เรื่องฮอต ประเด็นฮิต » #ลุงพล ยังไม่ถูกตัดสิน ! ดร.สุกิจ ยัน พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลยังไม่พิพากษา

#ลุงพล ยังไม่ถูกตัดสิน ! ดร.สุกิจ ยัน พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลยังไม่พิพากษา

13 December 2021
328   0

ฆ่าคนตายโดยเจตนา กับหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ
………………\\\\\\\…………………………
ศึกษากรณี “ลุงพล แห่งบ้าน “กกกอก จังหวัดมุกดาหาร
โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม นักวิชาการด้านกฏหมาย

คดี”น้องชมพู่”นั้น การชันสูตรพลิกศพ ได้เสร็จสิ้นไปแล้ว.ไม่พบร่องรอยการถูกทำร้าย หรือล่วงละเมิดทางเพศ แพทย์สภายืนยันว่า น้องชมพู่อาจขาดสารอาหารถึงแก่ความตายนั้นเป็นไปได้สูง. การผ่าศพน้องชมพู่ในครั้งที่ 2 นั้น แพทย์สภายืนยันว่า สถาบันนิติเวชวิทยาสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่มีอำนาจทำได้เนื่องจากไม่ได้ขออนุญาตจากแพทย์สภา

คดีนี้ ข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานเบื้องต้น รับฟังได้ ตามที่แพทย์ชันสูตรพลิกศพ ยืนยันว่า น้องชมพู่ ตายในวันที่ 12 พฤษภาคม2563 นั้น
คดีมีปัญหาในชั้นที่อัยการให้แจ้งข้อหา ลุ่งพล เพิ่มเติมในความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนานั้น “ศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษา “

ในชั้นเตรียมความพร้อม อัยการโจทก์ได้อ้างเอกสารสำนวนการสอบสวนของตำรวจ ในคดีเท่าที่จำเป็นแก่การเปิดคดีเท่านั้น

พยานหลักฐานที่อัยการอ้างส่งศาล ยังไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่า “ลุงพล” เป็นผู้กระทำผิด ยังเป็นเพียงพยานบอกเล่า ที่ตำรวจไปสอบพยานหลักฐานทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารเท่านั้น

คดีลุงพล เป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง เจตนารมย์ของกฏหมายศาลจะต้องรับฟังจนเป็นที่พอใจแก่ศาลว่า “ลุงพล” กระทำผิดจริงจึงจะรับฟังลงโทษจำเลยได้

แต่ถ้า พยานหลักฐานที่อัยการอ้างส่งศาลยังมีเหตุสงสัยอยู่ ลุงก็จะได้ประโยชน์แห่งความสงสัยนั้น เป็นคุณตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227วรรคสอง

ที่นี้เราก็มาพูดถึง หลักกฏหมาย พยานบอกเล่าในคดีอาญา รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม

เจตนารมย์ของกฏหมายนั้น ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่…[1]Click and drag move”กฎหมายนั้นห้ามรับฟังพยานบอกเล่า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 ให้คำนิยามของพยานบอกเล่าว่าหมายถึง “ข้อความซึ่งเป็นการบอกเล่าที่พยานบุคคลใดนำมาเบิกความต่อศาลหรือที่บันทึกไว้ในเอกสาร หรือวัตถุอื่นใดซึ่งอ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาล หากนำเสนอเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น ให้ถือเป็นพยานบอกเล่า นี้

เป็นกฎหมายที่แก้ไขใหม่ เพิ่มเติมโดยพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551) พยานประเภทนี้ ไม่น่าเชื่อถือ (unreliable) เพราะเป็นพยานที่ไม่ได้ใช้ประสาทสัมผัสรับรู้มา เช่น ไม่ได้เห็นเหตุการณ์มากับตาตัวเอง ไม่ได้ได้ยินเสียงของเหตุการณ์นั้นด้วยหูตัวเอง แต่รู้เหตุการณ์มาเพราะฟังจากคำบอกเล่าของประจักษ์พยานหรือคนอื่นๆ อีกทอดหนึ่ง ทำให้โอกาสที่ข้อเท็จจริงจะคลาดเคลื่อนได้

เว้นแต่ ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้น น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ ถามว่า ไอ้เส้นผม สามเส้น ที่พบในรถ ลุงพล นั้น ที่นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านไสยศาสตร์ ทำพิธี และ เครื่องซินโครตรอน ที่พิสูจน์เส้นผม ด้วยแสง เป็นิติวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือไม่ได้เลย ไม่มีหน่วยงานไหนรับรองความเป็นมาตราฐาน อันนี้สำคัญมาก

ต่อให้ร้อยผู้เชี่ยวชาญที่ไหนก็ได้ มาเบิกความต่อศาล ก็ตกม้าตาย ผู้เชี่ยวชาญจะต้องมีความเชียวชาญใช้เครืองแสง ซินโครตรอน ตัวนี้ด้วย

ผู้เชียวชาญไม่ใช่ดูแต่เพียงตำรา แล้วมาเบิกความว่าพยานว่า สามารถใช้ตรวจเส้นผมพิสูจน์ความผิดของคนร้ายได้นั้น ผู้เชียวชาญคนนั้นต้องพิสูจน์ด้วยตนเองด้วย ไม่อย่างนั้นล้วนแต่เป็นพยานบอกเล่าทั้งสิ้น

ถ้าทนายจำเลยค้านถึงความมาตราฐานของเครื่อง ซินโครตรอน ที่ใช้พิสูจน์เส้นผมด้วยแสง มีสถาบันไหนในโลกรับรองความเป็นมาตราฐานที่เป็นสากลบ้าง ตอบแทนผู้เชียวชาญเลยว่าไม่มี

ถ้าทนายจำเลย ยกตัวอย่าง และเอาเครื่องวัดน้ำตาลในเลือด ที่โรงพยาบาลใช้กัน ถือว่าเป็นสากลแล้ว มาเจาะพิสูจน์ต่อหน้าศาล เพื่อทำลายน้ำหนัก ผู้เชียวชาญ เเพื่อให้เกิดความสงสัย “เจาะพิสูจน์กี่ครั้งค่าของผลเลือดในนำ้ตาลสูง จะไม่เท่ากัน

ดังนั้น เครื่อง แสงซินโครตรอน ที่ตรวจเส้นผมเชื่อถือได้เพียงใด ถ้าอยากทราบว่า สอบถามได้ที่ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

ทีมวิจัยของ ดร.รุ่งเรือง พัฒนากุล เรื่องเครื่องควบคุมและประมวลผลเซ็นเซอร์วัดความชื้น เพื่อใช้ในโรงเลี้ยงสัตว์ปีก เท่านั้น

การพิสูจน์เส้นผมด้วยแสงในตำราไม่มี ถ้ามีผลตรวจเส้นผมถือว่าเป็นบรรทัดฐานใหม่ ในการพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ เลยนะครับ
แต่เอาจริงแล้วนอกจากรับฟังไม่ได้แล้ว ยังเชื่อถือไม่ได้อีกด้วย จึงเป็นกรณีศึกษา

ที่ทนายชื่อดังถอนตัวนั้น จึงไม่น่าใช่เกิดจากการ เห็นพยานหลักฐานในชั้นตรวจพยานหลักฐานในศาลในวันเปิดคดี แล้วเห็นว่าเห็นว่า สู้ไม่ได้ หรือแพ้ จึงถอนตัวนั้น จริงแล้วเอกสารที่ปรากฏอยู่ในสำนวนศาลนั้น ยังพิสูจน์ไม่ได้หรอกครับว่า แพ้หรือชนะ

แต่สื่อโซเชียล ได้พิพากษา”ลุงพล” ไปแล้ว การที่ลุงพล ออกสื่อแต่ละครั้งจะพูด ไม่เหมือนกัน อันนี้แหละอีกฝ่ายจะนำมาเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดลุงพลว่ามี พิรุธ เป็นมูลเหตุจูงใจ เชื่อมโยงไปสู่การเสียชีวิตของน้องชมพู่ได้

แท้จริงแล้ว คดีที่ลุงพลไม่มีประจักพยานรู้เห็นว่าใครฆ่าน้องชมพู่ ที่อัยการให้ตำรวจแจ้งข้อหาเพิ่มเติมลุงพลฐานฆ่าคนตายโดยเจตนานั้น เพราะมีเหตุสงสัยเหมือนตำรวจ จึงต้องจับ แต่ถ้าดยานหลักฐานที่อัยการอ้างส่งศาลแถลงวันเปิดคดีในวันนัดตรวจพยานหลักฐาน ถ้าศาลสงสัยในพยานหลักฐานก็ต้องปล่อยตัวจำเลยพ้นข้อหาไป

ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม