เรื่องฮอต ประเด็นฮิต » เราจะสู้ไปด้วยกัน ! ดร.เทอดศักดิ์ ยัน จงเยียวยาให้ถึงขนาด

เราจะสู้ไปด้วยกัน ! ดร.เทอดศักดิ์ ยัน จงเยียวยาให้ถึงขนาด

13 April 2020
700   0

ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์ การเมือง การปกครอง ได้โพสข้อความระบุว่าสถานการณ์โดยรวมจนถึงวันนี้ ตามยุทธการ “ไวรัสพินาศ ประชาชนพ้นภัย” ได้ผลตามความคาดหมาย จนอารยะประเทศยกย่อง โดยเฉพาะองค์การอนามัยโลก WHO ที่มีหลักการบริหารปัจจัยภายนอก(การแพร่ระบาดนอกประเทศ) และปัจจัยภายใน(การแพร่ระบาดในประเทศ) ที่มีหลักป้องปราม เยียวยา และฟื้นฟู ผู้ได้รับผลกระทบทางตรง ทางอ้อม ในระยะ สั่น กลาง ยาว ปัจจุบันส่วนใหญ่ได้ดำเนินการไปแล้ว เหลือเพียงการปรับยุทธวิธีให้เข้ากับสถานการณ์บางส่วนเท่านั้น

ปัจจัยภายนอก การตัดสินใจนำคนไทยนับหมื่นคน ในประเทศที่กำลังเกิดการแพร่ระบาดอย่างหนัก เข้ามายังประเทศไทย โดยอ้างเรื่องสิทธิพลเมือง ไม่ให้สถานทูตประสานงานการกักตัวยังที่ๆเหมาะสมในต่างประเทศก่อนนำเข้ามายังไทย ก็ถือว่าเป็นดุลพินิจ แต่ขอย้ำอีกครั้งว่า การแพร่ระบาดระลอกใหม่ ที่จะเกิดขึ้น 16-25 เมษายน 2563 เป็นต้นไป ในเชิงสถิติจะหนักกว่าการแพร่ระบาดที่ผ่านมามากมายนัก

ที่ผ่านมาล่าสุดได้เคยเตือนเรื่อง ภัยธรรมชาติ ที่จะรุนแรง หลังวันที่ 8 เมษายน 2563 ก็เกิดปรากฎการณ์พายุถล่ม ลมแรง ลูกเห็บตกหนัก สร้างความเสียหายในหลายจังหวัด ในอินโดนีเซีย เกิดภูเขาไฟระเบิดและแผ่นดินไหวรุนแรง นั้นหมายถึง 16-25 เมษายน 2563 เป็นต้นไปในเชิงสถิติโอกาสจะเกิดการสูญเสียของคนจำนวนมาก คนมีชื่อเสียงจึงเกิดขึ้นสูงมาก

บทเรียนที่ผ่านมาที่เป็นต้นเหตุการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ภายในสนามมวย เพราะการตัดสินใจที่ผิดพลาดตามข้อเสนอของคณะหมอ ที่ไม่ยอมกักโรคผู้ป่วยที่มาจากต่างประเทศ ยกเลิกสถานกักโรคที่สัตหีบ เกรงจะเหมือนเรือไดม่อน ปรินส์เซส ในญี่ปุ่น ทำให้เกิดการแพร่ระบาดไปทั่วในระลอกแรกดั่งที่เคยเตือนไว้ เพราะสถานการณ์มันต่างกัน

ปัจจัยภายใน การเยียวยาที่คงค้าง ในส่วนประกันสังคมนั้น ที่จะเยียวยาให้ผู้ได้รับผลกระทบตามคำสั่งของรัฐในระยะแรก 5000 บาท ไม่เกิน 7500 บาทนั้น ล่าช้าจนเกินไปที่จะแจกจ่ายเข้าบัญชีลูกจ้าง ที่ได้รับผลกระทบตามคำสั่งของรัฐได้ในปลายเมษายน หรือ พฤษภาคม ควรเร่งให้ดำเนินการให้เร็วที่สุด

ในระลอก 2 ควรนำเงินกองทุนประกันสังคม ที่มีหลายกองทุนมากกว่า 2 ล้านๆบาท ที่ได้มาจากเงินสมทบของนายจ้างและลูกจ้าง ได้จ่ายเข้ากองทุนทุกเดือน ซึ่งผู้ทำประกันสังคม 5 ปี จะมีเงินสะสมในกองทุนประมาณ 45000 ต่อคน ในยามวิกฤติเช่นนี้ ควรอนุมัติเงินในกองทุน รายละ 2000-3000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน เป็นอย่างน้อย สำหรับพนักงานที่ได้รับผลกระทบทางอ้อม รวมทั้งผู้ประกันตน ที่มิได้รับเงินเยียวยาจากกระทรวงการคลังด้วย

ส่วนการศึกษานั้น เมื่อมีการเลื่อนการเรียนการสอนไป เปิดเทอม 1 กรกฎาคม หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรเปิดให้มีการเรียนการสอน แต่ การเรียนการสอนนั้น ให้ปรับในรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะโรงเรียนของรัฐบาล ให้ใช้การเรียนการสอนผ่านดาวเทียม และออนไลน์ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชินูประถัมป์ DDTV ซึ่งพระพุทธเจ้าหลวง ทรงได้จัดตั้งการเรียนการสอนระบบนี้ไว้แล้ว

โครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เริ่มในปี พ.ศ. 2538 เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูในท้องที่ชนบทห่างไกล และยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน โดยการถ่ายทอดสดจากโรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในรายการสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 6 ช่องสัญญาณ เป็นปฐมฤกษ์ในวันที่ 5 ธันวาคม 2538 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539 โดยพระองค์ได้พระราชทานทุนประเดิม 50 ล้านบาท ที่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยในขณะนั้น

ทูลเกล้า ฯ ถวายเพื่อตั้งมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานตราสัญลักษณ์เฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ 50 ปี ให้เป็นตราของมูลนิธิ ฯ เป็นการพระราชทานการศึกษาไปสู่ปวงชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม และได้มีการก่อตั้งมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมขึ้นในปี พ.ศ. 2539 และเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ได้ออกอากาศการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ในระยะแรก

เพียงแต่ให้กระทรวงศึกษา สั่งการ ทำความเข้าใจในยามนี้ และงดทำหนังสือจากกระดาษ ให้ทำ E-BOOK นำมาใช้ในการเรียนการสอน โรงเรียนไหนพร้อมสอนออนไลน์เอง ก็สามารถทำได้โดยตรง หากโรงเรียนไหนไม่พร้อมก็เรียนทางไกลของโครงการพระพุทธเจ้าหลวง โดยให้โรงเรียนจัดการสอบผ่านออนไลน์ก็เท่านั้นเอง เมื่อการเรียนการสอนถูกปรับในรูปแบบใหม่ โรงเรียน ไม่ต้องเสียค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าหนังสือ ค่ากิจกรรม เครื่องแต่งกาย ค่าบำรุง ฯลฯ จึงควรให้โรงเรียนของรัฐนำร่องลดค่าเรียน ค่าบำรุง และขอให้เอกชนให้การร่วมมือ เพื่อลดภาระผู้ปกครองในยามวิกฤติ ในเทอมแรก หรือเทอมต่อไป ตามสถานการณ์

การสนับสนุนนักเรียน ผู้ปกครอง ในยามวิกฤตินั้น ให้เพิ่มกองทุนเพื่อการศึกษา(กยส.) เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถกู้ยืมได้ในอัตราดอกเบี้ยถูกที่สุด ในการจัดซื้อเครื่องมือ การเรียนการสอน โดยให้มีการลงทะเบียนออนไลน์ อย่างเป็นระบบจะได้ลดการชุมนุมชน

ส่วนเงินเยียวยาเกษตรกร คนพิการ คนชรา นั้น ในเวลานี้ควรเร่งดำเนินการแจกจ่ายให้กับครอบครัวที่มีการลงทะเบียนไว้แล้วไปก่อน ค่อยมาดำเนินให้กับผู้ตกค้างที่กำลังเร่งทำเอกสารในลำดับต่อไป หากรอให้เสร็จพร้อมกันจะล่าช้าจนเกินไป

ด้านการลงทะเบียนเยียวยา 5000 บาท ที่ให้ประชาชนยื่นอุทธรณ์ ให้ลงทะเบียนใหม่ และปรับแก้ข้อมูลได้นั้น แล้วได้ทะยอยจ่ายเงินเยียวยาไปแล้วนั้น ถือว่าได้กระทำอย่างถูกต้องแล้ว เพราะทุกสาขาอาชีพต่างได้รับผลกระทบจากวิกฤติในครั้งนี้

สิ่งเหล่านี้คือหลักเชิงการบริหารชั้นสูง ในยามวิกฤติที่เรียกว่า “ยุทธศิลป์” ยุทธวิธีที่มีศิลปะ ที่คนไทยทุกคนจงภูมิใจว่า นี่คือหลักคิดทฤษฎีของคนไทย ที่เราคือผู้เริ่มต้น จนอารยะประเทศต่างยกย่อง นำไปใช้ในหลายประเทศ ในยามวิกฤติ

“…เราคนไทยก็สามารถฝ่าฟันไปด้วยกันได้อย่างดี ด้วยความขันติ ใจเย็น ค่อยคิดค่อยทำไปอย่างต่อเนื่องและมุ่งมั่นด้วยสติและเหตุผลอันพอเหมาะพอควร เพื่อประโยชน์และความสุขของประเทศชาติและประชาชน ขอพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวง จงปกป้อง คุ้มครอง รักษาและให้ขวัญกำลังใจต่อทุกท่านถ้วนหน้า ในการที่จะเป็นพลังที่เข้มแข็งต่อประเทศ และชาติบ้านเมืองของเราสืบต่อไป…”

พระราชดำรัสสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2561 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม 2560