกรณีศึกษาว่า ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง
ที่นายกแต่งขึ้นนั้น เข้าใจเอาเองว่า”บทบาทหน้าที่ของตนเอง”มีอำนาจออกระเบียบและขั่นตอนต่างๆ แท้จริงแล้ว

ท่านนายกรัฐมนตรี เห็นว่า ท่านประธานตรวจสอบข้อเท็จจริง เป็นถึงอตีด”ผู้พิพากษา” คงจะใช้ความรู้ความสามารถและประสบการ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา ที่กระแสสังคม ประจานกระบวนการยุติธรรม ที่ไม่เป็นกลาง “

เพื่อให้ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จ ทราบถึงปัญหาที่แท้จริง เสนอแนวทาง นำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ให้เป็นประโยชน์ในด้านการพัฒนาองค์ความรู้ การปฏิบัติหน้าที่และการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริงเท่านั้น

คือเจตนาที่แท้จริงของ พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา “นายกรัฐมนตรี ที่ให้นักกฏหมายระดมสมอง “ เพื่อแก้กฏหมาย”ไปสู่ความเป็นเลิศ และเพื่อให้ต่างชาติยอมรับขบวนการกฏหมายของไทย ไม่ให้ถูกแทรกแชง จากนักการเมือง ไม่มีอำนาจ ที่จะไปก้าวล่วง คำสั่งของพนักงานอัยการในกรณี “สั่งไม่ฟ้อง นายบ้อส
อยู่วิทยา ที่เป็นองค์กรของตนเองเป็นหลัก

เมื่อพิจารณาสถานะของ”ประธานและกรรมการ”ตรวจสอบข้อเท็จจริง “คดีบ้อส อยู่วิทยา”ล้วนแต่เป็นนักกฏหมายที่มีความรู้ความสามารถและมีคุณค่าต่อสังคม เพื่อไม่ให้ผู้บริสุทธิตกเป็นเหยื่อ “ว่าคุกมีไว้ขังคนจน”นั้น ได้ทำเหนือเหนือจากอำนาจหน้าที่หรือไม่

เมื่อหน่วยงานสูงสุด ของ อัยการ เนตร นาคสุข มีตำแหน่งรองอัยการสูงสุดขณะนั้น ตกเป็นจำเลยของสังคม และจากการสอบสวนไม่พบว่ามีการทุจริต และไม่มีประวัติการทำงานเสียหาย
ตั้งแต่รับราชการมา

เมื่อถูกออกจากราชการโดยข้อหา สั่งคดีขาดความไม่รอบคอบ ถึงขนาดต้องให้ออกจากราชการนั้น

“อัยการเนตร นาคสุข “ก็ต้องอาศัยบารศาลเป็นพึ่ง กับทุกคนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นประธานกรรมการตรวจสอบข้อเท็จและคณาจารย์ที่เป็นคณะกรรมการ และแม้แต่ผู้บังคับบัญชาของตนเอง

เพื่อทวงความยุติธรรมเกียรติยศชื่อเสียงให้กลับคืนสู่ฐานะเดิม “
บอส อยู่วิทยา ก็จะกลับมาใช้ชีวิตอย่างผู้บริสุทธิ และกอบกู้ชื่อเสียงที่ถูกกระแสสังคมประจานกลับคืนมา ทั้งที่ไม่มีความผิด

อำนาจประธาน คณะกรรมการที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น มีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนขึ้นโดยไม่จำเป็น สร้างความเดือดร้อนให้ผู้บริสุทธิ ชี้นำให้สังคมมีความสับสน สร้างเงื่อนไข ลักษณะเป็นตัวความเสียเอง ทำให้ขบวนการยุติธรรมขาดหลักประกันที่มั่งคง ย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกา อม.1/2547

จึงเป็นกรณีศึกษา

ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม