ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #พปชร.ตอกค่าแรง 600 เหี้ยม ! ทำต่างด้าวนับล้านทะลักแย่งงานคนไทย

#พปชร.ตอกค่าแรง 600 เหี้ยม ! ทำต่างด้าวนับล้านทะลักแย่งงานคนไทย

20 April 2023
469   0

 

พปชร.ตอกค่าแรง 600 เหี้ยม ! ทำต่างด้าวนับล้านทะลักแย้งงานคนไทย จนยึดธุรกิจ ซัดคนออกนโยบายหวังแต่ได้คะแนน แต่กลับทำร้ายคนไทย

 

ดร.อนันตชาติ บัวสุวรรณ์ ผู้สมัครสส.กรุงเทพ เขตเลือกตั้งที่ 9 เบอร์8 กล่าวว่าจากนโยบาย และแนวคิดการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 600 บาทต่อวัน ของพรรคการเมืองหนึ่ง

การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำนั้น จะต้องถูกกำหนดจากความเสมอภาค เพื่อให้นายจ้างสามารถประกอบธุรกิจอยู่ได้ และลูกจ้างสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อีกทั้งยังต้องช่วยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศเพื่อให้เกิดการเติบโตของตัวเลขเศรษฐกิจ (GDP)

ดังนั้น การปรับค่าแรงขั้นต่ำจึงต้องพิจารณาด้วยหลายปัจจัย ทั้งดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ ต้นทุนการผลิตราคาของสินค้าความสามารถของธุรกิจ ประสิทธิภาพของแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ในแต่ละท้องถิ่น และสภาพการณ์โดยทั่วไปของประเทศในขณะนั้น อีกทั้งการขึ้นค่าแรงแต่ละครั้งไม่ใช้เฉพาะแรงงานคนที่ได้ประโยชน์ แรงงานต่างด้าวก็จะได้รับประโยชน์ไปด้วย

โดยก่อนหน้านี้ไทยได้มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไปแล้วเมื่อวันที่ 1 ต.ค.2565 สูงสุดวันละ 354 บาท (ชลบุรี ระยอง ภูเก็ต) และมีค่าแรงเฉลี่ยอยู่ที่ 337 บาท ซึ่งนอกจากนี้ เมื่อเรานำค่าแรง 600 บาท ไปเทียบกับประเทศในอาเซียน จะเห็นว่าค่าแรงจำนวนนี้สูงเกินค่าเฉลี่ยของอาเซียน และยิ่งสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศที่โครงสร้างพื้นฐานใกล้เคียงกับเรา

โดยค่าแรงของไทยในปัจจุบัน (337 บาท) อยู่ในลำดับที่ 5 ของอาเซียน แต่หากปรับขึ้นเป็น 600 บาท ค่าแรงของไทยจะขึ้นไปสู่ลำดับที่ 3 เป็นรองแค่เพียงสิงคโปร์ (ค่าแรงขั้นต่ำ 1.423 บาท) และ บรูไน (ค่าแรงขั้นต่ำ 664 บาท)

ซึ่งทั้ง 2 ประเทศนี้มีโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งมาก และยังเป็นประเทศที่ให้สิทธิ์ประโยชน์กับนักลงทุนเพื่อให้ต้นทุนส่วนอื่นต่ำ ทดแทนกับต้นทุนค่าแรงงานที่สูงได้ (สิงคโปร์มีโครงสร้างพื้นฐานที่โดดเด่นจนเคยถูกจัดอันดับเป็นประเทศน่าลงทุนมากที่สุดในโลก ส่วนบรูไนก็มีทรัพยากรน้ำมัน ซึ่งเป็นที่ต้องการของคนทั่วโลก

แต่สำหรับประเทศไทยแล้วนั้น เป็นประเทศที่เทคโนโลยีการผลิตยังค่อนข้างต่ำ โครงสร้างพื้นฐานยังแพ้สิงคโปร์ ดังนั้น หากเราต้องการปรับให้ค่าแรงสูงก็ต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหรือมีสิทธิ์ประโยชน์อื่นๆ ให้สมดุลกันผู้ผลิตจึงจะอยู่ได้ มิฉะนั้นโรงงานต่างๆก็จะแห่กันย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่นหมด

ที่สำคัญจากการขึ้นค่าแรง 600 จะส่งผลในระยะยาวที่จะมีการย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทย เหมือนตอนขึ้นค่าแรง 300 ก็เผชิญเหตุการณ์เดียวกัน ที่นักลงทุนย้ายฐานไปผลิต ยัง พม่า ลาว เขมร จีน แทนประเทศไทย

นอกจากนี้ยังทำให้แรงงานต่างด้าวจะแห่หลบหนีเข้ามาทำงาน แย่งงานคนไทยมากขึ้นอีกหลายล้านคน จนได้ครอบครองธุรกิจหลายหมื่นแห่งในไทย โดยเฉพาะตลาดสด ร้านค้า รปภ. เพราะได้ค่าแรง 600 เท่ากับคนไทย การแก้ปัญหาค่าแรงขั้นต่ำที่ดีที่สุด จึงเป็นการขั้นตามขั้นบันได ตามค่าครองชีพในแต่ละจังหวัด ที่แตกต่างกัน จะเป็นประโยชน์มากที่สุด

ผู้ออกนโยบาย 600 บาทจึงถือว่า เหี้ยม…ที่ทำร้ายคนไทยในทางอ้อม เพื่อหวังหลอกได้คะแนน แต่สุดท้ายยิ่งจะทำให้คนไทยตกงาน นักลงทุนหนี ต่างด้าวก็จะแห่แยงงาน และยึดธุรกิจในที่สุด ดร.อนันตชาติ กล่าว