เรื่องฮอต ประเด็นฮิต » #พระพยอมมีสิทธิยึดหน่วงที่ดิน ! ดร.สุกิจฟันธง ไว้จนกว่าจะได้ชดใช้ราคา ตามกฏหมาย

#พระพยอมมีสิทธิยึดหน่วงที่ดิน ! ดร.สุกิจฟันธง ไว้จนกว่าจะได้ชดใช้ราคา ตามกฏหมาย

17 June 2020
976   0

ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม ผู้เชียวชาญด้านกฎหมาย ได้โพสข้อความระบุว่า   หลักเกณฑ์การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยทั่วไปก่อน “ศึกษากรณี พระพยอม กัลยาโณ) หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน และข้อยกเว้น
บทบัญญัติ มาตรา 1332 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินมีหลักเกณฑ์การได้มาอยู่ 2 ประการ คือ การได้มาโดยทำนิติกรรมและการได้มาโดยผลของกฎหมาย
การได้มาโดยทางนิติกรรมนั้น เป็นการได้กรรมสิทธิ์จากการที่บุคคลอื่นจัดการโอนให้ผู้โอนต้องเป็นผู้มีอำนาจโอนทรัพย์สินนั้นได้ และผู้โอนต้องโอนให้โดยสมัครใจ ส่วนการได้กรรมสิทธิ์โดยผลของกฎหมายเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์การได้กรรมสิทธิ์ไว้ เมื่อบุคคลได้ปฏิบัติหรือเป็นตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
กรรมสิทธิ์ก็ตกได้แก่ผู้นั้นเป็นการตั้งทรัพยสิทธิขึ้นมาใหม่ การได้กรรมสิทธิ์โดยทางนิติกรรมหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย”ที่ว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน ” แต่ก็มีหลักเกณท์ คุ้มครองผู้รับโอนโดยสุจริตกฏหมายจึงบัญญัติหลักเกณฑ์ในพฤติการณ์พิเศษไว้เป็นข้อยกเว้น
ให้กรรมสิทธิ์กับตกได้แก่ผู้รับโอน ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้ตามมาตรา 1332 เป็นข้อยกเว้นของหลัก”ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน “เป็นการได้กรรมสิทธิ์โดยผลของนิติกรรม
แต่เป็นกรรมสิทธิ์ภายใต้เงื่อนไขว่า เจ้าของที่แท้จริงอาจใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินคืนได้ การซื้อทรัพย์สินในพฤติการณ์พิเศษตามบทบัญญัติมาตรา 1332 นี้
กฎหมายต้องการเพียงความสุจริตของผู้ซื้อไม่คำนึงว่าผู้ขายจะสุจริตหรือไม่ และไม่ว่าผู้ขายจะได้รับทรัพย์สินมาโดยเหตุใดก็ตาม ถ้าผู้ซื้อได้ซื้อโดยสุจริตในพฤติการณ์พิเศษ
หลักเกณฑ์การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยทั่วไปก่อน แล้วจึงวิเคราะห์หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน และข้อยกเว้น
การได้มาโดยทางนิติกรรมนั้น เป็นการได้กรรมสิทธิ์จากการที่บุคคลอื่นจัดการโอนให้ผู้โอนต้องเป็นผู้มีอำนาจโอนทรัพย์สินนั้นได้ และผู้โอนต้องโอนให้โดยสมัครใจ ส่วนการได้กรรมสิทธิ์โดยผลของกฎหมาย
เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์การได้กรรมสิทธิ์ไว้ เมื่อบุคคลได้ปฏิบัติหรือเป็นตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
กรรมสิทธิ์ก็ตกได้แก่ผู้นั้นเป็นการตั้งทรัพยสิทธิขึ้นมาใหม่ การได้กรรมสิทธิ์โดยทางนิติกรรมหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย”ที่ว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน “
แต่ก็มีหลักเกณท์ คุ้มครองผู้รับโอนโดยสุจริตกฏหมายจึงบัญญัติหลักเกณฑ์ในพฤติการณ์พิเศษไว้เป็นข้อยกเว้น
แต่ทรัพย์ที่ได้มานั้น ผู้โอนได้มาโดยไม่สุจริต ผู้รับโอนต้องคืนทรัพย์ตามคำสั่งศาล
แต่กฏหมายบอกต้องชดใช้ราคาให้กับผู้รับโอนโดยสุจริต แม้ทนายความคนเดิมมิได้ตั้งประเด็นไว้ในคดีเดิม และให้การต่อสู้คดีไว้
แต่เมื่อเจ้าของที่แท้จริงฟ้องขับไล่เป็นคดีใหม่ ผู้รับโอนโดยสุจริตมีสิทธิยึดหน่วยไว้จนกว่าจะได้ชดใช้ราคา เป็นปัญหาข้อกฏหมาย ด้วยการยื่นคำให้การฟ้องแย้งมาฟ้องกับคำให้การในคดีฟ้องขับไล่ หรือไปฟ้องเป็นคดีใหม่ติดตามเอาทรัพย์เงินสดที่เสียไปได้
โดยไม่มีอายุความ เป็นปัญหาข้อกฏหมายที่เกี่ยววกับความสงบเรียบร้อยและศาลธรรมอันดีของประชาชน กรณีพระพยอมไม่น่าที่จะสูญเสียเงินให้แก่โจรใจบาปแน่แท้
ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม