ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #ปชป.ต่างจาก’คสช.-พท.’ ‘มาร์ค’สับ1ปีใช้รธน.60ปราบโกงไม่จริงปฎิรูปเหลว

#ปชป.ต่างจาก’คสช.-พท.’ ‘มาร์ค’สับ1ปีใช้รธน.60ปราบโกงไม่จริงปฎิรูปเหลว

7 April 2018
919   0

“มาร์ค”ลั่นปชป.เป็นทางหลักให้ปชช. บริหารต่างจาก”คสช.-พท” ไม่กังวลลูกพรรคถูกดูด แต่ไม่พอใจตัวเลขยืนยันสมาชิก เตือนผู้มีอำนาจอย่าใช้เพื่อประโยชน์ตัวเอง อ้างธรรมาภิบาล ต้องทำตัวแบบอย่างเคารพผู้ตรวจฯ แก้คำสั่ง 53 เลิกละเมิดสิทธิ์ปชช. ชี้1ปีบังคับใช้รธน.ปราบโกงไม่จริง ปฏิรูปไม่ได้

6 เม.ย.61 ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวภายหลังพิธีทำบุญเนื่องในโอกาศครบรอบ 72 ปี ของพรรค ว่า ความท้าทายของพรรคคือความสามารถในการสืบสานอุดมการณ์ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มั่นใจว่าแนวคิดและอุดมการณ์ที่ยึดมั่นจะแก้ปัญหาและเป็นทางหลัก ไม่ใช่เป็นแค่ทางเลือก โดยพรรคประชาธิปัตย์ยุคใหม่จะสร้างสังคมไทย พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตย ไม่ใช่อนุรักษณ์ โดยคนรุ่นใหม่ที่จะเข้ามาร่วมงานก็จะผสมผสานกับคนที่ทำงานการเมืองอยู่ก่อน และคำว่าคนรุ่นใหม่ไม่ใช่เรื่องของอายุน้อย แต่เป็นเรื่องความคิดใหม่ที่ในพรรคตกผลึกว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโดยจะมีแนวทางของพรรคจะแตกต่างจากการบริหารของ คสช.ที่บริหารแบบรวบอำนาจไว้ที่ราชการ และพรรคก็จะแตกต่างจากพรรคเพื่อไทยในอดีตที่เน้นเรื่องประชานิยม ที่คิดว่าเมื่อได้รับเลือกตั้งแล้วจะใช้อำนาจอย่างไรก็ได้ แต่ประชาธิปัตย์จะให้ประชาชนตรวจสอบและมีส่วนร่วม โดยจะเดินหน้าไปสู่ระบบสวัสดิการ และสิทธิของประชาชนที่จะมีหลักประกันในเรื่องรายได้พื้นฐาน

นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงข้อจำกัดที่เกิดจากกฎหมายใหม่ และคำสั่ง คสช.ว่าพรรคต้องฝ่าฟันข้อจำกัดไปให้ได้โดยพร้อมปฏิบัติตามกฎหมาย แต่อยากให้ คสช.ทบทวนคำสั่งที่ 53/2560 หลังจากที่ผู้ตรวจการแผ่นดินชี้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิ์ประชาชน และขัดรัฐธรรมนูญ การที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่าจะแก้ในเรื่องสาขาพรรคเป็นแค่เรื่องวทางเทคนิคที่เกิดจากการขัดกันของคำสั่งดังกล่าว แต่ที่พรรคเรียกร้องคือ หากยึดธรรมาภิบาลจริง เมื่อพบว่าคำสั่งนี้สร้างความเดือดร้อนและภาระเกินกว่าความจำเป็นก็ควรแก้ไข ให้ระบบการตรวจสอบถ่วงดุลทำงานได้ รัฐบาลต้องเคารพมติผู้ตรวจการแผ่นดินที่ชี้ว่ามีการบะเมิดสิทธิ์ประชาชน โดยไม่ต้องรอคำชี้ขาดทางกฎหมายจากศาลรัฐธรรมนูญจึงจะเป็นแบบอย่างของการปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริง มิเช่นนั้นหลังการเลือกตั้งคนที่เข้ามาก็จะเพิกเฉยต่อมติของผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งไม่ใช่แนวทางของการปฏิรูปการเมือง

นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงกระแสข่าวที่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ จะตั้งพรรคการเมืองเพื่อสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ ว่า ทุกคนมีสิทธิ์ตั้งพรรคภายใต้กฎหมาย และยอมรับว่าคงจะมีการดึงตัว ส.ส.ของพรรคไปเป็นเรื่องธรรมดา แต่ไม่คิดว่าจะเป็นปัญหาสมองไหลจนเป็นปัญหากับพรรค ซึ่งในส่วนของ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ และนายสกลธี ภัททิยกุล ที่มีข่าวว่าไปพบกับนายสมคิดนั้นก็ได้ชี้แจงกับ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในส่วน กทม.ว่าไม่ได้มีเรื่องการเมือง ซึ่งนายณัฏฐพลก็ทำโรงเรียนอยู่

ส่วนที่มีการวิจารณ์ว่าคำสั่ง คสช.ที่ 53/2560 เป็นการแช่แข็งพรรคการเมืองเก่าเพื่อให้พรรคการเมืองใหม่ที่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ มีความพร้อมนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ว่าจะใช้อำนาจอย่างไรขอให้ยึดหลักธรรมาภิบาง เพราะฉะนั้นถึงจะพูดว่ามีธรรมาภิบาลก็ไร้ความหมายการใช้อำนาจทางการเมืองหากกลับไปสู่จุดที่ใช้อำนาจรัฐมาสร้างความได้เปรียบทางการเมือง มีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องก็จะปฏิรูปการเมืองไม่ได้ ซึ่งนายณัฏฐพลก็ทำโรงเรียนที่ภาคตะวันออก แต่นายสมคิดก็พูดชัดว่ากำลังขยับในเรื่องของการเมือง คือ การตั้งพรรค ส่วนการยืนยันการเป็นสมาชิกพรรคก็ต้องบอกว่าไม่พอใจกับจำนวนสมาชิกที่มายืนยัน เพราะต้องการที่จะรักษาสมาชิกพรรคไว้ แต่ก็มีข้อจำกัดเพราะแม้ว่าบางคนจะบอกว่าการมีสมาชิกน้อยจะทำให้คุถมง่าย แต่ไม่ใช่แนวทางของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าไม่ว่ากฎหมายเขียนอย่างไร แต่ในความจริงพรรคไปไกลกว่ากฎหมายแล้วในส่วนของอดีต ส.ส.ก็มายืนยันเกือบครบแล้ว ยกเว้นบางคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ หรืออยู่ต่างประเทศ แต่ยังไม่มีใครแจ้งว่าจะไม่ทำงานการเมืองกับพรรค

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยังกล่าวเนื่องในโอกาสครบ 1 ปี การบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 60 ว่า อยากให้ทุกฝ่ายเคารพการใช้ แต่หนึ่งปีที่ผ่านมาก็มีความขลุกขลักในการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เพราะเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญตอนทำประชามติบอกว่าเป็นรัฐธรรมนูญปราบโกง เพื่อการปฏิรูป จึงอยากให้รัฐบาลแสดงให้เห็นว่าเป็นเช่นนั้นจริง เพราะในขณะนี้กโลบายเป็นว่ามีการปั่นทอนองค์กรอิสระผ่านการใช้รัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบ ซึ่งไม่เป้นไปตามเจตนารมณ์ที่พูดไม่เอื้อต่อการปราบโกง ตนเชื่อว่าคงมีความพยายามให้มีการแก้ไขหลังการเลือกตั้ง แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะต้องได้เสียงจากวุฒิสภาด้วย ไม่เช่นนั้นก็แก้ไม่ได้ โดยหลังเลือกตั้งนักการเมืองก็ต้องพิสูจน์ตัวเองเพื่อกอบกู้ศรัทธาจากประชาชน หากสังคมเห็นชัดว่ามีอุปสรรคท่ีเกิดจากรัฐธรรมสนูญก็จะเป็นแรงกดดันให้วุฒิสภาเห็นพ้องในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเอง

Cr.naewna

สำนักข่าววิหคนิวส์