ไลฟ์สไตล์ » ท่องเที่ยว » รู้หรือไม่!!! 5 เส้นทางท่องเที่ยวโครงการพระราชดำริ เที่ยวสุขใจตามรอยพ่อหลวง

รู้หรือไม่!!! 5 เส้นทางท่องเที่ยวโครงการพระราชดำริ เที่ยวสุขใจตามรอยพ่อหลวง

18 May 2017
382   0

เส้นทางท่องเที่ยวโครงการพระราชดำริ ของในหลวง ที่มีส่วนช่วยราษฎรให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สร้างรายได้และอาชีพ ทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจไม่น้อย

ตลอดระยะเวลากว่า 70 ปีที่พสกนิกรชาวไทยอยู่ใต้ร่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) นับเป็น 70 ปีที่พสกนิกรชาวไทยอยู่เย็นเป็นสุข ด้วยเพราะพระราชกรณียกิจนานัปการ ล้วนอำนวยคุณประโยชน์แก่ประชาชนอย่างยิ่งใหญ่ เหมือนกับดังคำกล่าวที่ว่า “ไม่มีที่ใดบนผืนแผ่นดินไทย ที่พระองค์เสด็จไปไม่ถึง”

ดังเช่นโครงการในพระราชดำริหลายสิบโครงการ ที่เกิดแทบทุกพื้นที่บนแผ่นดินไทย ที่นอกจากจะสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชาวบ้านในพื้นที่แล้ว ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนและเรียนรู้ของนักท่องเที่ยว ที่สามารถเดินทางไปเที่ยวได้ตลอดทั้งปี วันนี้เราเลยอยากให้ทุกคนได้ออกไปสัมผัสเส้นทางท่องเที่ยวตามโครงการพระราชดำริ เพื่อให้เราได้เห็น ได้เรียนรู้ ถึงพระอัจฉริยภาพที่กว้างไกลของพระองค์อย่างยากจะหาที่สุดมิได้

5 เส้นทางท่องเที่ยวโครงการพระราชดำริ เที่ยวสุขใจตามรอยพ่อหลวง

เส้นทางท่องเที่ยวโครงการพระราชดำริ ของในหลวง ที่มีส่วนช่วยราษฎรให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สร้างรายได้และอาชีพ ทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจไม่น้อย

ตลอดระยะเวลากว่า 70 ปีที่พสกนิกรชาวไทยอยู่ใต้ร่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) นับเป็น 70 ปีที่พสกนิกรชาวไทยอยู่เย็นเป็นสุข ด้วยเพราะพระราชกรณียกิจนานัปการ ล้วนอำนวยคุณประโยชน์แก่ประชาชนอย่างยิ่งใหญ่ เหมือนกับดังคำกล่าวที่ว่า “ไม่มีที่ใดบนผืนแผ่นดินไทย ที่พระองค์เสด็จไปไม่ถึง”

ดังเช่นโครงการในพระราชดำริหลายสิบโครงการ ที่เกิดแทบทุกพื้นที่บนแผ่นดินไทย ที่นอกจากจะสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชาวบ้านในพื้นที่แล้ว ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนและเรียนรู้ของนักท่องเที่ยว ที่สามารถเดินทางไปเที่ยวได้ตลอดทั้งปี วันนี้เราเลยอยากให้ทุกคนได้ออกไปสัมผัสเส้นทางท่องเที่ยวตามโครงการพระราชดำริ เพื่อให้เราได้เห็น ได้เรียนรู้ ถึงพระอัจฉริยภาพที่กว้างไกลของพระองค์อย่างยากจะหาที่สุดมิได้

1. โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ

โครงการช่างหัวมันตามพระราชดำริ อยู่ในความดูแลของกองทัพภาคที่ 1 เป้าหมายต้องการให้เป็นศูนย์รวมพืชเศรษฐกิจของ อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี โดยเลือกพันธุ์พืชท้องถิ่นที่ดีที่สุดเข้ามาปลูก แล้วให้ภาครัฐและชาวบ้านร่วมดูแลด้วยกัน ภายในยังมี “ทะเบียนบ้านเลขที่ 1” ซึ่งเป็น บ้านพักส่วนพระองค์ของในหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ถือโฉนดและมีชื่อในทะเบียนบ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 5 บ้านหนองคอไก่ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี โดยทรงขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรทำไร่

2. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

อยู่ในเขตรอยต่อของตำบลป่าเมี่ยง และตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ จากเดิมที่เคยเป็นพื้นที่เสื่อมโทรมกว้างกว่า 8,500 ไร่ มาวันนี้พื้นที่ดังกล่าวได้รับการพัฒนารูปแบบชลประทาน ที่ควบคู่ไปกับการพัฒนาดินและป่าไม้ จนได้รับการขนานนามว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือน ได้รับความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผืนป่าที่เข้าใจง่าย แถมยังได้สัมผัสจิตวิญญาณของป่าใหญ่ ด้วยการย่างเท้าก้าวเข้าสู่การเดินป่าท่ามกลางลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ ได้พบกับป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณที่สวยงาม รวมถึงการได้เข้าชมวิถีฟาร์มสไตล์ภาคเหนือ เช่น การทำปศุสัตว์ เลี้ยงโคนม สัตว์ปีก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำนานาชนิดอีกด้วย

3. โครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริภูหินร่องกล้า

ตั้งอยู่ที่อำเภอนครไทย ภายในเขตอุทยานภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อฟื้นฟูสภาพป่า เพาะชำกล้าไม้ รวมถึงยังมีแปลงปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้า แปลงสาธิตปลูกสตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทานปลอดสารพิษ ที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมอย่างใกล้ชิด พื้นที่โครงการมีแนวหินผา เป็นจุดชมวิวถึง 6 จุดสำคัญด้วยกัน ได้แก่ ผาไททานิค ผาพบรัก ผาบอกรัก ผาคู่รัก ผารักยืนยง และผาสลัดรัก โดยนักท่องเที่ยวสามารถยืนชมวิวทิวทัศน์ผืนป่าที่เขียวชอุ่มได้แบบสุดลูกหูลูกตา

4. ศูนย์บริการและพัฒนาที่สูงปางตองตามพระราชดำริ

ตั้งอยู่ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเป้าหมายทำการผลิต และส่งเสริมการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง นอกเหนือจากนี้ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้และขยายผลเพื่อชุมชน คน และป่าในพื้นที่เป้าหมาย พัฒนาและส่งเสริมอาชีพบนพื้นที่สูงหลายแขนง เป็นสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์ การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า ตลอดจนศูนย์อนุรักษ์และจัดการพื้นที่ป่า และการพัฒนาระบบไฟฟ้าพลังน้ำ เรียกว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวท่ามกลางธรรมชาติ ที่ให้ทั้งความเพลิดเพลินและความรู้กลับบ้านไปแบบเต็ม ๆ

5. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 โดยครอบคลุมพื้นที่อ่าวคุ้งกระเบนกว่า 4,000 ไร่ เพื่อศึกษา วิจัย ทดลอง และเพาะพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่งทะเล พร้อมทั้งสร้างที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล ทั้งยังส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่มีความรู้ในการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน สำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากใกล้ชิดธรรมชาติ และพร้อมเรียนรู้วิถีชีวิตประมง ทำความรู้จักกับสัตว์น้ำ และต้นไม้นานาชนิด ที่คือพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติมีชีวิต ที่น่าสนใจและน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

สำนักข่าว vihoknews