เรื่องฮอต ประเด็นฮิต » #“ซ้อมทรมาน” ! ละครในสามจังหวัดชายแดนใต้ “ที่คนไทยไม่รู้”

#“ซ้อมทรมาน” ! ละครในสามจังหวัดชายแดนใต้ “ที่คนไทยไม่รู้”

23 July 2022
251   0

 

วาทกรรมการซ้อมทรมาน “ฉากละครป้ายสี” ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ตามที่มูลนิธิผสานวัฒนธรรม โดย น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม/อดีต ผอ.องค์กรแอมนาสตี้ ประเทศไทย ได้เข้าร่วมกิจกรรม “กรุงเทพกลางแปลง” ตามแนวคิดผู้ว่า กทม. และได้ถือโอกาสฉายสารคดีสั้น “เสียงจากชายแดนใต้” เมื่อ 14 กรกฎาคม 2565 ณ บริเวณศูนย์เยาวชนคลองเตย กทม. จำนวน 3 ตอน ดังรายละเอียดที่มีการเผยแพร่ผ่านสื่อโซเซียลอย่างกว้างขวางแล้วนั้น สรุปเนื้อหาดังนี้
– ตอนที่ 1 “จุดเริ่มต้น” กล่าวถึงความรู้สึกของผู้คนในการดำเนินชีวิตประจำวันและผลกระทบจากการบังคับใช้ กม. พิเศษในพื้นที่ จชต. ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งมากว่า 18 ปี
– ตอนที่ 2 “คำสารภาพ” กล่าวถึงการถ่ายทอดเรื่องราวประสบการณ์ของบุคคลที่เคยผ่านการควบคุมตัวและการบังคับซ้อมทรมานให้สารภาพเพื่อให้ยอมรับผิดในคดีที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรง
– ตอนที่ 3 “เสรีภาพ” กล่าวถึง การถ่ายทอดความรู้สึกในมุมมองของสื่อที่ถูกปิดกั้น กดดันและคุกคามในการทำงานจากภาครัฐ ส่งผลให้ขาดเสรีภาพในการทำงานทำให้ไม่สามารถสื่อสารความที่เป็นความจริงในพื้นที่ จชต. ได้
จากเนื้อหาที่ถูกนำเสนอเป็นสารคดีสั้นเสียงจากชายแดนใต้นั้น หากผู้เสพข่าวไม่ได้รู้ถึงที่มาที่ไปของเรื่องราวดังกล่าวอย่างรอบด้านแล้ว อาจมีความเชื่อว่าเจ้าหน้าที่รัฐได้แสดงพฤติกรรมนอกกระบวนการทางกฎหมายด้วยการย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติต่อคนมลายูมุสลิมในพื้นที่ จชต.
ด้วยความโหดร้ายทารุณและป่าเถื่อน และอาจนำประเด็นดังกล่าวไปขยายผลตอกย้ำความรู้สึกเกลียดชัง
สร้างความขัดแย้งและความแตกแยกในสังคมให้เกิดรอยร้าวและเกิดความยุ่งยากในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ จชต. มากยิ่งขึ้น
แต่เมื่อย้อนกลับไปดูเนื้อหาและตัวแสดงนำทั้ง 3 ตอน ในสารคดีดังกล่าวจึงไม่แปลกใจเลย เพราะตัวละครที่ปรากฏล้วนแต่เป็นบุคคลที่เคลื่อนไหวต่อต้านการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐต่อกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่องซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้ทำงานร่วมกันอย่างประสานสอดคล้องในการช่วยเหลือ
ผู้ก่อเหตุรุนแรงให้รอดพ้นจากการถูกบังคับใช้กฎหมายด้วยการกล่าวหาบิดเบือนว่าถูกซ้อมทรมาน ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ถูกเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ และเมื่อตรวจสอบรายละเอียดของเนื้อหาที่ปราฏ
ในสารคดีดังกล่าวพบว่าเป็นเรื่องเก่าในอดีตที่กลุ่มด้วยใจ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และองค์กรเครือข่ายได้เคยจัดทำเป็นรายงานสถานการณ์การซ้อมทรมานในพื้นที่ จชต. อย่างเป็นทางการมาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้ง คือเมื่อ 28 พ.ค. 2555 และเมื่อ 10 ก.พ. 2559 โดยมีการรายงานกลุ่มเป้าหมายและรูปแบบการทรมานที่เหมือนๆกัน อย่างไรก็ตามเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐได้ประสานเพื่อร่วมทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ปรากฏ แต่กลับไม่ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มดังกล่าวและได้นำไปเผยแพร่ในสื่อต่างๆควบคู่กับการจัดกิจกรรม/นิทรรศการทั้งในและนอกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และภายหลังได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมดอย่างละเอียด กลับไม่พบหลักฐานหรือสิ่งบ่งชี้ใดๆที่น่าเชื่อได้ว่ามีการซ้อมทรมานดังที่ปรากฏในรายงานจึงนำไปสู่การฟ้องดำเนินคดีกับ น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ, น.ส.อัญชนา หีมมิหน๊ะ และ นายสมชาย หอมละออ ซึ่งเป็นผู้จัดทำรายงานในความผิดฐานหมิ่นประมาทและ พรบ. คอมพิวเตอร์เมื่อปี 2559 และได้มีความพยายามไกล่เกลี่ยคดีจนนำไปสู่การถอนแจ้งความ

– 2 –

เมื่อปี 2560 แต่กลุ่มองค์กรดังกล่าวก็ยังคงเคลื่อนไหวบิดเบือนข้อเท็จจริงเรื่องการซ้อมทรมานด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเคลื่อนไหวที่หลากหลายมากขึ้นโดยล่าสุดได้จัดทำเป็นสารคดีสั้น “เสียงจากชายแดนใต้” ซึ่งเป็นความพยายามนำวาทกรรมซ้อมทรมาน ฉากละครป้ายสีที่ไร้หลักฐานในอดีต มาผลิตซ้ำเพื่อสร้างความเกลียดชังและความแตกแยกในสังคมให้รุนแรงยิ่งขึ้น
ทั้งนี้รูปแบบที่ถูกระบุในรายงานทั้ง 2 ครั้ง นอกจากไม่ยินยอมให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว
ยังมีข้อสังเกตุในหลายประเด็นที่เป็นไปไม่ได้เช่น การล่วงละเมิดทางเพศ การบังคับให้ทานสารเคมีและเชื้อโรค การใช้น้ำร้อนลวก การเผาไหม้ ใช้สัตว์มีพิษและล่าสุด ได้กล่าวหาว่า “ให้ทหารพรานหญิงทรมานดัวยการใช้นมปิดใบหน้าเพื่อให้ขาดอากาศหายใจ”หรือกล่าวหาว่าถูกทำร้ายร่างกายจนฟันหัก กรามหัก ศีรษะแตก เป็นต้น
ซึ่งหากเป็นเรื่องจริงย่อมมีร่องรอยหรือหลักฐานให้ปรากฏต่อแพทย์ผู้ตรวจร่างกายทั้งก่อนและหลังการควบคุมตัวรวมทั้งปรากฏต่อญาติและครอบครัวที่เข้าเยี่ยมได้ทุกวันซึ่งองค์กรเหล่านี้ต่างก็ทราบดี ดังนั้นหากพิจารณาจากพฤติกรรมของกลุ่มบุคคลและองค์กรดังกล่าวตลอดเวลาที่ผ่านมา อาจถือได้ว่าเป็นความพยายามจงใจทำลายความน่าเชื่อถือในระบบอำนาจรัฐและทำลายภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเวทีสากลมาอย่างต่อเนื่อง
เป็นที่รับทราบกันโดยทั่วไปว่าสถานการณ์ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จชต.ที่ยืดเยื้อมากว่า 18 ปี
ได้ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อวิถีชีวิต เศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวาง ผลจากการสร้างสถานการณ์ความรุนแรงของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงทั้งการลอบยิง ลอบวางระเบิด ข่มขู่ ขู่เข็ญคุกคาม ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทั้ง จนท.รัฐ ผู้นำศาสนา บุคคลากรทางการศึกษาและพี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์รวมกันแล้วกว่า 15,000 คน บางส่วนต้องละทิ้งถิ่นฐานออกจากพื้นที่ ในขณะที่องค์กรเครือข่ายที่แอบแฝงอยู่ในองค์กรภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชนได้เคลื่อนไหวบิดเบือนข้อเท็จจริงและโฆษณาชวนเชื่อผ่านวาทกรรมต่างๆ เช่นการซ้อมทรมาน การถูกเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติและย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพื่อสื่อสารไปสู่การรับรู้ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การต่อสู้เพื่อเอาชนะจากภายนอกและให้รัฐพ่ายแพ้จากภายในให้บรรลุเป้าหมายสุดท้ายที่ต้องการคือ “การกำหนดใจตนเอง” (right to self the determination)
จากสภาพปัญหาดังกล่าว รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายในการแก้ไขปัญหาด้วยการน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาเป็นธงนำในการแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี ด้วยการ
บูรณาการทุกกลไกแก้ไขปัญหาให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างประสานสอดคล้องและมีเอกภาพทั้งในมิติด้านความมั่นคง ด้านการเสริมสร้างความเข้าใจและด้านการพัฒนาเพื่อความมั่นคง ส่งผลให้พี่น้องประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นักท่องเที่ยวและนักลงทุนมีความเชื่อมั่นในโครงการพัฒนาสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ทำให้มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้น สถานการณ์ในภาพรวมมีพัฒนาการดีขึ้นโดยลำดับ
ทั้งนี้ได้ให้ความสำคัญกับการควบคุมพื้นที่ให้ปลอดเหตุเพื่อให้พี่น้องประชาชนมีความปลอดภัยทั้งในชีวิตและทรัพย์สินควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมายตามความจำเป็นกับกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยได้ให้ความสำคัญและตระหนักในสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด และได้กำหนด

– 3 –

มาตรการและแนวทางในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในทุกขั้นตอนของการบังคับใช้กฎหมายด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ภายใต้การรับรู้และมีส่วนร่วมของผู้นำ 4 เสาหลัก ในพื้นที่ตั้งแต่ “ขั้นการติดตามจับกุม” โดยใช้มาตรการจากเบาไปหาหนักจะใช้อาวุธเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันตัวเท่านั้น “ขั้นการควบคุมตัวและซักถาม” ด้วยการจัดสถานที่ควบคุมตัวให้เป็นไปตามคำแนะนำของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวคือมีกล้องวงจรปิด 24 ชั่วโมง มีสถานพยาบาล มีเครื่องกระตุ้นหัวใจ มีกิจกรรมนันทนาการตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน และประกอบศาสนกิจตามหลักศาสนาพร้อมเปิดโอกาสให้บุคคลในครอบครัวเข้าเยี่ยมได้ทุกวันตามเวลาที่กำหนดโดยไม่กีดกัน/ขัดขวาง นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆทั้งในและต่างประเทศตลอดจนสื่อมวลชนรวมทั้งมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และกลุ่มด้วยใจเข้าเยี่ยมชมสถานที่ควบคุมตัวในหน่วยทหารได้ตลอดเวลา ซึ่งที่ผ่านๆมาทุกองค์กรต่างให้การยอมรับในการดำเนินการที่เป็นไปตามมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ ทำให้ประเด็นการร้องเรียนจากการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ดีขึ้นโดยลำดับ โดยได้ยึดมั่นในเจตนารมย์ในการบังคับใช้กฎหมายพิเศษทั้ง 3 ฉบับ ตามความจำเป็นด้วยความระมัดระวังเพื่อจำกัดเสรีการก่อเหตุ และไม่ให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสิทธิขั้นพื้นฐานของพี่น้องประชาชนทำให้สุจริตชนไม่รู้สึกเดือดร้อนจากการบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมและสนับสนุนการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนอย่างอิสระภายใต้หลักจริยธรรมและจรรยาบรรณของสื่อโดยไม่เคยเข้าไปแทรกแซง กดดันและคุกคามสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนดังที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด
จากการรวบรวมพฤติกรรมของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงและกลุ่มองค์กรเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชนพบความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยยะสำคัญโดยพบว่าทุกครั้งที่มีการบังคับใช้กฎหมายก็จะมีการร้องเรียนว่าถูก จนท. ซ้อมทรมานส่งกระจายไปยังองค์กรต่างๆ และจากการรวบรวมคำร้องของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในห้วงปี 60-62 จำนวน 100 เรื่อง และได้เดินทางลงพื้นที่เข้าพบบุคคลที่ถูกกล่าวอ้างเพื่อตรวจสอบข้อร้องเรียนแต่ไม่พบบุคคลใดที่ให้การว่าถูกซ้อมทรมานและส่วนใหญ่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีการร้องเรียน นอกจากนี้ยังตรวจสอบพบว่าข้อมูลที่ปรากฏในรายงานสถานการณ์ซ้อมทรมานส่วนใหญ่มาจากบุคคลที่ถูกดำเนินคดีแล้วมีการบิดเบือนข้อเท็จจริงภายใต้คำแนะนำของกลุ่มทนายความมุสลิมเพื่อเป็นแนวทางในการต่อสู้คดีในชั้นศาลว่าได้ถูกจนท.ซ้อมทรมานเพื่อให้รับสารภาพ และต่อมาภายหลังได้มีการนำข้อมูลดังกล่าวมาจัดทำเป็นรายงานสถานการณ์การซ้อมทรมาน จัดนิทรรศการและจัดทำสารคดีสั้นเผยแพร่เพื่อให้สังคมเชื่อว่ายังคงมีการซ้อมทรมานอย่างทารุณโหดร้ายในพื้นที่ จชต.
จากความสัมพันธ์ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ปรากฏในสารคดีสั้นทั้ง 3 ตอน กับข้อเท็จจริง
เชิงประจักษ์จะเห็นได้ว่าล้วนเป็นเหล้าเก่าในขวดใหม่ที่ได้นำเรื่องราวเดิมๆ ในอดีตที่ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าไม่เป็นความจริง เป็นเพียงวาทกรรมปรุงแต่งใส่ร้ายป้ายสีในพื้นที่ จชต. มาจัดทำใหม่ในรูปสารคดีสั้นมา

 

– 4 –

เผยแพร่ในช่วงสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในเวทีสภาที่กำลังเข้มข้น จึงถือเป็นโอกาสเหมาะที่
กลุ่มหิวแสงทางการเมืองจะกระโดดเข้าร่วมวงเพื่อโจมตีรัฐบาลและขยายฐานมวลชนอีกทางหนึ่งด้วย โดยไม่รู้ว่าอาจตกเป็นแนวร่วมมุมกลับให้องค์กรที่เคลื่อนไหวโจมตีการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐและคอยทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองสิทธิให้ผู้ก่อเหตุรุนแรงโดยไม่เคยออกมาเรียกร้องหรือปกป้องสิทธิให้ประชาชนผู้บริสุทธิที่เป็นฝ่ายถูกกระทำมาแล้วกว่า 18 ปี จนทำให้สังคมส่วนใหญ่เกิดความสงสัยว่ากลุ่มบุคคลเหล่านี้แท้ที่จริงแล้วเป็นเพียงกลุ่มที่แบ่งหน้าที่กันทำ แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง win win ทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการคือ “ล้มล้างการปกครองและแบ่งแยกดินแดนออกจากประเทศไทย” ดังนั้นคงถึงเวลาแล้วที่คนไทยทุกคนจะต้องร่วมกันตรวจสอบและตีแผ่พฤติกรรมขององค์กรต่างๆเหล่านี้ที่ยอมเป็นทาสรับใช้กลุ่มทุนและองค์กรต่างชาติโดยหวังเพียงแค่เศษเนื้อในซอกฟัน ที่พวกเขาหยิบยื่นให้แล้วยอมขายชาติมาทำลายบ้านเกิดเมืองนอนที่บรรพบุรุษของเราได้หลั่งเลือดและสละชีวิตปกปักรักษาให้คนไทยได้อยู่อย่างสุขสบายจนถึงทุกวันนี้

 

“ นิรนามชายแดนใต้ ”
20 กรกฎาคม 2565