ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #ดร.เทอดศักดิ์ั่ลั่นเลือกตั้งส่อโมฆะ เพราะสาเหตุนี้ แต่?

#ดร.เทอดศักดิ์ั่ลั่นเลือกตั้งส่อโมฆะ เพราะสาเหตุนี้ แต่?

13 April 2019
1856   0

ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์การเมืองการปกครอง ได้โพสต์ข้อความระบุว่า

การเมืองไทยในยามนี้ กำลังเข้าสู่กระบวนการการแตกหัก ใช้งบประมาณการเลือกตั้ง ถึง 5800 ล้านบาท แม้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมีการประกาศออกมาแล้ว ก็ไม่มีฝ่ายใดสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ แม้จัดตั้งได้ก็ขาดเสถียรภาพในการบริหาร ต้องเป็นรัฐบาลผสม และมีอายุการทำงานได้ไม่ยาว ไปไม่กี่เดือนก็จะมีม๊อบออกมาบนถนน มิต่างจากยุคพฤษภาทมิฬ

วันที่ 24 มีนาคม 2562 รัฐบาล คณะรักษาความสงบเรียบร้อย และคณะกรรมการเลือกตั้ง ได้กำหนดให้เป็นวันเลือกตั้ง ตามหลักโหราศาสตร์ ตกภพโลกาวินาศ อันตรงกับภพเดียวกันกับ 26 กุมภาพันธ์ 2500 สมัยจอมพล ป. พิบูลณ์สงคราม จนถูกขนานนามว่า “เลือกตั้งสกปรก” ก็ตกในภพเดียวกัน

การเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 เมื่อการเลือกตั้งแล้วเสร็จก็ถูกกล่าวหาว่า มีการโกงการเลือกตั้ง คล้ายคลึงกับ สมัยจอมพล ป.พิบูลณ์สงคราม มีการร้องเอาผิดคณะกรรมการเลือกตั้ง และมีการร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน มีการต่อต้านอย่างดาดดื่น ในสังคมออนไลน์ เลือกตั้งใน อินโดนีเซีย อินเดีย ตุรกี เวเนซูเอลา ก็เกิดลักษณะเดียวกัน อย่างน่าแปลกใจ

เมื่อได้มีการศึกษารัฐธรรมนูญ มาตรา 267 ให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2559 อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป เพื่อจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังต่อไปนี้ให้แล้วเสร็จ และเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

(1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
(3) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(4) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง

มาตรา 268 ให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา 267 (1) (2) (3) และ (4) มีผลใช้บังคับแล้ว

ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2 มาตรานี้ถูกหยิบยกมาอ้างถึงตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา จนทำให้เข้าใจว่าการเลือกตั้งจะต้องเกิดขึ้นและแล้วเสร็จภายใน 150 วัน

แต่อย่างไรก็ตามยังมีรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตามมาตรา 103 ในรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2560 กำหนดว่า

พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป

การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา และให้กระทำได้เพียงครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียวกัน

ภายในห้าวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งใช้บังคับ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในราชกิจจานุเบกษา ซึ่ง “ต้องไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันแต่ไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับ” วันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร

วินิจฉัยว่า เมื่อมีพระราชบัญญัติเลือกตั้ง เมื่อ 23 มกราคม 2562 คณะกรรมการการเลือกตั้ง จะต้องประกาศการเลือกตั้ง ไม่ต่ำกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน ซึ่งการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 หากนับตามวันประกาศกฤษฎีกาการเลือกตั้ง

ซึ่งในเดือนมกราคม มี 31 วัน หากนับตั้งแต่วันประกาศกฤษฏีกาการเลือกตั้ง 23 มกราคมเป็นต้นไป มกราคมจะมี 9 วัน เดือนกุมภาพันธ์ มี 28 วัน เดือนมีนาคม นับถึงวันเลือกตั้งมี 24 วัน ทำให้วันเลือกตั้งจะตก 61 วัน เกินตามรัฐธรรมนูญกำหนด นั้นหมายถึงการเลือกตั้งอาจเป็น ”โมฆะ” นะครับ

แม้มีการโต้แย้งในกรณีการแปรญัตติ เกี่ยวกับมาตรา 103 และมาตรา 268 โดยคณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ที่ตีความหมายถึงว่า การเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 เป็นการเลือกตั้งครั้งแรก ส่วนมาตรา 103 เป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 2 หลังจากมีรัฐบาลแล้ว แต่ในรัฐธรรมนูญก็มิได้ระบุไว้ในกรณีดังกล่าวว่าครั้งแรกหรือครั้งที่สองแต่อย่างใด ประกอบกับมาตรา 103 วรรค 2 ที่ระบุว่า ภายในห้าวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งใช้บังคับ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในราชกิจจานุเบกษา ซึ่ง “ต้องไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันแต่ไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับ” วันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร

เมื่อประกาศกฤษฏีกาการเลือกตั้ง ต้องไม่ต่ำกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน ชัดเจนมากกว่า มาตรา 268 ที่ให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา 267 (1) (2) (3) และ (4) มีผลใช้บังคับแล้ว

หากศาลรัฐธรรมนูญ ยึดเจตนารมณ์ของการร่างรัฐธรรมนูญ อ้างการแปรญัติการเลือกตั้งก็จะไม่เป็นโมฑะ แต่หากยึดตามลายลักษณ์อักษรแล้ว การเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 ย่อมเป็นโมฆะ เพราะเกินเวลาตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด นั้นหมายถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง รัฐบาล และคณะรักษาความสงบเรียบร้อย จึงต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการ “ลาออก” ตามหลักธรรมเนียบปฏิบัติสากล

“ฟ้าครามคลื่นครืนฝน จนแผ่นดินต้องสั่นไหว ฟ้าสีทองผ่องอำไพ สันติสุขจะมีชัยในแผ่นดิน”

ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา
12 เมษายน 2562

สำนักข่าววิหคนิวส์