ข่าวประจำวัน » #กรมการขนส่งทางบกไม่มีอำนาจอายัดทะเบียนการต่อภาษีประจำปีรถยนต์

#กรมการขนส่งทางบกไม่มีอำนาจอายัดทะเบียนการต่อภาษีประจำปีรถยนต์

6 July 2019
3398   0


ใบสั่งทางไปรษณีย์ที่ “ตำรวจ “ออกและส่งไปยังเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์ที่ถูกบันทึกภาพความเร็วที่เกินกว่าที่กฎกระทรวงกำหนด เป็นการฝ่าฝืนต่อกฏหมายหรือไม่

ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม ผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมาย กล่าวว่า ส่วนใหญ่ใบสั่งทางไปรษณีนั้น ตำรวจจะตรวจจากสารบบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่มีข้อมูลของกรมการขนส่งทางบกในการร่วมมือในการจับกุมผู้กระทำผิดเกี่ยวกับรถเพื่อทราบว่า “ใครคือเจ้าของรถ”นั้น

ตำรวจรู้ได้อย่างไรว่า “เจ้าของรถ” ตามใบสั่งทางไปรษณีย์ นั้นเป็นผู้ขับขี่ อันนี้เป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรแก้ไขการออกใบสั่งทางไปรษณีย์ให้ผู้กระทำความผิดที่แท้จริงปฎิบัติตามใบสั่งนั้น  ตำรวจต้องมีประจักพยานรู้เห็นว่า ผู้กระทำความผิดในวันเกิดเหตุนั้นเป็นใคร ไม่ใช่ออกใบสั่งให้เจ้าของรถ หรือผู้ครอบครองเสียค่าปรับได้ต้องระบุให้ชัดด้วยว่า “ผู้ครอบครองรถ”ที่กระทำผิดเป็นใคร

ตำรวจจะทำโดยพละการในลักษณะปัจจุบันนี้ไม่ได้ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อกฏหมาย  จริงอยู่ แม้ตามภาพถ่ายจะมีการบันทึกภาพขณะกระทำผิดว่ารถยนต์ตามใบสั่งทางไปรณีย์ในวันเกิดเหตุมีการกระทำผิดจริงตำรวจไม่ได้กลั่นแกล้งใครก็ตาม แต่ตำรวจมีหน้าที่สอบสวนว่า

“ผู้กระทำความผิดในวันเกิดเหตุนั้นเป็นใคร ก็ไม่ได้หมายความว่าเจ้าของรถเป็นผู้กระทำผิดเสมอไป”

“การออกใบสั่งในลักษณะแบบนี้ ผู้บันทึกภาพถ่ายและกล่าวหาว่ามีการขับรถเร็วและผู้ออกใบสั่งทางไปรษณีย์ ต้องเสี่ยงต่อการถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมต่อศาลได้.

ทั้งนี้คดีอาญาเป็นสิทธิเฉพาะตัว. เว้นแต่ทางตำรวจจะพิสูจน์ได้ว่า “เจ้าของรถ”นั้นเป็นผู้กระทำผิด

หากผู้มีชื่อทางปลายทะเบียนชึ่งเป็นเจ้าของรถ ปฎิเสธถึงความรับผิดตามใบสั่งทางไปรษณีย์นั้นไม่ใช่ความผิดชึ่งหน้าที่จับกุมผู้ขับขี่ได้ในวันเกิดเหตุ และหากเจ้าของรถ มีข้อแก้ตัวอันควร ผลร้ายย่อมเกิดขึ้นกับผู้ออกใบสั่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แม้นางจันทิรา บุรุษพัฒน์รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบกเปิดเผยต่อสาธารณชนว่า

“การงดออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถคันที่ตำรวจออกใบสั่งทางไปรษณีนั้น ตำรวจต้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนต่อไป

กรมการขนส่งทางบกไม่มีอำนาจอายัดทะเบียนการต่อภาษีประจำปีรถยนต์ที่ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของตำรวจที่ออกใบสั่งทางไปรษณีได้โดยชอบ

การเสียภาษีอากรเป็นรายได้ของรัฐ ตามประมวลกฏหมายรัษฎากรในการบริหารประเทศ การเรียกเก็บการเสียภาษีจากการใช้ถนนหลวง แล้วตั้งเงื่อนไขขึ้นเองถือว่า กรมการขนส่งให้ความสดวกแก่ผู้อื่นกระทำผิดต้องรับโทษตามที่กฏหมายกำหนดไว้

กรมการขนส่งมีหน้าที่ที่จัดเก็บภาษีตามอำนาจหน้าที่ตามเป๋าหมาย. การที่กรมการขนส่งรับเงินภาษีแก่ผู้ไม่ชำระค่าปรับทางไปรษณีย์แล้ว แต่ใช้อำนาจตั้งเงือนไขขึ้นเอง ออกป้ายวงกลมให้ผู้เสียภาษีเป็นการชั่วคราวก่อน 30วัน นั้น ต้องมีกฏหมายรองรับให้กระทำได้ และเจ้าของรถนั้นต้องยินยอมด้วย

หากไม่มีกฏหมายรองรับให้กระทำได้ย่อมเป็นการทำเกินหน้าที่ การกระทำนั้น ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อกฏหมาย มีความผิดฐานร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบได้ และอาจมีความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพของประชาชนได้ และเป็นผู้สนับสนุน
ผู้อื่นกระทำผิดได้ ทั้งนี้ ความผิดตาม พรบจารจรทางบกเป็นความผิดละหุโทษ ไม่ใช้ความผิดในคดีอุจฉกรรจ์ ที่จะต้องเอาเป็นเอาตายกันถึงขนาด กำจัดถึงสิทธิเสรีภาพของประชาขนเกินความจำเป็น

“คำสั่ง”นั้นไม่ใช่กฏหมาย ตำรวจจะอ้างเสมอว่า พลเอกประยุทธ จันทราโอชาสั่ง ก็ไม่ได้หมายความว่าให้ไป”ริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน “

รัฐบาลเร่งรัดให้ประชาชนไปเสียภาษีหากหลีกเลี่ยงมีความผิดตามกฏหมายที่จะเค่นให้ประชาชน. ประชาชนผู้เสียภาษีตามปกติไปจ่ายภาษีถึงที่ ก็ไปกำจัดสิทธิของเค้า ตั้งเงื่อนไขต่างๆนานา เกินกว่าความจำเป็นแก่ผู้เสียภาษี เก็บค่าภาษีแล้วไปกำหนดเงื่อนไข. เจตนาของกฏหมายนั้นไม่เปิดช่องให้กรมการขนส่ง กระทำได้โดยชอบ

หากประชาชนร่วมใจกันไม่เสียภาษี. ตำรวจและกรมการขนส่งจะทำอะไรก็ทำไป ใครจะรับผืดชอบ “รัฐต้องไปกู้เงินต่างประเทศ “ผลร้ายก็ต้องตกทีประชาชนต้องเป็นหนี้สาธารณะโดยไม่รู้ตัส

ตำรวจและกรมการขนส่ง ไม่ใช่ศาลที่จะทำอะไรก็ได้ตามอำเภอใจ. กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา

สำนักข่าววิหคนิวส์