ข่าวประจำวัน » เศรษฐกิจ » #”กรุงเทพฯ” จมบาดาลในอีก 20 ปี ! จี้รัฐบาลยกเป็นวาระแห่งชาติ

#”กรุงเทพฯ” จมบาดาลในอีก 20 ปี ! จี้รัฐบาลยกเป็นวาระแห่งชาติ

31 August 2022
255   0

 

 

  31 สิงหาคม 2565 รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ หรือ ดร.เสรี ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต และคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อดัง เพื่อเตือนภัยน้ำท่วมใหญ่ของประเทศไทย ถึงขั้น “กรุงเทพฯ จมบาดาล” ใน 20 ปีข้างหน้า หากไม่เตรียมการรับมือ ถึงขั้นอาจจะต้องย้ายเมืองหลวง

 

นอกจากนี้ได้ ออกมาเตือนว่า ช่วงเดือนก.ย.–พ.ย.65 ประเทศไทยจะมีปริมาณฝนตกหนักมากขึ้น และระยะเวลายาวขึ้น ไม่รู้พายุจะเข้าช่วงไหน จากที่กรมอุตุฯ คาดการณ์ปีนี้พายุอาจจะเข้าไทย 2-3 ลูก อาจมีโอกาสเป็น ฝน 100 ปีดูจากlถานการณ์ฝนที่กรุงโซล เกาหลีใต้ เป็นฝนในรอบ 80 ปี ซึ่งหนักมาก ดร.เสรี เตือนฝน 100 ปี คาดการณ์"กรุงเทพฯ"จมบาดาล จี้รัฐยกเป็น"วาระแห่งชาติ"

 

ตอนนี้มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่สถานการณ์จะเหมือนน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 เพราะปริมาณน้ำฝนเท่ากัน แต่ลักษณะการท่วมแตกต่างจากปี 2554 ที่มาเร็วจากน้ำหลากและระบายน้ำจากเขื่อนใหญ่ แต่ปีนี้มาจากน้ำฝน แนวพายุเข้าที่อาจจะเลื่อนมาภาคกลาง จะทำให้น้ำเต็มทุ่งจนล้นเข้ามาท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ

 

ตอนนี้ เขื่อนป่าสักฯ น้ำจะเต็มเขื่อน ต้องระบายน้ำมาฝั่งตะวันออก ไปทางคลองรังสิต และทางฝั่งตะวันตก น้ำล้นคลองพระยาบรรลือเมื่อไหร่ ดังนั้นให้คนกรุงเทพฯ เตรียมตัวป้องกันไว้ก่อน เพราะพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล พื้นที่หน่วงน้ำมีน้อย

 

ดร.เสรี กล่าวเตือนในช่วง 3 เดือนนี้ (ก.ย.-พ.ย.65) มีฝนตกหนักมากและตกยาวนาน ส่วนพายุที่จะเข้ามาอาจจะรู้ล่วงหน้าได้ประมาณ 10 วัน ปริมาณฝนจะตกเท่าไหร่ พื้นที่ลุ่มทุ่งเจ้าพระยา พื้นที่รับน้ำหน่วงน้ำ ชาวนาจะเก็บเกี่ยวข้าวได้หมดใน 15 วันหรือไม่ ดังนั้นจะต้องทำฉากทัศน์ จำลองสถานการณ์ล่วงหน้าไว้หลายๆแบบ นำข้อมูลมาแจ้งประชาชนให้เข้าใจ จะได้ไม่เกิดเหตุการณ์ประท้วงเวลาเปิดประตูระบายน้ำ แต่ประชาชนไม่อยากให้เปิด

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ เปิดเผยอีกว่า กรุงเทพฯ ปริมณฑล มีความเสี่ยงสูงมากจะจมใต้น้ำ อาจต้องย้ายเมืองหลวง หากไม่ทำอะไร เพราะทุก 10 ปี จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ควรนิ่งเฉย ต้องออกมาตรการป้องกัน

 

สำหรับปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ นั้น ดร.เสรี ระบุว่ามีปัจจัยหลักมาจาก 3 ส่วน

  • 1. ปริมาณน้ำฝน ซึ่งปีนี้มีฝนตกชุกจากพายุ 8 ลูก ยังเหลืออีก 15 ลูก ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพียงน้ำรอการระบาย แต่หากเจอปริมาณฝนเพิ่มขึ้นในระดับฝน 100 ปี หรือสูงกว่า 1,200 มิลลิเมตร จะเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งพบว่าจะมีปริมาณน้ำฝนสูงเกิน 1,200 มิลลิเมตร อย่างต่อเนื่องในอนาคต
  • 2. น้ำหลาก หรือน้ำล้นฝั่ง ซึ่งเกิดจากปริมาณฝนที่ตกในตอนบนของประเทศ ในปีนี้พบว่าจะหนักสุดช่วงเดือนตุลาคม
  • 3. น้ำทะเลหนุน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลเมื่อจะเกิดระดับน้ำทะเลสูงอย่างถาวร

รศ.ดร.เสรี กล่าวอีกว่า ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (IPCC), งานวิจัยจากญี่ปุ่น และงานวิจัยของ NASA พบว่า จะมีน้ำท่วมชายฝั่งอย่างถาวรในอนาคต ดังนั้นเมื่อบวกรวมกับปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำหลาก กรุงเทพจึงเหมือนถูกแซนวิช หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะจมบาดาล

 

แนวทางในการเตรียมรับมือนั้น ดร.เสรี ยืนยันว่า ต้องเป็น วาระแห่งชาติ ไม่ใช่แค่หน้าที่ ผู้ว่าฯกทม. เท่านั้น เนื่องจากต้องมีการสร้างแนวเขื่อนชายฝั่งเหมือนประเทศเกาหลี สร้างกั้นน้ำทะเลที่ชางฮี ซึ่งใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 30 ปี นอกจากนี้ต้องขยายระบบการระบายน้ำของกรุงเทพฯใหม่ทั้งหมด เพราะต้องยอมรับว่าที่มีอยู่รับมือไม่ได้แล้ว

ดร.เสรี เตือนฝน 100 ปี คาดการณ์"กรุงเทพฯ"จมบาดาล จี้รัฐยกเป็น"วาระแห่งชาติ"

รูปแบบโครงการจะสามารถช่วยปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และฉะเชิงเทรา แต่จะกระทบความเป็นอยู่และวิถีชีวิตอย่างมาก เช่น การสร้างถนนจากพัทยา-ชะอำ ต้องมีการพัฒนาตามแนวถนน หรือการสร้างเขื่อนแนวชายฝั่งที่ส่งผลกระทบกับประชาชน รวมถึงการประมงชายฝั่ง ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่มาก และขณะนี้ยังไม่มีการเริ่มดำเนินการ

 

สำหรับ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ในปีนี้ นอกจากรีบขุดลอกคลอง ลอกท่อระบายน้ำ จะต้องหาพื้นที่หน่วงน้ำเหนือ หาพื้นที่ชุ่มน้ำในกรุงเทพเพื่อรับน้ำ พร้อมประสานไปยังจังหวัดต่างๆให้ช่วยหาพื้นที่หน่วงน้ำ

 

 

ก่อนหน้านี้ รศ.ดร.เสรี โพสต์เรื่องราวที่น่าสนใจผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์” เตือนคนไทย เตรียมรับมือพายุ 15 ลูก ระวัง”น้ำท่วมใหญ่”ปลายปี 65 (อ่านเพิ่มเติม) โดยระบุถึง ปัจจัยที่ทำให้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ในปี 2565 จะเกิดขึ้นเมื่อครบทั้ง 3 ปัจจัย ดังนี้

  • 1. ปริมาณฝนสะสมช่วงก่อนฤดูฝนมากกว่าค่าปกติ
  • 2. ปรากฏการณ์ลานิญญายังทรงพลังช่วงปลายปีทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกสูงกว่าฝั่งตะวันออก ความชื้นสูง
  • 3. ปรากฏการณ์ไอโอดีเป็นลบทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียสูงกว่าฝั่งตะวันตก ความชื้นสูง

ปริมาณฝนคาดการณ์ช่วงปลายปี 2565 (สิงหาคม-พฤศจิกายน) มีสูงกว่าค่าปกติ และมากกว่าปี 2564 ที่ผ่านมา หากปริมาณฝนในภาคกลางมีมากกว่า 18 % ของค่าปกติ มีความเสี่ยงสูงจะเกิดน้ำท่วมใหญ่  2554   แต่พฤติกรรมน้ำหลากจะไม่เหมือนกัน (ถ้าฝนตกเหนือเขื่อน ปริมาตรรองรับน้ำเขื่อนขนาดใหญ่ในภาคเหนือยังมีประมาณ 50% แต่หากตกใต้เขื่อน จะสร้างปัญหาให้กับภาคกลางแบบน้ำท่วมทุ่ง ค่อยๆหลากเข้าเมือง) สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนกลาง ตอนล่าง) ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีความเสี่ยงสูงที่จะเผชิญเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ได้เช่นกัน

ดร.เสรี เตือนฝน 100 ปี คาดการณ์"กรุงเทพฯ"จมบาดาล จี้รัฐยกเป็น"วาระแห่งชาติ" ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ทำให้สถานการณ์รุนแรง หรือเบาลงประกอบไปด้วย

  • 1. จำนวน ทิศทาง และความรุนแรงของพายุจรตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป (โดยในปีนี้มีการคาดการณ์จะเกิดพายุ 23 ลูก ช่วงครึ่งปีแรกเกิดแล้ว 8 ลูก ยังเหลืออีกประมาณ 15 ลูก)
  • 2. ความสามารถรับน้ำของลุ่มน้ำลดลง บีบให้ระดับน้ำสูงขึ้น (เช่นปีที่แล้วในภาคกลางปริมาณน้ำมีน้อยกว่าปี 2554 ประมาณ 20% แต่ระดับน้ำสูงเท่า หรือมากกว่า)
  • 3. การเตรียมความพร้อม และความเข้าใจภาคครัวเรือนในพื้นที่เสี่ยง (เพื่อให้องค์ความรู้ และความตระหนัก จัดการความเสี่ยงได้ด้วยตัวเอง)
  • 4. ความขัดแย้งภาคประชาชนในพื้นที่เสี่ยง (มีการประกอบอาชีพ ทำนา ทำไร่ หรืออาชีพอื่นๆ  การจะเอาน้ำจากที่หนึ่งไปเก็บในอีกที่หนึ่ง เช่นแก้มลิงหรือประตูน้ำต่างๆ ย่อมส่งผลกระทบกับการทำมาหากินของเขาเหล่านั้น)  และ
  • 5. การบริหารจัดการเอาอยู่หรือไม่ (การประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ชี้แจงมาตรการต่างๆต่อภาคประชาชนในการลดผลกระทบต่อพื้นที่เสี่ยง)

 

สำหรับ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นผู้ที่ออกมาเตือนก่อนเกิดน้ำท่วมปี 2554  โดยในช่วงนั้นมีการแสดงความเห็นกันอย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่าจะเกิดน้ำท่วมใหญ่ กระทั่งสุดท้ายเกิดอุทกภัยที่หนัก เกิดการท่วมครั้งใหญ่อย่างที่ออกมาเตือนจริงๆ

ดร.เสรี เตือนฝน 100 ปี คาดการณ์"กรุงเทพฯ"จมบาดาล จี้รัฐยกเป็น"วาระแห่งชาติ"