เปิดชื่อครม.เศรษฐา–รมต.แพทองธาร สส.-สว.เสี่ยงโดนตัดสิทธิลต.-ชดใช้เงินคืนดิจิทัลวอลเลต
“…ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีการกระทำที่ฝ่าฝืนให้การเสนอ การแปรญัตติ หรือการกระทำดังกล่าวเป็นอันสิ้นผล ถ้าผู้กระทำการดังกล่าวเป็น สส. หรือ สว. ให้ผู้กระทำการนั้นสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง แต่ในกรณีที่ครม.เป็นผู้กระทำหรืออนุมัติให้การกระทำหรือรู้ว่ามีการกระทำดังกล่าวแต่มิได้สั่งหรือยับยั้ง ให้ครม.พันจากตำแหน่งทั้งคณะนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้อยู่ในที่ประชุมในขณะที่มีมติ และให้ผู้กระทำการดังกล่าวต้องรับผิดชดใช้เงินนั้นคืนพร้อมดอกเบี้ย…”
สืบเนื่องจากกรณีเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2568 ที่ผ่านมา คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติรับเรื่องกรณีกล่าวหา กรณี นางสาว แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี (ครม.) คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) สมาชิกวุฒิสภา (สว.) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดทำ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 กรณีการร่วมกันเสนอขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงรายจ่ายงบประมาณสำหรับ ‘ใช้หนี้’’ ของรัฐวิสาหกิจ 5 แห่ง จำนวน 3.5 หมื่นล้านบาท และนำไปเพิ่มเป็นงบประมาณรายจ่ายตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 รายจ่ายงบกลาง (5) ค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ (Digital Wallet) จำนวน 3.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งอาจเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
บุคคลในรัฐบาลที่เคยร่วมหัวจมท้ายจัดทำร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 2568 ออกมาให้สัมภาษณ์และมีท่าทีไม่ตื่นตกใจมากนัก อาทิ นายนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นรมว.คลังในสมัยรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และยังเป็นประธานกมธ.วิสามัญฯ พิจารณางบร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 68 กล่าวว่า ได้รับทราบจากข้างนอกแล้ว แต่ได้รับฟังความเห็นส่วนใหญ่แล้วไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
เมื่อถามว่า คำร้องระบุว่า ครม.ไปปรับลดงบประมาณในส่วนของรายจ่ายต้นเงินกู้และดอกเบี้ย รวมถึงรายจ่ายตามข้อผูกพันที่กำหนดให้จ่ายตามกฎหมาย โดยนำเงินไปใช้ในโครงการแจกเงิน 10,000 บาท ตามนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต อาจจะขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 นายพิชัยกล่าวว่า
“ไม่ได้ตัด ๆ เราไม่ได้ตัด เราตัดที่ไหน เหมือนเดิม ไม่ได้ตัดเลย ถ้าเป็นเงินตรงนั้นไม่ได้ตัดแน่นอน”นายพิชัยกล่าว
เมื่อถามว่า เป็นการไปปรับลดงบประมาณที่ต้องชดเชยเพื่อใช้หนี้ธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นายพิชัยกล่าวว่า ในส่วนนั้น ไม่ใช่เงินต้น ไม่ใช่ดอกเบี้ยตามคำนิยาม
เช่นเดียวกับแหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลในครม. เปิดเผยสำนักข่าวอิศราว่า ไม่กังวล เพราะข้อกล่าวหาที่ว่ารัฐบาลไปปรับลดงบชำระหนี้เพื่อไปนำใช้ในโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ตนั้น
“รายการที่ปรับลดเพื่อโยกไปใส่งบดิจิทัลวอลเล็ต ไม่ใช่รายการเงินต้น ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมตามคำนิยามตามมาตรา 144 ของรัฐธรรมนูญ”แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวย้ำพร้อมกับอธิบายเพิ่มเติมว่า งบที่ปรับลด คือ งบชำระหนี้ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน เป็นเงินตามมาตรา 28 ของพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ดังนั้นจึงคนละคำจัดกับความ (definition) กันกับมาตรา 144 ของรัฐธรรมนูญ”แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวทิ้งท้ายว่า ภาษาสำนักงบประมาณเรียกว่า เป็น งบประมาณค้างจ่าย ตามมาตรา 28 ของพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ ไม่ใช่รายการเงินต้น ดอบเบี้ย
สอดคล้องกับ นางสาวศิริกัญญา ตันกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ให้สัมภาษณ์ว่า ตามข้อกฎหมายอาจจะไม่ได้เข้ารัฐธรรมนูญ มาตรา 144 เพราะส่วนที่เกี่ยวกับ มาตรา 144 แล้วตัดลดไม่ได้ อยู่ในแผนงานชำระหนี้ ซึ่งแผนงานชำระหนี้ไม่โดนปรับลด แต่ในส่วนที่โดนปรับลดอยู่ในแผนงานยุทธศาสตร์ เป็นการใช้หนี้เหมือนกันแต่อยู่คนละแผน จึงไม่เรียกว่าเป็นงบชำระหนี้
“แต่ยังไม่รู้ว่า หาก ป.ป.ช.สอบออกมาแล้ว แล้วบอกว่า ผิด อันนี้ ดิฉันคิดว่า อาจจะเป็นนิติสงคราม ต้องรอผลสอบของ ป.ป.ช.อีกทีหนึ่ง”นางสาวศิริกัญญากล่าว
ดังนั้น หาก ป.ป.ช.ไม่ได้ตีความข้อกฎหมายเหมือนกับทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านมองตรงกัน และตีความว่า เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 ใครไม่อยู่ในห้องประชุมครม.จะรอดหรือไม่ – ครม.แพทองธารจะไม่ร่วงทั้งหมดหรือเปล่า เนื่องจากครม.เศรษฐา เป็นคนจัดทำร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 68 ยังต้องลุ้นจนกว่า ป.ป.ช.จะมีมติแจ้งข้อกล่าวหา-ชี้มูลความผิด
ในช่วงที่รอ-ลุ้นป.ป.ช.ชี้ขาด สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้ตรวจสอบรายชื่อรัฐมนตรีในครม.ยุครัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งทั้งครม.เศรษฐา และครม.แพทองธาร รวมถึงรายชื่อคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ว่ามีใครบ้าง ดังนี้
@ 6 รองนายกฯ – 29 รัฐมนตรี ‘ยุครัฐบาลเศรษฐา’
โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต คนละ 10,000 บาท เป็น นโยบายหาเสียงของรัฐบาล ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย เมื่อปี 66 เป็น ‘นโยบายเรือธง’ ของ ครม.เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี
1.นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
2.นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
3.นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
4.นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
5.พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6.นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
7.นายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
8.นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
9.นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
10.นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
11.นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
12.นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
13.นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
14.นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
15.นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
16.ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
17.นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
18.นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
19.นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
20.นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
21.นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
22.นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
23.นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
24.นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
25.นายเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
26.พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
27.นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
28.นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
29.พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
30.นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
31.นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
32.นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
33.นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
34.นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
35.นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
@ รัฐมนตรี ‘ยุคเศรษฐา’ ถึง ‘ครม.แพทองธาร’
ส่วนรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ยุครัฐบาลเศรษฐา ต่อเนื่องมาถึงครม.นางสาว แพทองธาร ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในตำแหน่งหน้าที่เดิม นโยบายแจกเงินผ่านตามาจนถึงปัจจุบัน-วันที่ชะลอโครงการ
1.นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
2.นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
3.นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
4.นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
5.นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
6.นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
7.นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
8.นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
9.นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
10.นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
11.นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
12.นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
13.นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
14.นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
15.นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
16.นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
17.นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
18.พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
19.นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
20.นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
21.พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
22.นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
23.นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
@ 72 กมธ.วิสามัญฯงบปี 68
ขณะที่คณะกมธ.วิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 72 คน จากทุกพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นพรรครัฐบาล หรือ พรรคฝ่ายค้าน ต่างมีส่วนร่วมกับการปรับลดงบประมาณเพื่อมาใช้ในนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต
ประธานและรองประธานกมธ. ประกอบด้วย 1.นายพิชัย ชุณหวชิร ประธานกมธ. 2.นายจักรพงษ์ แสงมณี รองประธานกมธ. คนที่หนึ่ง 3.นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รองประธานกมธ. คนที่สอง 4.นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รองประธานกมธ. คนที่สาม 5.นายวราเทพ รัตนากร รองประธานกมธ. คนที่สี่ 6.นางมนพร เจริญศรี รองประธานกมธ. คนที่ห้า 7.นายพงศกร อรรณนพพร รองประธานกมธ. คนที่หก 8.นางพิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ รองประธานกมธ. คนที่เจ็ด 9.นายเอกราช ช่างเหลา รองประธานกมธ. คนที่แปด 10.รองประธานกมธ. คนที่เก้า
11.นายพัฒนา สัพโส รองประธานกมธ. คนที่สิบ 12.นายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานกมธ. คนที่สิบเอ็ด 13.นายสราวุฒิ เนื่องจำนงค์ รองประธานกมธ. คนที่สิบสอง 14.นายซูการ์โน มะทา รองประธานกมธ. คนที่สิบสาม 15.นายอนุรักษ์ จุรีมาศ รองประธานกมธ. คนที่สิบสี่ 16.นายวารุจ ศิริวัฒน์ รองประธานกมธ. คนที่สิบห้า 17.นายพิทักษ์เดช เดชเดโช รองประธานกมธ. คนที่สิบหก 18.นายวุฒิพงษ์ นามบุตร รองประธานกมธ. คนที่สิบเจ็ด 19.นางนันทนา สงฆ์ประชา รองประธานกมธ. คนที่สิบแปด
กมธ.และที่ปรึกษากมธ. ประกอบด้วย 1.นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล 2.นายธเนศ เครือรัตน์ 3.นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู
โฆษกกมธ. ประกอบด้วย 1.นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด 2.นายพลพีร์ สุวรรณฉวี 3.นางสาวผกามาศ เจริญพันธ์ 4.นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ 5.นายวิชัย สุดสวาสดิ์ 6.นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ 7.นายวัชระพล ขาวขำ
เลขานุการกมธ. จำนวน 8 คน ประกอบด้วย 1.นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ 2.นายสุรเกียรติ เทียนทอง 3.นายอาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ 4.นายพชร จันทรรวงทอง 5.นายวิริยะ ทองผา 6.นางสาวกุลวลี นพอมรบดี 7.นายวรวงศ์ วรปัญญา 8.นางสาวธัญธารีย์ สันตพันธุ์
กมธ.จำนวน 35 คน ได้แก่ 1.นายกิตติชัย เอ่งฉ้วน 2.นายจิรวุฒิ สิงโตทอง 3.นายเฉลิมพล เพ็ญสูตร 4.นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ 5.นายณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ 6.นายทรงยศ รามสูต 7.นายปรเมษฐ์ จินา 8.นายพงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ 9.นายพนม โพธิ์แก้ว 10.นางสาวพิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์
11.นางสาวภคมน หนุนอนันต์ 12.นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ 13.นางสาวรักชนก ศรีนอก 14.นายวรภพ วิริยะโรจน์ 15.นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ 16.นายวสวรรธน์ พวงพรศรี 17.นายวิจักขณ์ฤทธิ์ จิวจินดา 18.นายวิรัช พิมพะนิตย์ 19.นายวีระ ธีระภัทรานนท์ 20.นายวีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร
21.นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ 22.นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล 23.นายศุภโชติ ไชยสัจ 24.นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ 25.นายสหัสวัต คุ้มคง 26.นางสุขสมรวย วันทนียกุล 27.นางสาวสุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา 28.นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ 29.นายองอาจ วงษ์ประยูร 30.นายอดิพงษ์ ฐิติพิทยา 31.นายอนุรัตน์ ตันบรรจง 32.นายอลงกต มณีกาศ 33.นายอิทธิพล ชลธราศิริ 34.นายเอกราช อุดมอำนวย 35.นายโอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย
ทั้งนี้ ในการลงมติร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 มีเสียงเห็นชอบ 309 เสียง ไม่เห็นชอบ 155 เสียง เกือบทั้งหมดคือ พรรคประชาชน (ไม่เห็นด้วย 141 เสียง) งดออกเสียง 4 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง ส่วนในขั้นตอนของวุฒิสภา (สว.) มีผู้ลงมติเห็นด้วย 174 เสียง ไม่เห็นด้วย 3 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง
รัฐธรรมนูญ มาตรา 144 ระบุว่า หากคณะกรรมการ ป.ป.ช.เห็นว่ากรณีมีมูล ให้เสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อดำเนินการพิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับ
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีการกระทำที่ฝ่าฝืนให้การเสนอ การแปรญัตติ หรือการกระทำดังกล่าวเป็นอันสิ้นผล ถ้าผู้กระทำการดังกล่าวเป็น สส. หรือ สว. ให้ผู้กระทำการนั้นสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง แต่ในกรณีที่ครม.เป็นผู้กระทำหรืออนุมัติให้การกระทำหรือรู้ว่ามีการกระทำดังกล่าวแต่มิได้สั่งหรือยับยั้ง ให้ครม.พันจากตำแหน่งทั้งคณะนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้อยู่ในที่ประชุมในขณะที่มีมติ และให้ผู้กระทำการดังกล่าวต้องรับผิดชดใช้เงินนั้นคืนพร้อมดอกเบี้ย
เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดจัดทำโครงการหรืออนุมัติหรือจัดสรรเงินงบประมาณโดยรู้ว่า มีการดำเนินการอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติฯ ถ้าได้บันทึกข้อโต้แย้งไว้เป็นหนังสือหรือมีหนังสือแจ้งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทราบ ให้พ้นจากความรับผิด