สกู๊ปข่าว » #สด เบื้องลึก !! รื้อพรบ.ตำรวจ หวังปฏิรูป ยิ่งทำทำไมยิ่งเละ? (ชมคลิป)

#สด เบื้องลึก !! รื้อพรบ.ตำรวจ หวังปฏิรูป ยิ่งทำทำไมยิ่งเละ? (ชมคลิป)

22 April 2018
715   0

เมื่อวันที่ 21 เม.ย. นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมการปฏิรูปกฎหมาย ในฐานะกรรมการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า คณะกรรมการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ตำรวจฯ ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธ์ เป็นประธาน ได้ทำการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 เม.ย. ที่ผ่านมา ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยการประชุมไม่ได้พิจารณาแก้ไขพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 เฉพาะบางประเด็นตามที่คณะกรรมการปฏิรูปตำรวจเสนอมาเท่านั้น แต่อาจพิจารณายกร่างขึ้นใหม่ทั้งฉบับ รวมทั้งแก้ไขกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วยการจัดทำกฎหมายครั้งนี้จะต้องทำเพื่อตอบโจทย์ 2 ประการ ได้แก่ 1. ความทุกข์ของประชาชน ทั้งที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ และความคาดหวังที่ต้องการจากตำรวจ 2. ความทุกข์ของตำรวจ ทั้งที่ไม่อาจใช้เพียงความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่เติบโตไปตามสายงานได้อย่างปกติ และความไม่พร้อมหรือขาดแคลนในด้านต่าง ๆนายคำนูณ กล่าวอีกว่า ในการตอบโจทย์ทั้ง 2 ข้อนี้จะพิจารณาผ่าน 6 กรอบตามดำริของนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย 1.โครงสร้างทั้งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และการถ่ายโอนภารกิจที่ไม่ใช่งานตำรวจแท้ออกไปให้หน่วยงานอื่นด้วย 2.อำนาจสอบสวนควรอยู่กับตำรวจเต็มเหมือนเดิม หรือควรมีหน่วยงานอื่นมาร่วมในกระบวนการด้วย 3.การแต่งตั้งโยกย้าย รวมถึงการแต่งตั้งผบ.ตร.จะต้องกำหนดกฎเกณฑ์การพิจารณาไว้ให้ชัดเจนในกฎหมายหลัก ไม่ใช่อยู่แต่ในกฎหมายลำดับรองหรืออนุบัญญัติเท่านั้นโดยจะต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะให้มาจากหลักอาวุโสเป็นสัดส่วนเท่าไร รวมทั้งจะต้องบัญญัติกฎเกณฑ์ของการคิดคำนวณหลักอาวุโสที่มิใช่อาศัยเพียงเกณฑ์อายุไว้ให้ชัดเจนในกฎหมายหลักด้วย 4.ความพร้อมในการทำหน้าที่ของตำรวจ ยังมีความขาดแคลนงบประมาณและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่อยู่หรือไม่เพียงใด 5. ระบบนิติวิทยาศาสตร์ควรขึ้นตรงต่อตำรวจหรือเป็นอิสระในระดับหนึ่ง และควรมีกี่หน่วย โดยพิจารณาถึงโอกาสที่จะได้รับความเป็นธรรมสูงสุดของประชาชน และ6. สวัสดิการ รวมถึงระบบร้องเรียนร้องทุกข์ภายในของตำรวจเองด้วย โดยจะพิจารณาจากข้อเสนอจากองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้ศึกษาและเสนอไว้แล้วประกอบด้วย เมื่อได้ข้อสรุปทั้งหมดจะจัดทำเป็นร่างกฎหมายและตรวจร่างกฎหมายได้พร้อมสรรพในคณะกรรมการชุดเดียว เพราะมีสัดส่วนจากคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษอยู่ด้วย