ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #คำสั่งแพ่ง ! ศาลคุ้มครองชั่วคราว ห้ามนายกใช้พรก.ฉุกเฉินปิดสื่อ

#คำสั่งแพ่ง ! ศาลคุ้มครองชั่วคราว ห้ามนายกใช้พรก.ฉุกเฉินปิดสื่อ

6 August 2021
852   0

   วันที่ 6 สิงหาคม ศาลแพ่ง เผยแพร่ข่าวระบุว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวต่อสาธารณะว่า เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ๒๕๖๔ ศาลแพ่งมีคําสั่งให้รับคํา ฟ้องในคดีหมายเลขดําที่ พ๓๖๑๘/๒๕๖๔ ที่บริษัท รีพอร์ตเตอร์ โปรดักชั่น จํากัด กับพวกรวม 12 คน ยื่นฟ้อง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ขอให้ศาลมีคําพิพากษาเพิกถอนข้อกําหนดที่ออกตามความใน มาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 29) ลงวันที่ 29กรกฎาคม 2564พร้อมรับคําร้องขอให้ศาลไต่สวนคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉิน

โดยขอให้ศาลมี คําสั่งให้ระงับการบังคับใช้ข้อกําหนดดังกล่าวและห้ามมิให้นํามาตรการ คําสั่ง หรือการกระทําใดๆที่สั่งการตาม ประกาศดังกล่าวมาใช้กับฝ่ายโจทก์ ประชาชนและสื่อมวลชนไปจนกว่าศาลจะมีคําพิพากษาถึงที่สุดในคดีนี้ และ ศาลนัดฟังคําสั่งวันที่ 6 สิงหาคม 2564 เวลา 13.30 น.  นั้น

บัดนี้ ศาลแพ่งในคดีหมายเลขดําที่ พ๓๖๑๘/๒๕๖๔ ได้ออกนั่งพิจารณาไต่สวนพยานหลักฐาน แล้วมีคําสั่งอันสรุปใจความได้ว่า “ข้อกําหนดฯ ข้อ 1 ที่ห้ามเผยแพร่ข้อความอันอาจทําให้ประชาชนเกิดความ หวาดกลัว มิได้จํากัดเฉพาะข้อความอันเป็นเท็จตั้งเหตุผลและความจําเป็นตามที่ระบุไว้ในการออกข้อกําหนด ดังกล่าว ย่อมเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของโจทก์ทั้งสิบสองและประชาชนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติคุ้มครองไว้

ทั้งยังไม่ต้องด้วยข้อกําหนดฯ ที่ระบุว่า จําเป็นต้องมีมาตรการที่ กําหนดให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกเป็นไปอย่างมีเหตุผล ถูกต้องตามข้อเท็จจริงตามกรอบที่ รัฐธรรมนูญกําหนด ทั้งข้อความอันอาจทําให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวตามข้อกําหนดข้อดังกล่าวนั้น มี ลักษณะไม่แน่ชัดและขอบเขตกว้าง ทําให้โจทก์ทั้งสิบสอง ประชาชนและผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนไม่มั่นใจ ในการแสดงความคิดเห็นและสื่อสารตามเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 34 วรรคหนึ่ง และมาตรา 35 วรรค หนึ่ง บัญญัติคุ้มครองไว้

นอกจากนี้ยังเป็นการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ ไม่ต้องด้วย มาตรา 26 วรรคหนึ่ง แห่งรัฐธรรมนูญฯ ทั้งข้อกําหนดดังกล่าวก็ไม่ได้กําหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการ ปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่โจทก์ทั้งสิบสองหรือ ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ ตามความในมาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

ส่วนข้อกําหนดฯ ข้อ 2 ที่ให้อํานาจระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่เลขที่อยู่ไอพี (IP address) ที่มีการเผยแพร่ข้อความหรือข่าวสารในอินเทอร์เน็ตที่ฝ่าฝืนข้อกําหนดฯ ไม่ปรากฏว่ามาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ให้อํานาจนายกรัฐมนตรีออก ข้อกําหนดให้ดําเนินการระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ต

จึงเป็นข้อกําหนดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อินเทอร์เน็ตมี ความสําคัญต่อการดําเนินชีวิตประจําวัน โดยเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease : COVID-19) และรัฐสั่งปิดพื้นที่หรือล็อกดาวน์จํากัดการเดินทางหรือ การพบปะระหว่างบุคคล

ทั้งข้อกําหนดข้อดังกล่าวมิได้จํากัดเฉพาะการระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตสําหรับ การกระทําครั้งที่เป็นเหตุแห่งการระงับให้บริการอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่ยังระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตใน อนาคตด้วย ปิดกั้นการสื่อสารของบุคคล และเป็นการปิดกั้นสุจริตชนผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเผยแพร่ ข้อความหรือข่าวสารดังกล่าว ไม่ต้องด้วยมาตรา 36 วรรคหนึ่ง แห่งรัฐธรรมนูญฯ

การให้ข้อกําหนดทั้งสองข้อ ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อไปอาจทําให้เกิดความเสียหายที่ยากแก่การเยียวยาแก้ไขในภายหลังได้ กรณีมีเหตุ จําเป็นเห็นเป็นการยุติธรรมและสมควรในการนําวิธีชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้เพื่อเป็นการระงับการบังคับใช้ ข้อกําหนดทั้งสองข้อดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๕๕ (๒) มาตรา ๒๕ ๕ (๒) (ง) ประกอบมาตรา ๒๖๗ วรรคหนึ่ง และการระงับการบังคับใช้ข้อกําหนดดังกล่าวไม่น่าเป็นอุปสรรคแก่การ บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐหรือแก่ประโยชน์สาธารณะ เพราะยังมีมาตรการทางกฎหมายหลาย ฉบับให้สามารถดําเนินการเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อความหรือข่าวสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายผ่านช่องทางสื่อสาร ต่างๆ