เรื่องฮอต ประเด็นฮิต » #ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ! ดร.สุกิจ ฟันธงคดีแอม ไซยาไนด์ โทษสถานเดียว

#ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ! ดร.สุกิจ ฟันธงคดีแอม ไซยาไนด์ โทษสถานเดียว

30 April 2023
307   0

 

“ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน “
กับ
กระบวนการยุติธรรมไทยไม่ได้คำนึง
เหยื่อที่มองไม่เห็น

………………\\\\\\\\\\\\\………………

โดย ดร.สกิจ พูนศรีเกษม นิติศาสตร์ดุษฎีบันทิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ศึกษา กรณี “แอม ไซยาไนด์’”

ความเป็นมาและสภาพปัญหาตามข่าว วันที่ 14 เม.ย. 2566 เวลาประมาณ 06.30 น. น.ส.ศิริพร ขันวงษ์ หรือก้อย อายุ 32 ปี ได้ขับรถยนต์ โตโยต้า ยาริส สีขาว ทะเบียน กน 2340 กาญจนบุรี
ออกจากบ้านของตนเอง ที่ จ.กาญจนบุรี

มุ่งหน้าไปยังหมู่บ้านพฤกษาการ 1 จ.นครปฐม เมื่อมาถึงหมู่บ้าน”ผู้ต้องหาผู้ตายได้นำรถยนต์มาจอดไว้แล้ว

เดินมาขึ้นรถยนต์โตโยต้า วีออส สีบรอนซ์ ทะเบียน กต 9532 นครปฐม โดยมีผู้ต้องหาเป็นคนขับ จากนั้นผู้ต้องหาได้ขับรถออกจากหมู่บ้านไปกับผู้ตาย

ในวันเดียวกันเวลา 09.00 น.ผู้ต้องหาและผู้ตายขับรถยนต์มาถึงบริเวณศาลาประชาคมริมแม่น้ำแม่กลอง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี และได้จอดรถบริเวณนั้น โดยผู้ตายเดินลงบันได เพื่อไปปล่อยปลา นั้น ได้เป็นเป็นลมวูบเสียชีวิตเป็นปริศนา

# สาเหตุการตาย # โดยกลุ่มงานพิษวิทยา สถาบันนิติเวชวิทยา รพ.ตำรวจ นั้น การตรวจพิสูจน์ศพ “ผู้ตาย” พบสารคัดหลั่งจากศพของ น.ส.ศิริพร ผู้ตาย พบสารพิษไซยาไนด์ ในเลือด

ต่อมาวันที่ 24 เม.ย. 2566 มารดาผู้ตายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน กก.5 บก.ป.ให้ดำเนินคดีผู้ต้องหา ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น และเชื่อว่า” ผู้ต้องหาเป็นผู้นำสารพิษไซยาไนด์ “ ใส่ในอาหารให้ผู้ตายบริโภคช่วงเวลาที่ผู้ต้องหาอยู่กับผู้ตาย ในระหว่างที่ผู้ตายและผู้ต้องหาอยู่ในรถ โดยมีเจตนาฆ่า นั้น

พนักงานสอบสวนได้รวบพยานหลักฐานพบ ในที่เกิดเหตุ มีกล้องวงจรปิด บันทึกภาพไว้ เป็นพยานหลักฐานว่า เมื่อผู้ต้องหาเห็นว่าผู้ตายกำลังหมดสติ จึงเดินลงบันไดไป จากนั้นก็เดินกลับขึ้นมาเพียงคนเดียว โดยไม่ได้เข้าไปช่วยเหลือผู้ตาย

โดยภายในมือของผู้ต้องหาได้เอาโทรศัพท์มือถือของผู้ตายบางส่วนมาด้วยหลายเครื่อง แล้วขับรถยนต์ออกจากที่เกิดเหตุไป ปล่อยให้ผู้ตายนอนหมดสติอยู่ในที่เกิดเหตุ โดยผู้ต้องหาไม่ให้ความช่วยเหลือใดๆ จนผู้ตายถึงแก่ความตาย

นอกจากนี้ยังพบว่า หลังเกิดเหตุเมื่อวันที่ 16 เม.ย. 2566 ผู้ต้องหาได้นำถุงดำ ซึ่งภายในมีกระปุกใส่ Potassium Cyanide [โพแทสเซียมไซยาไนด์ สารพิษ] พร้อมกับสิ่งของอื่นๆ กรอบป้ายทะเบียน บัตรเอทีเอ็ม และเอกสารการเสียชีวิต

ของนายสุทธิศักดิ์ หรือ แด้ พูนขวัญ แฟนของผู้ต้องหาที่เสียชีวิต เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2566 ในท้องที่ อ.เมือง จ.อุดรธานี

โดยผู้ต้องหานำถุงดำไปฝากไว้กับผู้อื่น เพื่อให้เอาไปซุกซ่อนและเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถตรวจยึดไซยาไนด์ และสิ่งของอื่นๆ ได้ในเวลาต่อมา ตามข่าว ยังพบว่า ผู้ต้องหานี้ สั่งไซยาไนด์ทางออนไลน์ เตรียมสอบสองบริษัทขนส่งนำจ่ายพัสดุ

พนักงานสอบสวนจึงรวบรวมพยานหลักฐานของอำนาจศาลอาญาอนุมัติหมายจับที่ 1285/2566 ลงวันที่ 25 มิ.ย. 2566 ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4)

จับกุมตัวผู้ต้องหา ได้ที่อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ ชั้นสอบสวนผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา นั้น

“ พบว่าผู้ต้องหาตั้งครรใกล้คลอด เป็นภาพสะท้อนสังคมว่า หากเด็กในครรภ์อยู่รอดเป็นทารก จะได้รับผลกระทบจากการที่แม่เป็นผู้ต้องขัง เมื่อแม่ไม่อยู่กับลูก แต่มาอยู่ในคุก ผลที่เกิดกับเด็กและคนรอบข้างมีอะไรบ้าง

เราสามารถพูดได้ไหมว่า กระบวนการยุติธรรมไทยไม่ได้คำนึงถึงเหยื่อที่มองไม่เห็นอย่างรอบด้านพอ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention of the Rights of the Child) อ้างอิง คือจะพูดเรื่องสิทธิและประโยชน์สูงสุดของเด็ก หากรัฐจะให้เด็กเข้ามาอยู่ในเรือนจำ อย่างน้อยรัฐต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน เช่น สถานที่ การดูแลสุขภาพเด็ก

ที่พนักงานนอบสวน เราสามารถพูดได้ไหมว่า กระบวนการยุติธรรมไทยไม่ได้คำนึงถึงเหยื่อที่มองไม่เห็นอย่างรอบด้าน

ที่พนักงานสอบสวน คัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหา นั้น
(1) เนื่องจากผู้ต้องหามีอดีตสามีเป็นข้าราชการตำรวจ เกรงว่า จะไปข่มขู่พยาน และยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน

(2) ทั้งหลังเกิดเหตุผู้ต้องหาไปรื้อค้นบ้านพักของนายฐิติพงศ์ ตนายะพันธ์ เพื่อค้นหาพยานหลักฐานสำคัญไปทำลาย

(3)ประกอบกับมีบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องและใกล้ชิดกับผู้ต้องหาเสียชีวิตในลักษณะเดียวกันกับพฤติการณ์ในคดีนี้อีกจำนวน 9 ราย

(4) แต่ละคดีมีอัตราโทษสูง หากผู้ต้องหาได้รับการประกันตัว อาจจะหลบหนี ยากแก่การติดตามตัวมาดำเนินคดีในภายหลัง และอาจไปยุ่งเหยิงทำลายพยานหลักฐานในคดีนี้และคดีอื่น ที่อยู่ระหว่างการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ นั้น

ตามคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหา เป็นเพียงพยานบอกเล่า จาก สถาบันนิติเวชวิทยา รพ.ตำรวจ โดยกลุ่มงานพิษวิทยา ที่ พบสารไซยาไนด์ ในเลือด ปริมาณที่เป็นสาเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ชึ่งตรวจพบจาก การตรวจพิสูจน์สารคัดหลั่งจากศพของ น.ส.ศิริพร ผู้ตาย และบุคคลใกล้ชิดตายในลักษณะเดียวกัน

# สาเหตุการตาย #

ตำรวจสันนิษฐานว่า ขณะที่ผู้ตายกับผู้ต้องหาอยู่ในรถ นั้น ผู้ต้องหาใส่สารพิษลงในเครื่องดืม เป็นพยานหลักฐานสำคัญ ที่จะนำไปพิสูจน์ ความผิดของ ผู้ต้องหา ตามข่าว

ในชั้นสอบสวนตำรวจ ไม่มีประจักษฟ์พยาน หรือพยานบุคคล รู้เห็น
การกระทำผิดของผู้ต้องหา ได้อย่างแน่ชัดว่า ผู้ตายเสียชีวิตลงจากวัตถุออกฤทธิ์ แต่ทนายผู้ต้องหามีภาพวงจรปิดว่า ขณะเกิดเหตุผู้ตายไปซื้อน้ำดืมกินเอง “ในคดีที่ตำรวจกล่าวหาผู้ต้องหาในคดีนี้ “ยังมีเหตุสงสัยตามสมควรว่่า ผู้ต้องหา เป็นผู้กระทำความผิดหรือไม

นอกจากนี้ ตำรวจมีพยานแวดล้อม ที่พบคือขวดชายาไน้ด และพยานหลักฐานอื่น ที่ตรวจพบ หลังเกิดเหตุ ตามข่าว คงมีแต่ภาพวงจรปิด ที่ผู้ตายไปกับผู้ต้องหาในวันเกิดเหตุ

ถ้าคำให้การของพยานผู้เชี่ยวชาญ “ขัดแย้งกันเกี่ยวกับสาเหตุการเสียชีวิต…ก็ยังไม่อาจรับฟังเป็นโทษแก่จำเลยได้ ……จึงเป็นกรณีศึกษา

“ที่นี้เรามาดูข้อกฏหมาย”กันว่า”ค่ามาตรฐานในร่างกาย การตรวจระดับไซยาไนด์ในเลือดและปัสสาวะของผู้ต้องหานั้น มีประโยชน์ต่อคดีหรือไม่

เพราะเหตุใด จากการค้นคว้า ไซยาไนด์ในเลือดนั้นมีทุกคนในร่างกาย จึงไม่มีประโยชน์ ต่อรูปคดีเลย ส่วนใหญ่จะพบสารดังกล่าวนี้มากในคนงาน ที่ได้ดูสารพิษจากควันหรือ ทางอากาศ หายใจ ที่มีการเผา หรือฝุ่น ที่มีสารพิษปะปน

จึงได้มีการตรากฏหมาย “กฎหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของไทยขึ้น ตามมติคณะรัฐมนตรี.

อีกทั้ง แหล่งของไซยาไนด์ในธรรมชาติได้จากสารอะมิกดาลิน (Amygdalin) ซึ่งพบได้ในเมล็ดของแอพพริคอท (Apricot) และเชอรรี่ดำ (Black cherry) และสารลินามาริน (Linamarin) ซึ่งพบได้ในหัวและใบของมันสำปะหลัง (Cassava) ในประเทศไทยพบมีรายงานพิษไซยาไนด์เนื่องจากการกินมันสำปะหลังได้บ้างพอสมควร และบางรายถึงกับทำให้เสียชีวิตได้

# ที่น่าเป็นห่วง คือ ตามข่าวและกระสังคม ระบุว่า “หลักฐานทางวิทยาศาสตร์นั้น ไม่เคยโกหกใคร#ก็จริงอยู่ แม้จะเป็นข้อบ่งชี้ตามหลักวิชาการ ก็ตาม

ปัจจุบันจึงยังไม่มีองค์กรที่น่าเชื่อถือองค์กรใด รวมถึงองค์กร ACGIH กำหนดค่ามาตรฐานในร่างกายคนทำงานสำหรับสารนี้ไว้ #

แม้ หลังเกิดเหตุเมื่อวันที่ 16 เม.ย. 2566 ผู้ต้องหาได้นำถุงดำ ซึ่งภายในมีกระปุกใส่ Potassium Cyanide [โพแทสเซียมไซยาไนด์ สารพิษ] พร้อมกับสิ่งของอื่นๆ กรอบป้ายทะเบียน บัตรเอทีเอ็ม และเอกสารการเสียชีวิตของนายสุทธิศักดิ์ หรือ แด้ พูนขวัญ แฟนของผู้ต้องหาที่เสียชีวิต เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2566 ในท้องที่ อ.เมือง จ.อุดรธานี

และหรือ เพื่อนผู้ต้องหาทุกคนจะตายในลักษณะเดียวกัน “ สาเหตุการตายแต่ละคดี”ที่มีเหตุสงสัยว่าผู้ต้องหานี้ จะกระทำความผิด นั้น ทายาทไม่ติดใจการตาย และได้ทำพิธีการทางศาสนาไปแล้ว แม้ตำรวจจะใอ้างว่า ไม่เป็นอุปสักต่อการสอบสวน

ตำรวจต้องมีหลักฐานที่มั่งคง ที่จะเอาผิดแก่ผู้ต้องหานี้ได้ “มูลเหตุจูงใจ”คือปัจจัยสำคัญ” ที่จะนำไปสู่การกระทำผิด ทำไปเพื่ออะไร

# คดีที่ตำรวจ กล่าวหาผู้ต้องหานี้ เป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง # มีกฏหมายรองรับว่า พยานหลักฐานที่ตำรวจสอบสวนมาสู่ศาล จะต้องเป็นที่พอใจแก่ศาลว่า ผู้ต้องหากระทำผิดจริง โดยปราศจากข้อระแวงสัยสัย จึงจะลงโทษได้

ตามข่าว อ้างว่า “ ผู้ต้องหาหวังในทรัพย์สินผู้ตาย” ก็ดี หรือฆ่า”ล้างหนี้”ก็ดี และ ถ้าไม่ฆ่า ผู้ต้องหาจะได้รับผลร้ายอย่างไร เป็นเหตุเชื่อมโยง ในการกระทำผิดของผู้ต้องหา

ตำรวจจะต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ และแสวงหาพยานหลักฐาน ให้ได้ความตามคำคัดค้าน “ลำพังตามพฤติการณ์แห่งคดีตามคำร้องขอฝากขัง” และคำคัดค้านประกันตัวของตำรวจ นั้น ยังไม่ใช่ข้อบ่งชี้ ว่า ผู้ต้องหา เป็นผู้กระทำความผิด

ดคีเป็นที่ประชาชนให้ความสนใจ พฤติการณ์แห่งคดีตามข่าวเป็นคดีอุทฉกรรจ์ เป็นการกระทำให้เหยือได้รับความทุกข์ทรมานก่อนตาย

กระแสสังคม และข่าว”เชื่อว่า ผู้ต้องหาเป็นคนร้าย ได้พิพากษา “แอม ชายาไนด์ไปแล้ว โดย เหตุการตายของ บุคคลใกล้ชิด “ผู้ต้องหา” มีลักษณะการตายคล้ายกัน ข่าวเค้าว่า มีถึง 17 ราย
แต่รอดเพียงรายเดียว ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานของตำรวจ ที่ได้จากการสอบสวน

แม้ผู้ต้องหา และทนายผู้ต้องหา จะพิสูจน์ได้ภายหลังว่า ไม่ได้ผิดฐานฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนก็ตาม แต่อาจผิดกฏหมายอื่นได้

ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม