โครงการในพระราชดำริส่วนหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผ่านภาพน่ารักๆที่เราควรใช้เป็นภาพประกอบในการเล่าให้เด็กๆฟังถึงสิ่งที่ท่านสร้างไว้ให้เราชาวไทย
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือย่านบริเวณเทือกเขาภูพานทรงสังเกตว่า มีปริมาณเมฆมากปกคลุมเหนือพื้นที่ระหว่างเส้นทางบินแต่ไม่สามารถรวมตัวจนเกิดเป็นฝนตกได้ ทั้งที่เป็นช่วงฤดูฝน และทรงพบเห็นว่าหลายแห่งประสบปัญหา พื้นดินแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรมักประสบความเดือดร้อนจากภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง ในระยะวิกฤติของพืชผล ทำให้ผลผลิตต่ำหรืออาจไม่มีผลผลิตเลย ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลและทรงความอัจฉริยะของพระองค์ด้วย
คุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ ทรงสังเกตวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้นและได้มีพระราชดำริครั้งแรก ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ แก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ว่าจะทรงค้นหาวิธีการที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับจากธรรมชาติโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์กับทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดมีศักยภาพของการเป็นฝนให้ได้ “ฝนหลวง” หรือ “ฝนเทียม” จึงกำเนิดขึ้น
“หลักการแรก คือ ให้โปรยสารดูดซับความชื้น (เกลือทะเล) จากเครื่องบิน เพื่อดูดซับความชื้นในอากาศ แล้วใช้สารเย็นจัด (น้ำแข็งแห้ง) เพื่อให้ความชื้นกลั่นตัว และรวมตัวเป็นเมฆ” ..ความคิดเริ่มแรกในการดัดแปรสภาพอาอากาศเพื่อให้เกิดฝน
ปวงข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร หาที่สุดมิได้
NjoyMylife ตามรอยพ่อ(กปอ.29)
ขอบคุณผลงานน่ารักของ @HIPPO_DESIGN
สำนักข่าววิหคนิวส์