ข่าวประจำวัน » อาชญากรรม » #ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ! อดีต สมช.แจงยิบ สิ่งที่คนไทยควรรู้

#ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ! อดีต สมช.แจงยิบ สิ่งที่คนไทยควรรู้

28 August 2020
1265   0

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวแห่งชาติกรองโพสต์ เฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า…เรื่องจริงที่คนไทย ควรต้องรู้ “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” กับ “ทรัพย์สินราชวงศ์จักรี” กับ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” บทความดีๆโดย อาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ

ก่อนอื่น เราต้องแยกระหว่างคำว่า “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” กับ “ทรัพย์สินราชวงศ์จักรี” กับ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” ให้เข้าใจเสียก่อน จึงจะได้ไม่สับสน

1. “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์”

คือ ทรัพย์สิน ของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งหมายถึง สถาบันฯ ที่ไม่ใช่ตัวบุคคล ที่ดำรงพระยศเป็นพระมหากษัตริย์ เป็นทรัพย์สิน ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ ต้นราชวงศ์จักรี พูดง่ายๆ ก็คือเป็นสมบัติของชาติชนิดหนึ่ง หมายถึงเป็นสมบัติของ สถาบันพระมหากษัตริย์ ที่มีมาตั้งแต่เริ่มตั้ง ราชวงศ์จักรี สืบทอดเรื่อยมา

ต่อมา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทรัพย์สินส่วนนี้ จึงตกเป็นของแผ่นดิน แต่เพื่อเป็นการให้เกียรติ์ ราชวงศ์จักรี ซึ่งเป็นเจ้าของเดิม จึงตั้งชื่อเป็น “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ขึ้น ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ กระทรวงการคลัง อีกที

ส่วน “พระมหากษัตริย์” ก็ได้รับพระเกียรติ์ ให้ทรงสามารถแต่งตั้ง คณะกรรมการ ไปช่วยดูแลการทำงานได้ 4 คน โดยมี รมต.กระทรวงการคลัง เป็นประธาน และมีผู้อำนวยการ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นผู้บริหาร แต่ทั้งหมดนี้ ต้องนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของชาติ และประชาชนเท่านั้น

“สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ไม่ได้นำ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไปใช้ในเรื่องส่วนพระองค์ของ “พระมหากษัตริย์” เลย แต่นำไปใช้เพื่อช่วยเหลือประชาชน และสังคมทั้งหมด

แต่ถ้าสำนักงานทรัพย์สินฯ อยากจะบริจาคเงิน ให้มูลนิธิต่างๆ ของในหลวง ก็ย่อมทำได้ และตามกฎหมาย “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” เป็น “ทรัพย์สินของแผ่นดิน” จึงไม่ต้องเสียภาษี แต่ส่วน เงินปันผล ที่ได้จากการถือ หุ้นบริษัทต่างๆ ก็มีการหักภาษี ณ. ที่จ่ายตามปกติ (ข้อมูลทั้งหมด จากเว็บ “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” และสามารถติดตามการทำงานต่างๆ ของสำนักงานฯ ได้เช่นกัน)

ส่วนรายได้ของ “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ก็จะนำไปลงทุนในกิจการต่างๆ เพื่อออกดอกผล แต่ทั้งหมด เมื่อได้มาก็เพื่อนำไปส่งเสริมกิจกรรม ที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมต่อไป

แต่จะมีเงินส่วนหนึ่ง ที่จะถวายให้ ในหลวง ในแต่ละปี เพื่อไปใช้ตาม พระราชอัธยาศัย บ้างตามสมควร (ก็อาจถือว่าเป็น เงินเดือน โดยตำแหน่งก็ได้ เราต้องไม่ลืมนะครับว่า เดิมทรัพย์สินตรงนี้ เดิมเป็นของ ราชวงศ์จักรี มาก่อน พอเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็ไปขอของๆ พระองค์ ให้มาเป็นสมบัติชาติ )

2. “ทรัพยสินส่วนพระองค์”

อันนี้แปลง่ายๆ ก็คือ “ทรัพย์สินส่วนตัว” ของในหลวง ซึ่งต้องเสียภาษีอากรให้แก่รัฐ และมูลนิธิต่างๆ ที่ ในหลวง ทรงริเริ่มตั้ง ก็จะนำมาจาก “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” ก่อตั้งทั้งสิ้นครับ เช่น

“มูลนิธิอานันทมหิดล” จุดประสงค์ เพื่อมอบทุนให้แก่นักเรียน เรียนดีไปศึกษาต่อต่างประเทศ ในสาขาวิชาสำคัญๆ ที่ขาดแคลนในประเทศ

“มูลนิธิชัยพัฒนา” เป้าหมายที่สำคัญคือ เพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชน ให้มีความร่มเย็น เป็นสุข และอยู่ดีกินดี อันจะนำไปสู่ความมั่นคง ของประเทศ คือ “ชัยชนะแห่งการพัฒนา” (ดูรายละเอียดได้ที่ เว็บมูลนิธิชัยพัฒนา) และยังมีอีกหลายๆ มูลนิธิ เช่น “มูลนิธิราชประชาสมาสัย” เพื่อช่วยเหลือ ผู้ป่วยโรคเรื้อน และญาติ เป็นต้น

3. “ทรัพย์สินของราชวงศ์จักรี”

อันนี้เป็น “ทรัพย์สมบัติ” ที่อยู่ภายใต้การดูแลจาก “กรมธนารักษ์” เช่นสิ่งของมีค่า “ทรัพย์สมบัติส่วนพระองค์” ของในหลวงรัชกาลต่างๆ ที่ผ่านมา เช่น เหรียญกษาปณ์ เครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือจะเป็น สำนักพระราชวัง รัฐบาลให้งบประมาณ ปีละประมาณ 2,000 ล้านบาทแก่สำนักพระราชวัง ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ นายกรัฐมนตรี โดยตรง และมีเลขาธิการพระราชวัง บริหารส่วนหน้าที่ดูแลทุกอย่าง ที่เกี่ยวข้องกับ พระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งจัดการงานคลัง หรืองานอื่นๆ อีกมากมาย (ไปดูได้ที่เว็บสำนักพระราชวัง