ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ !ดร.สุกิจวินิจฉัย การแสดงเจตนาสำคัญผิดในตัวทรัพย์ ย่อมตกเป็นโมฆะตามป.พ.พ.มาตรา 156

#สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ !ดร.สุกิจวินิจฉัย การแสดงเจตนาสำคัญผิดในตัวทรัพย์ ย่อมตกเป็นโมฆะตามป.พ.พ.มาตรา 156

12 July 2021
555   0

การจดทะเบียนโอนสิทธิการรับจำนองที่ดิน โดยสำคัญผิด ว่าเป็นทรัพย์ดอยคุณภาพจากสถาบันเงิน ตามหลักเกณท์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
………………\\\\\\\………………
โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม นักวิชาการด้านกฏหมาย (ศึกษากรณีลูกหนี้เป็นลูกค้าปกติ )

ปัญหาข้อกฏหมาย ตามพระราชกำหนดบริหารสินทรัพย์ พศ.2541ที่ไม่ใช่ลูกหนี้ ที่เป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ

ธนาคารขอจดทะเบียนโอนสิทธิรับจำนองที่ดินให้บริษัทบรรหารสินทรัพย์โดยระบุเหตุที่โอนว่า เป็นการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินตามหลักเกณท์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด นั้น

จึงเป็นประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่า จะเพิกถอนรายการจดทะเบียนดังกล่าวได้หรือไม่

เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า การจดทะเบียนสิทธิจำนอง ระหว่างธนาคารผู้รับจำนอง กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ผู้รับโอนในสิทธิรับจำนองที่เป็นหนี้ด้อยคุณภาพตามมาตราฐานการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ พบว่าเกิดจากความผิดพลาดทางด้านเอกสารของธนาคาร และสถาบันการเงิน ตามหลักเกณท์ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องปฎิบัติลงวันที่ 28ธันวาคม2541 ข้อ 2 นั้น

เป็นลูกหนี้ปกติของสถาบันการเงินและธนาคาร หมายถึงมีการชำระหนี้ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้มาโดยตลอด แม้สถาบันการเงินจะมีกฏหมายโดยเฉพาะ เช่นบรรบริษัทมหาหารสินทรัพย์ไทย ตามมาตรา 58

เป็นกฏหมายเฉพาะเกี่ยวกับลูกหนี้ไม่ให้ความร่วมมือในการปรับโครงสร้างหนี้ ก็ตามแต่เจตนารมย์ของกฏหมายดังกล่าวไม่ใช่ข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาด

ที่จะฟ้องให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายได้เสียที่เดียว จะต้องให้ศาลเป็ผู้สั่ง เมื่อศาลมีคำสั่งว่าลูกหนี้ยังไม่ผิดสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลย่อมถึงที่สุดผูกพันคู่ความ

แม้ต่อมาภายหลังศาลมีคำพิพากษาแล้ว. สถาบันการเงินนั้น จะไม่อนุมัติให้ปรับโครงสร้างหนี้.ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลัง จากคำพิพากษาได้ถึงที่สุด

เจ้าหนี้ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ในเหตุอื่น. สินทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน จึงไม่ใช่สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ที่จะจำหน่ายจ่ายโอนให้กับบุคคลภายนอกได้ ขัดต่อมาตรา 3 แห่ง พระราชกำหนดบริหารสินทรัพย์ พศ 2541 และไม่เป็นไปตามเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณีที่ต้องการโอนหนี้ด้อยคุณภาพให้แก่กัน

จึงเป็นการแสดงเจตนาสำคัญผิดในตัวทรัพย์ชึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม และเป็นสารสำคัญแห่งนิติกรรม ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 156 แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์. การจดทะเบียนดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฏหมายตัองเพิกถอนการจดทะเบียนมาตรา 61 แห่งประมวลกฏหมายที่ดิน จึงเป็นกรณีศึกษา

ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม