น้องเซม เซมรอมาถึงบ้านอยู่บ้านใกล้เข้ามาแล้ว สำหรับการก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย โดยระยะแรกช่วงกรุงเทพฯ-โคราช วงเงิน 179,413 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 ปี โดยรัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมด 100% ล่าสุด นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 การดำเนินการด้านก่อสร้างจะแบ่งเป็น 3 ช่วง ซึ่งครั้งนี้จะดำเนินการช่วงแรกระยะที่ 1 กรุงเทพฯโคราช, ระยะที่ 2 คือ โคราช-หนองคาย และระยะที่ 3 ช่วงแก่งคอย-มาบตาพุด โดยมีพื้นที่ที่ต้องเวนคืน 10-15% หรือ 2,815 ไร่ ประกอบด้วย ช่วงบางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา สระบุรี ปากช่อง นครราชสีมา เพื่อให้สามารถเดินรถได้ความเร็วที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ทั้งนี้ ในช่วงแรก จะเดินรถรวม 6 ขบวน สามารถบรรทุกได้ 600 คนต่อขบวน ขับเคลื่อนเส้นทางกรุงเทพฯโคราช โดยใช้ระยะเวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 17 นาที คาดว่าในปีแรกที่เปิดดำเนินการ หรือ ในปี 2564 จะมีผู้ใช้บริการทั้งสิ้น 5,300 คนต่อวัน หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของปัจจุบันที่มีผู้โดยสารเส้นทางดังกล่าว 20,000 คน และคาดว่าในอีก 30 ปีข้างหน้า หรือปี 2594 จะมีผู้ใช้บริการ 26,800 คน และมีขบวนรถทั้งสิ้น 26 ขบวน ปล่อยขบวนทุก 35 นาที
ส่วนอัตราค่าโดยสาร จะคิดเริ่มต้นที่ 80 บาทบวกเพิ่ม 1.8 บาทต่อกิโลเมตร เช่น กรุงเทพฯ-อยุธยา ค่าโดยสาร อยู่ที่ 278 บาท กรุงเทพฯ-ปากช่อง ค่าโดยสารอยู่ที่ 393 บาท กรุงเทพฯ-โคราช ค่าโดยสารอยู่ที่ 535 บาท ซึ่งเทียบเคียงกับค่าโดยสารในปัจจุบัน
สำหรับ”นครราชสีมา” หรือ “โคราช” นับเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากกรุงเทพมหานคร โดยในช่วง2-3ปีที่ผ่านมา “โคราช” มีการเติบโตแบบก้าวกระโดดเร็วมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเมืองโคราชเป็นเมืองหน้าด่านสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงเป็นเมืองอุตสาหกรรมและเมืองท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ทำให้มีการลงทุนใหม่ๆเกิดขึ้นในเมืองโคราชอย่างต่อเนื่อง โดยภาคเอกชนต่างเบนเข็มมาที่นี่ ทั้งโครงการจัดสรร ที่มีทั้งบ้านแนวราบและคอนโดมิเนียมทยอยเปิดตัวหลายโครงการ รวมถึงศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ทั้งห้างเดอะมอลล์ที่ขยายเฟส 2 ,ห้างเทอร์มินอล 21 ที่เพิ่งเปิดตัวไปได้ไม่นาน และห้างเซ็นทรัล ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง เตรียมจะเปิดตัวช่วงปลายปีนี้