เรื่องฮอต ประเด็นฮิต » #ภาระกิจลุลวง ! สังศิต’ปฎิบัติภาระกิจ 9-11 บูรณาการ จัดกลุ่มร่วมวงถกแนวทางแก้ 10 กลุ่มปัญหา 13 ประเด็น

#ภาระกิจลุลวง ! สังศิต’ปฎิบัติภาระกิจ 9-11 บูรณาการ จัดกลุ่มร่วมวงถกแนวทางแก้ 10 กลุ่มปัญหา 13 ประเด็น

12 June 2022
322   0

 

ภาระกิจ 9-11 มุกดาหาร
10 กลุ่มปัญหา 13 ประเด็นลุล่วง

‘สังศิต’ปฎิบัติภาระกิจ 9-11 บูรณาการ จัดกลุ่มร่วมวงถกแนวทางแก้ 10 กลุ่มปัญหา 13 ประเด็น ลุล่วง พร้อมมีหน่วยงานเจ้าภาพชัดเจนในการแก้ปัญหาแบบไม่มีใครบาดเจ็บไว้ข้างหลัง’

เมื่อระหว่างวันที่ 9-11 มิถุนายน 2526 นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา โดยเมื่อ วันที่ 10 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 ได้มีการประชุมร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร บรรยากาศ เป็นไปอย่างฉันท์มิตรสามารถหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้ประชาชนในพื้นที่ได้ทั้ง 8 กลุ่มปัญหา14 ประเด็น

นายสังศิต เปิดเผยก่อนเข้าประชุมว่า ‘วุฒิสภา จะมี คณะกรรมการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน มีพลโท จเรศักดิ์ อานุภาพ หัวหน้าคณะกรรมการ ฯ กว่า 2 ปี ที่ผ่านมา ได้มีการออกพบประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน รูปแบบจะมีการชุม รับฟังร้องทุกข์ เสนอปัญหาจากภาคประชาชน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน พร้อมกับหน่วยงานราชการต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อเท็จจริง และหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน

‘จากนั้นคณะกรรมการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน จะทำการ สรุปประเด็นปัญหาเสนอรัฐบาลเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไข บางส่วนก็ได้รับการแก้ไข แต่อีกบางส่วนก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขเป็นปัญหาเรื้อรังมาจนปัจจุบันซึ่งผ่านมากว่า สามปีแล้ว’

นายสังศิต เผยอีกว่า ‘ผม ได้มีโอกาสร่วมไปกับคณะของท่าน พลโท จเรศักดิ์ อานุภาพ ได้รับฟังปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ส่วนใหญ่เป็นปัญเกี่ยวกับที่ดินทำกิน และน้ำ เป็นปัญหาเรื้อรังแก้ไม่ได้ทันทีเพราะติดขัดที่ระเบียบแต่ละหน่วยงาน ปัญหานี้เป็นปัญหาของคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นสาเหตุของความยากจน ซึ่งตรงกับกรอบภาระกิจหน้าที่ของ คณะกรรมาธิการ แก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำฯ ซึ่งได้มีการประสานหารือร่วมกับคณะของท่านพลโท จเรศักดิ์

‘ผมจึงอาสารับไม้ต่อ ร่วมติดตามแก้ปัญหาความทุกข์ของประชาชนนี้ จึงรีบดำเนินการรวบรวม ประเด็นและข้อปัญหาที่ยังไม่ได้รับการเคลื่อนไหวในรอบสามปีที่ผ่านมา สรุปได้ 8 กลุ่มปัญหา 14 ประเด็น ซึ่งนำเข้าประชุมแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันแบบไมีมีใครบาดเจ็บไว้ข้างหลัง นายสังศิตกล่าวในที่สุด

สำหรับ 10 กลุ่มปัญหา 13 ประเด็น มีดังนี้

กลุ่มที่ 1 เรื่องเอกสารสิทธิ์ที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ประเด็นปัญหาลำดับที่ 1 ลำดับที่ 2 ลำดับที่ 10 และลำดับที่ 11 โดยมีผู้ร้องคือนายญาณ ปาหลา เกษตรกรหมู่ 13 บ้านโนนคำ นายกาย คำลือชัย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 17 ตำบลคำป่าหลาย และนายพงศกร พ่อศรียา กำนันตำบลคำป่าหลาย ประเด็นที่ร้องสรุปได้ดังนี้ 1 ขอให้ผลักดันเรื่องการออกเอกสารสิทธิ์ที่ทำกินและที่อยู่อาศัย และขอให้พิจารณาถอนแจ้งความดำเนินคดีกับประชาชนที่เข้าใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ป่าดงหมูและขอให้ประชาชนสามารถเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินเดิมได้
กลุ่มที่1 ได้ข้อสรุปว่า รอให้ One map มีความชัดเจนว่าพื้นที่ใดอยู่ในความรับผิดชอบของ สปก. หรือป่าสงวนแห่งชาติ ส่วนที่เป็นพื้นที่ของ สปก. ให้ทาง สปก. รับไปดำเนินการจัดที่ดินแบบ สปก. ส่วนที่เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ให้ดำเนินการจัดทำเป็นพื้นที่ คทช. และในเบื้องต้น จะหาแนวทางพูดคุยในรายละเอียดประเด็นการให้ชาวบ้านเข้าไปทำกินไปพลางก่อน ส่วนประเด็นปัญหาเรื่องคดีความ จะพิจารณา ใคร่ครวญอย่างรอบคอบเป็นรายกรณีไป

กลุ่มที่ 2 เป็นเรื่องลำดับที่ 3 ขอให้จัดสรรหาพื้นที่อยู่อาศัยและงบประมาณผู้ร้องคือนายทองดี แสนวิเศษ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ตำบลป่าคำหลาย

ประเด็นที่ร้องคือขอให้หน่วยงานภาครัฐจัดสรรหาพื้นที่อยู่อาศัยและงบประมาณในการสร้างบ้านให้ประชาชนผู้ยากไร้ในหมู่ 3 จำนวน 1 ครอบครัว คือครอบครัวของนายบัวทอง พลลือ ซึ่งเป็นออทิสติก อาศัยอยู่กับพี่สาวที่เป็นผู้พิการ โดยนายบัวทองเกิดในเมืองไทยแต่ไม่มีบัตรประชาชน

ประเด็นนี้ ได้ข้อสรุปว่า กรมป่าไม้จะลงไปสำรวจพื้นที่ ว่าจะสามารถหาพื้นที่สร้างบ้านให้ได้หรือไม่ ส่วนทุนทรัพย์ในการสร้างบ้านนั้นทางกาชาดอำเภอ และชุมชน สามารถช่วยกันระดมทุนได้ นอกจากนั้นยังมอบให้ทางจังหวัด ดำเนินการในการพิสูจน์ เพื่อให้สัญชาติและบัตรประชาชน ตามกระบวนการต่อไป

กลุ่มที่ 3 เรื่องลำดับที่ 8 ต้องการเอกสารสิทธิ์ที่ดิน สปก.ใช้เป็นหลักทรัพย์ในการทำธุรกรรมทางการเงินไม่ได้ ผู้ร้องคือนายเทคนิค พรานเนื้อ กำนันตำบลกกตูมอำเภอดงหลวง ประเด็นที่ร้องคือต้องการเอกสารสิทธิ์เนื่องจากที่ดิน สปก. ไม่สามารถใช้เป็นหลักทรัพย์ในการทำธุรกรรมทางการเงินได้

ประเด็นนี้ ได้ข้อสรุปว่า พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติจึงไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ให้ได้ กรณีดังกล่าว จึงควรดำเนินการ ให้เป็นพื้นที่ คทช.

กลุ่มที่ 4 เรื่องลำดับที่ 9 ขอให้สร้างและซ่อมแซมถนน

ผู้ร้องคือนางโกศล ชานเชาผู้ใหญ่บ้านหมู่ 13 ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง ประเด็นที่ร้องคือ ขอให้สร้างและซ่อมแซมถนนสายแก่งแต้ ดงเชียงคาน ห้วยเสนา ห้วยตะโคตรที่ชำรุดเสียหาย ซึ่งพื้นที่การเกษตรจำนวนมากอยู่ในเขตรอยต่อของตำบลบ้านค้อ จึงไม่สามารถขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลตำบลกกตูมได้

ประเด็นนี้ได้ข้อสรุปว่า คณะกรรมาธิการจะนำประเด็นดังกล่าวไปหารือกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งหาก อบจ. มีความพร้อมทั้งงบประมาณกรมป่าไม้ยินดีอนุญาตให้ทำได้

กลุ่มที่ 5 เรื่องลำดับที่ 6 ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ผู้ร้องคือนายสมบูรณ์ อ้วนไตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแวง ประเด็นที่ร้องคือ มีพื้นที่ประมาณ 90 กว่าไร่ ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ทั้งๆที่พื้นที่รอบๆนั้นมีเอกสารสิทธิ์ทั้งหมด

ประเด็นนี้มีข้อสรุป มอบหมายให้กรมที่ดิน ไปสำรวจดูว่าพื้นที่ดังกล่าว เป็นพื้นที่อะไรและอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใด เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาได้ถูกต้อง

กลุ่มที่ 6 เรื่องลำดับที่ 5 ไม่มีเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ผู้ร้องคือนายบวร สงครามและนายหนูเดิน มงคลสุริยา กรรมการหมู่บ้านหมู่ที่ 5 บ้านพังคลอง ตำบลบ้านโคก ประเด็นที่ร้องคือราษฎรหมู่ 5 ไม่มีเอกสารสิทธิ์ที่ดินเนื่องจากอยู่ระหว่างพื้นที่ สปก. และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ

ประเด็นนี้ได้ข้อสรุปว่า ให้รอความชัดเจนของ One Map เพื่อจะได้ดำเนินการ ตามแนวทางและอำนาจหน้าที่ ของหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ต่อไป หากพื้นที่ อยู่กับหน่วยราชการใดหน่วยงานนั้นรับจะดำเนินการให้ต่อไป

กลุ่มที่ 7 เรื่องลำดับที่ 12 ต้องการเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ผู้ร้องคือนางกนกพร เมืองฮาม ประเด็นที่ร้องคือ ประชาชนผู้มีที่ดินบริเวณถนนชยางกูรด้านทิศตะวันตกต้องการเอกสารสิทธิ์ที่ดิน เพื่อให้มีมูลค่าในการใช้เป็นหลักทรัพย์

ประเด็นนี้ได้ข้อสรุปว่า เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ ส.ป.ก. จึงไม่สามารถออกโฉนดที่ดินให้ได้

กลุ่มที่ 8 เรื่องลำดับที่ 7 ขอขยายเขตไฟฟ้า ผู้ร้องคือนางบำเพ็ญ ศรีกำพล เกษตรกรหมู่ 15 ตำบลกกตูม นางสาวชนาพร ชะนะสงคราม รองประธานสภาเทศบาลตำบลกกตูม ประเด็นที่ร้องคือ การขอขยายเขตไฟฟ้าบ้านห้วยไผ่ซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อนกับที่ดิน สปก. และที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ

ประเด็นนี้ได้ข้อสรุปว่า กรมป่าไม้ยินดีให้ให้ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดมุกดาหารเข้าไป ดำเนินการตามแนวถนนที่จะปักเสาไฟฟ้า ได้เลย เพราะมีมติคณะรัฐมนตรีรับรอง กฟภ. รับปากว่าจะเข้าไปดำเนินการในสัปดาห์หน้า

กลุ่มที่ 9 เรื่องลำดับที่ 14 ทวงถามการขออนุญาตใช้ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ผู้ร้องคือนายสมาน จันรอง ผู้ใหญ่บ้านโคก หมู่ 2 ตำบลบ้านโคก ประเด็นที่ร้องคือทวงถามการขออนุญาตใช้ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อสร้างวัด
ประเด็นดังกล่าวได้ข้อสรุปว่า ทางป่าสงวนแห่งชาติ จะเร่งดำเนินการการอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ รวมทั้งจะเร่งรัดติดตามเรื่องจากกรมการศาสนาของจังหวัดมุกดาหารที่ยังไม่ได้ส่งมาให้สำนักงานเขตป่าสงวนแห่งชาติ

กลุ่มที่ 10 เรื่องลำดับที่ 13 พัฒนาหมู่บ้านล่าช้า ผู้ร้องคือนายสุรศักดิ์ บุญวาล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร ประเด็นที่ร้องคือ การพัฒนาหมู่บ้านในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติมีข้อจำกัดและมีความล่าช้าในการพัฒนา

ประเด็นนี้ได้ข้อสรุปว่า หน่วยงานต่างๆที่จะดำเนินการเรื่องใดในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาตินั้น ต้องมีหนังสือขออนุญาตให้เรียบร้อยครบถ้วน

นายสังศิตกล่าวเพิ่มเติมว่า การทำหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ วุฒิสภา ในวันนี้‘เสมือนเปิดเวที แสวงหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน ผู้ร้องเรียนจะได้รู้ข้อเท็จจริง มีความเข้าใจการปฎิบัติหน้าที่ของข้าราชการ และยังได้ทราบด้วยตัวเองว่า หน่วยงานใดรับปากเป็นเจ้าภาพเพื่อแก้ปัญหา นับว่า ลุล่วงการรอคอยไประดับหนึ่ง จากนี้ไป เราจะได้ประสานติดตามและแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ ‘
ช่วงบ่ายเวลา 14:00 น. คณะกรรมาธิการ ได้ลงตรวจเยี่ยมพื้นที่บ้านโคก หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านโคก ที่มีการขออนุญาตใช้ที่ดินในเขตป่าชุมชนเพื่อสร้างวัด โดยได้รับการต้อนรับจากนายสมาน จันรอง ผู้ใหญ่บ้านโคก หมู่ 2 ตำบลบ้านโคก และพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว เป็นพื้นที่ป่าชุมชน ภูขี้สูต 350 กว่าไร่ มีความแห้งแล้ง มีแหล่งน้ำไม่เพียงพอ คณะกรรมาธิการจึงให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฝายแกนดินซีเมนต์ เพื่อใช้ในการกักเก็บน้ำ รวมทั้งได้ขอความร่วมมือจากชาวบ้านให้ทำการเกษตรผสมผสานแบบอินทรีย์จำนวนหนึ่ง โดยคณะกรรมาธิการยินดีให้การสนับสนุนเรื่องการทำตลาดสู่ตลาดโมเดิร์นเทรดในเมือง

สวัสดีครับ… จากผมเอง

สังศิต พิริยะรังสรรค์

ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความ
เหลื่อมล้ำ วุฒิสภา

คณะกรรมการสว. พบประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน

11 มิถุนายน 2565