ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #ไม่ต้องคืนเบี้ยคนชรา ! ดร.สุกิจ ฟันธง ทนายต้องดูให้ดี

#ไม่ต้องคืนเบี้ยคนชรา ! ดร.สุกิจ ฟันธง ทนายต้องดูให้ดี

1 February 2021
597   0

ดร.สุกิจ พูลศรีเกษม ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ได้โพสข้อความระบุว่า

ปัญหา เบี้ยคนชรา จ่ายโดยผิดหลง นักกฏหมายออกมาให้ข่าวว่าไม่ต้องคืนนั่น

_______\\\\\\\\__________
ศึกษา กรณี นางประจวบ ผะดาวัลย์ โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม นักวิชาการด้านกฏหมาย

ข่าวกรณี นางประจวบ ผะดาวัลย์ อายุ 73 ปี ผู้สูงอายุชราภาพ ซึ่งเป็นชาวบ้านในพื้นที่หมู่ 3 ตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ว่า ได้รับหนังสือขอเรียกคืนเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่จ่ายให้กับนางประจวบ ผู้เป็นแม่ ย้อนหลังตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2563 เป็นระยะเวลากว่า 11 ปี เป็นจำนวนเงิน 76,400 บาท และรวมดอกเบี้ยเป็นยอดจำนวน 77,737 บาทนั้น

นักกฏหมายมืออาชีพต่างออกมาให้ข่าวทางโชลเชียลว่า ไม่ต้องคืน มีคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาฎีกาที่10850/2559 จำเลยไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญตามกฎหมาย แต่โจทก์จ่ายเงินดังกล่าวให้จำเลยไปโดยผิดหลง จึงเป็นเงินที่จำเลยได้รับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และทำให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นลาภมิควรได้ หาใช่เป็นเงินที่โจทก์มีสิทธิติดตามเอาคืนได้อย่างเจ้าของทรัพย์สินไม่

ฎีกาฉบับนี้ ไม่สามารถใช้เป็นเป็นแนวทางได้. ถูกกลับ โดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2561) วินิจฉัยว่า โจทก์เบิกจ่ายเงินเบี้ยหวัดจ่ายให้แก่จำเลยโดยสำคัญผิดว่าจำเลยมีสิทธิได้รับการได้รับเงินเบี้ยหวัดของจำเลยไปจากโจทก์จึงเป็นการรับโดยไม่ชอบซึ่งไม่ใช่กรณีที่โจทก์เบิกจ่ายเงินเบี้ยหวัดแก่จำเลยเพื่อชำระหนี้

กรณีเป็นเรื่องจำเลยขอรับสวัสดิการจากหน่วยงานของรัฐจำเลยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางราชการ แม้เงินที่จำเลยจะได้รับไปจะเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แต่เมื่อเป็นการได้มาโดยไม่ชอบก็ไม่ใช่เรื่องลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406

โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินที่ส่งมอบให้จำเลยไปโดยสำคัญผิดย่อมมีสิทธิติดตามเอาเงินของโจทก์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ คำพิพากษาศาลฎีกา
ที่. 7894/2561

แต่ นางประจวบ ผะดาวัลย์ ไม่ต้องจ่ายคืนเพราะระเบียบกระทรวงมหาดไทย ฯ ข้อ 6(4) ขัดกับมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ 2546 ผู้สูงอายุสามารถรับทั้งเบี้ยยังชีพฯและบำนาญพิเศษไปพร้อมๆกันได้ หาใช่เป็นการจ่ายซ้ำซ้อนแต่อย่างใด….อยู่ที่คำให้การต่อสู้คดี
ของทนายความที่ต้องตั้งประเด็นต่อสู้คดีไว้ในคำให้การ

ดร.สุกิจ. พูนศรีเกษม