ข่าวประจำวัน » #ดร.บุญเลิศ อธิบาย!!เผด็จการรัฐสภาได้น่าสนใจ

#ดร.บุญเลิศ อธิบาย!!เผด็จการรัฐสภาได้น่าสนใจ

29 July 2017
645   0

                     29 กรกฎาคม 2560 ดร.บุญเลิศ ไพรินทร์ อดีตสว.และผู้อาวุโสทางการเมือง ได้โพสข้อความ ระบุถึงเผด็จการรัฐสภาที่ผ่านมาว่า “มีคนสงสัยระบบการเมืองแบบเผด็จการรัฐสภา(Parliamentary Dictatorship) มันเป็นอย่างไร ผมจะคุยให้ฟังในภายหลังเมื่อกล่าวถึงระบบการเมืองของโลกโดยทั่วไปเสียก่อนระบบการเมือง( Political System) โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ระบบใหญ่ๆคือ ระบบการเมืองแบบเผด็จการ(Dictatorship) แบ่งย่อยเป็น 2 ฝ่ายคือฝ่ายขวา(Right-wing)ได้แก่เผด็จการทหารนาซิสต์ และ ฟาสซิสต์ เป็นต้นและฝ่ายซ้าย(Left-wing)ได้แก่เผด็จการคอมมิวนิสต์ระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย(Democracy)แบ่งเป็น 2 ระบบย่อยคือระบบรัฐสภา(Parliamentary System)มีอังกฤษเป็นแม่แบบและระบบประธานาธิบดี(Presidential System)มีอเมริกาเป็นแม่แบบ


ทั้งเผด็จการฝ่ายขวากับฝ่ายซ้ายก็มีความแตกต่างกันและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดีก็มีความแตกต่างกันในสาระสำคัญเช่นกัน จะไม่อธิบายในรายละเอียดเพื่อประหยัดพื้นที่และเวลาเว้นแต่จะมีผู้สนใจก็จะคุยในภายหลัง ผมสอนการเมือง เศรษฐกิจและสังคมให้นักศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์อยู่หลายมหาวิทยาลัย

จะเห็นได้ว่าเผด็จการรัฐสภาที่ผมกล่าวไว้ในคราวก่อนนั้นต้องเกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาไม่ใช่ระบบประธานาธิบดีอย่างแน่นอน เพราะไทยเราลอกเลียนแบบ
มาจากอังกฤษ ไทยเราใช้ระบบรัฐสภามี 2 สภาคือวุฒิสภา(House of Senate) อังกฤษเรียก House of Lords สมาชิกวุฒิสภาอังกฤษได้มาจากการสรรหาจำนวนมากกว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนอังกฤษมาจากการเลือกตั้งของประชาชนเหมือนของไทยเผด็จการรัฐสภาของไทยที่ผ่านมาอาจสรุปได้ว่า
รัฐบาลสามารถควบคุมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียงข้างมากและสมาชิกวุฒิสภา(โดยพฤตินัย)ให้ซ้ายหันขวาหันได้ตามใจรัฐบาลที่ปรารถนาให้ร่างกฎหมายใดๆเช่นนิรโทษกรรมสุดซอยผ่านทั้งสองสภาได้ตามที่ต้องการได้
เมื่อรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่ฟังเสียงคัดค้านและทัดทานของสมาชิกสภาผู้แทนเสียงข้างน้อย ในสภาผู้แทนราษฎรหรือฝ่ายค้านตามหลักการที่ว่าเสียงข้างมากปกครอง (Majority Rule)แต่ต้องเคารพในสิทธิของเสียงข้างน้อยด้วย(Minority Right) ที่ผ่านมารัฐสภาไทยไม่เคยฟังเสียงคัดค้านแม้เสียงคัดค้านนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดินและรัฐสภาก็ตาม แม้เสียงคัดค้านหรือชี้แนะนั้นจะเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงกับชาติราชบัลลังก์และประชาชนสักเพียงใดก็ตาม รัฐบาลและรัฐสภาไทยก็ไม่ฟังและไม่ใยดีแต่อย่างใด

รัฐบาลและรัฐสภาไทยใช้ระบบ แพ้-ชนะอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดหรือ Zero-sum Gameไม่ได้ใช้ระบบชนะ-ชนะหรือ Win-win Game ในกรณีการตัดสินใจใดๆที่จะกระทบสิทธิประโยชน์ ของชาติราชบัลลังก์และประชาชนอย่างขนานใหญ่ด้วย เมื่อเป็นเผด็จการรัฐสภาหรือเผด็จการรูปแบบอื่นๆก็ตามก็จะเริ่มเหลิงอำนาจ คิดไปเองว่าจะทำอะไรก็ได้จะไม่มีใครทัดทานได้ทั้งสิ้น ก็จะนำไปสู่การทุจริตคอรัปชั่น ฉ้อฉล ฉ้อราษฎร์บังหลวงได้ตามแนวคิดของท่าน Lord Acton ที่ได้กล่าวไปแล้ว อาจมีคนสงสัยอีกว่าทำไมเผด็จการมักนำไปสู่การฉ้อฉลในที่สุด ทั้งนี้เพราะไม่มีใครควบคุมและตรวจสอบได้หรือแม้จะตรวจสอบได้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนั่นเอง คุณธรรมเท่านั้นที่จะช่วยได้

อย่างไรก็ตามรัฐบาลและรัฐสภาเผด็จการหรือประชาธิปไตยก็อาจบริหารราชการแผ่นดินที่เห็นกับประโยชน์ของชาติราชบัลลังก์และประชาชนได้ ถ้าใช้ธรรมะนำการเมืองการปกครองดังที่ปรากฏในประเทศต่างๆในโลกที่เจริญอย่างรวดเร็วดังประเทศจีนที่เห็นได้อย่างชัดเจนดังที่พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นการใช้อำนาจ 3 แบบนั่นก็คือ 

อัตตาธิปไตย(Autocracy)คือเผด็จการ

โลกาธิปไตย(Lokocracy) คล้ายประชาธิปไตยและ

ธัมมาธิปไตย(Dhammocracy)คือใช้ธรรมะนำในทางการเมืองการปกครองที่พระองค์แนะนำว่าดีที่สุดครับ”

ทีมข่าว สำนักข่าว vihok news