ข่าวประจำวัน » เด็กลุงเปิดหน้า !! เรืองไกร ยื่นเอาผิดพีระพันธ์ ถือหุ้น 3 บริษัทต้องพ้นรมต. หลังสนธิญายื่นแล้ว

เด็กลุงเปิดหน้า !! เรืองไกร ยื่นเอาผิดพีระพันธ์ ถือหุ้น 3 บริษัทต้องพ้นรมต. หลังสนธิญายื่นแล้ว

5 May 2025
7   0

.

5 พฤษภาคม 2568 นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกวุฒิสภา ส่งคำร้องทางไปรษณีย์ถึงประธานกรรมการ กกต. ขอให้ตรวจสอบนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ว่า ความเป็นรัฐมนตรีมีเหตุสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา170 (5) ประกอบมาตรา 187 วรรคหนึ่ง เพราะในระหว่างเป็นรัฐมนตรียังคงเป็นกรรมการอยู่ใน 3 บริษัท จึงอาจเข้าข่ายการเป็นลูกจ้างของบุคคลใด ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา 187 วรรคหนึ่ง หรือไม่ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1.รัฐธรรมนูญ มาตรา 170 (5) และ มาตรา 187 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่ามาตรา 170 ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ(5) กระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 186 หรือมาตรา 187″

“มาตรา 187 รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือ บริษัทหรือไม่ คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อไปตามจำนวนที่ กฎหมายบัญญัติ และต้องไม่เป็นลูกลูกจ้างของบุคคลใด”

ข้อ 2. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2567 มาจนถึงปัจจุบัน ในรัฐบาลที่มีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี

ข้อ 3. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2567 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ทำสัญญาจัดการหุ้นส่วนหรือหุ้นของรัฐมนตรี ไว้กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด(มหาชน) รวมจำนวน 4 บริษัท คือ หุ้นบริษัทวีพี แอโร่เทค จำกัด จำนวน 588,500 หุ้น

หุ้นบริษัท พี แอนด์ เอส แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด จำนวน 46,500 หุ้น หุ้นบริษัท รฟิโสภาค จำกัด จำนวน 22,000 หุ้น หันบริษัท โสภา คอลเล็คชั่นส์ จำกัด จำนวนวน 1,000 หุ้น

ข้อ 4. เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2568 จากการขอข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่านายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ในช่วงระหว่างดำรงตำแหน่ง เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังคงเป็นกรรมการอยู่ 3 บริษัท ก่อนที่จะมีการลาออกในภายหลัง จำนวน 2 บริษัท ดังนี้

– เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2567 บริษัท โสภา คอลเล็คชั่นส์ จำกัด ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนว่า มีกรรมการออก 2 คน คือ (1) นายพีระพันธุ์ สาลีรัวิภาค (2) นางสาว…

– เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2567 บริษัท วีพี แอโร่เทค จำกัด ได้ยื่นคำขอจจจดทะเบียนว่า มีกรรมการออก 3 คน คือ (1) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (2) นางสาว… (3) นางสาว…  (โดยมีข้อสังเกตว่า นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นผู้ลงลายมือชื่อในฐานะกรรมการผู้ขอจดทะเบียนตามแบบ บอจ.1 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 และมีแบบ บอจ.4 แนบด้วย)

– เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2568 กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ออกหนังสือรับรองว่าบริษัท รพีโสภาค จำกัด ยังมีกรรมการอยู่ 2 คน คือ (1) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (2)

นางโสภาพรรณ สาลีรัฐวิภาค โดยระบุว่า จำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้คือ กรรมการหนึ่งคนลงลายมือชื่อ และประทับตราสำคัญของบริษัท

ข้อ 5. จากเอกสารของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อาจเห็นได้ว่า หลังจากที่นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2567 นั้น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ยังคงเป็นกรรมการบริษัททั้ง 3 แห่งอยู่ หลังจากเป็นรัฐมนตรีแล้ว ทั้งนี้เห็นได้จากการจดแจ้งชื่อนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ออกจากกรรมการบริษัท โสภา คอลเล็คชั่นส์ จำกัด และบริษัท วีพี แอโร่เทค จำกัด ตามคำขอลงวันที่ 30 ต.ค. 2567 และตามหนังสือรับรองของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2568 ก็ยังรับรองว่า บริษัท รพีโสภาค จำกัด ยังคงมีกรรมการอยู่ 2 คน คือ (1) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (2) นางโสภาพรรณ สาลีรัฐวิภาค

ข้อ 6. จากการย้อนไปดูบัญชีทรัพย์สินฯของนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. กรณีเข้ารับตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2562 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ได้แจ้งว่า มารดาชื่อ นางโสภาพรรณ สาลีรัฐวิภาค โดยไม่ได้ระบุอายุ ไม่ได้ระบุอาชีพ และทำเครื่องหมายขีดไว้ในช่อง ตาย ไว้ด้วย แต่ตามหนังสือรับรองของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2568 ยังปรากฏชื่อนางโสภาพรรณ สาลีรัฐวิภาค เป็นกรรมการของบริษัท รพีโสภาค จำกัด อยู่ด้วย จึงมีเหตุอันควรสงสัย และควรตรวจสอบเพิ่มเติมว่า นางโสภาพรรณ สาลีรัฐวิภาค ที่เคยแจ้งว่าตายแล้ว กับนางโสภาพรรณ สาลีรัฐวิภาค ที่เป็นกรรมการของบริษัท รพีโสภาค จำกัด อยู่เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2568 เป็นบุคคลเดียวกันหรือไม่

ข้อ 7. จากข้อเท็จจริงที่กล่าวมาข้างต้น ประกอบกับเอกสารจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและ จาก ป.ป.ช. จึงมีเหตุอันควรขอให้ กกต. ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยและมีคำพิพากษาว่า กรณีที่นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เคยเป็นหรือยังคงเป็นกรรมการทั้ง 3 บริษัทข้างต้น ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หลังจากวันที่ 3 กันยายน 2567 นั้น จะเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาดรา 187 และเป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 หรือไม่

ข้อ 8. ทั้งนี้ ขอให้นำข้อมูลการลาออกจากกรรมการบริษัทต่าง ๆ ของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2567 ที่ได้แจ้งต่อ ป.ป.ช. ก่อนเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2567 ประกอบกับหนังสือที่ นร 0503/ว(ร)157 ลงวันที่ 5 เมษายน 2560 มาประกอบการพิจารณาด้วย

จึงเรียนมาเพื่อขอให้ กกต. ตรวจสอบนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ว่าความเป็นรัฐมนตรีมีเหตุสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 (5) ประกอบมาตรา 187 วรรคหนึ่ง เพราะในระหว่างเป็นรัฐมนตรียังคงเป็นกรรมการอยู่ใน 3 บริษัท จึงอาจเข้าข่ายการเป็นลูกจ้างของบุคคลใด ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา 187 วรรคหนึ่ง หรือไม่