ข่าวประจำวัน » #จี้วรรคสองของมาตรา 35 !!ในร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช ต้องตัดทิ้ง

#จี้วรรคสองของมาตรา 35 !!ในร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช ต้องตัดทิ้ง

10 October 2017
362   0

“ทั้งนี้กลุ่มพืชดั้งเดิม กรณีมีนักปรับปรุงพันธุ์พิเศษขึ้นมาลักษณะดีเด่น จะเป็นผู้ทรงสิทธิ มาขอรับการจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชจากรม โดยมีการปิดฉลากชัดเจน ว่าเป็นพันธุ์พืชคุ้มครอง”……..
“ถ้าประชาชน เกษตรกร ไปซื้อมาปลูกบนที่ตนเอง ซื้อมา 2 ซอง เช่น ถั่วฝักยาว ปลูก 10 แถว ไปขายเป็นฝัก 9 แถว อีก 1 แถว อยากเก็บไว้เพื่อปลูกรุ่นต่อไปในพื้นที่ตนเองไม่ผิดกฎหมาย ทั้งฉบับเดิมและใหม่ ดังที่เกษตรกรส่วนใหญ่มีความเข้าใจ”

นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร : 9 ตุลาคม 60
https://www.dailynews.co.th/politics/603294

แล้วเขียนวรรคสองในมาตรา ๓๕ ไว้ทำไม?

มาตรา ๓๕
………… เพื่อประโยชน์ในการเพาะปลูกหรือขยายพันธุ์สำหรับพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับความคุ้มครองเกษตรกรมีสิทธิในการใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ตนเองเป็นผู้ผลิตในพื้นที่ของตนเอง
………… เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการปรับปรุงพันธุ์รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชมีอำนาจออกประกาศกำหนดพันธุ์พืชใหม่ชนิดใดเป็นพันธุ์พืชที่สามารถจำกัดปริมาณการเพาะปลูกหรือการขยายพันธุ์ทั้งหมดหรือบางส่วนของเกษตรกรได้

ในวรรคสอง….. ต่อให้เรามีรัฐมนตรีที่ห่วงใยประชาชนที่สุดในโลก หาก “คณะกรรมการพิจารณาคุ้มครองพันธุ์พืช” บอกว่าห้ามเกษตรกรนำเมล็ดชนิดใดชนิดหนึ่งไปปลูกต่อ รัฐมนตรีก็ไม่มีอำนาจขัดขืน

และองค์ประกอบของความบัดซบในมาตรา ๓๕ วรรคสอง ก็คือ
ตามกฎหมายเดิม “คณะกรรมการพิจารณาคุ้มครองพันธุ์พืช” มีที่มาจากการตั้งคณะกรรมการสรรหา แต่มาตรา ๖ ในร่างกฎหมายใหม่กำหนดให้มาจากการแต่งตั้ง (อยากจะให้ใครเป็นชี้เอาได้เลย)

ถ้าคนที่มีอำนาจหน้าที่ในการ “ชี้เอาได้เลย” เป็นทาสในเรือนเบี้ย”ของกลุ่มทุน….. เสร็จโจร

ที่มา : เพจVikij Penphakhttps://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1989754047961598&id=100007810651819
ศุภกิจ โพธิผล
สำนักข่าววิหคนิวส์