ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #ปิติยินดี‘พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ ‘ ทรงเสด็จฯ ร่วมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

#ปิติยินดี‘พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ ‘ ทรงเสด็จฯ ร่วมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

5 May 2019
2972   0

‘พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ ‘ ทรงเสด็จฯ ร่วมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เวลา 08.45 น. วันที่ 5 พ.ค. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯ มาถึงพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในการพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์

ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกช่วงค่ำวานนี้ (4 พ.ค.) มีการประกอบพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร ซึ่งเป็นเสมือนกับการขึ้นบ้านใหม่ ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ข้าราชบริพารฝ่ายหน้าได้เชิญเครื่องราชูปโภคและสิ่งมงคล รวมถึงสัตว์อย่างวิฬาร์หรือแมว และไก่ขาว เข้าพิธีด้วย

แมวถือเป็นสัตว์ที่นำโชคลาภ ความร่มเย็นเป็นสุข เชื่อว่าสามารถขับไล่ภูตผีปีศาจและสิ่งชั่วร้ายเพราะสามารถมองเห็นในเวลากลางคืน ความเชื่อที่ว่าแมวมีเก้าชีวิต สื่อถึงความยั่งยืนสถาพรและเป็นอมตะ

สำหรับในรัชกาลปัจจุบัน แมวที่ใช้ในการเฉลิมพระราชมณเฑียรเป็นแมวไทยวิเชียรมาศ ซึ่งเป็นแมวมงคลตามตำรา สีน้ำตาลอ่อน มีแต้มสีน้ำตาลไหม้ 9 แห่งทั่วตัว ดวงตาสีฟ้าสดใส เป็นสายพันธุ์แมวไทยที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก

ส่วนไก่ขาวนั้นถือเป็นสัตว์เลี้ยงสารพัดประโยชน์ ทั้งสามารถบอกเวลาและออกไข่ ในความเชื่อของชาวจีนถือว่า ไก่ขาวสามารถขับไล่สิ่งชั่วร้ายได้

เมื่อค่ำวันที่ 4 พ.ค ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร บรรทมเหนือพระแท่นราชบรรจถรณ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ประทับแรม ในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานในพระราชพิธีมีเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร และเครื่องราชูปโภค

หรือเครื่องใช้ของพระมหากษัตริย์ อาทิ วิฬาร์ หรือแมว มีความหมายถึง การอยู่บ้านใหม่เป็นปกติสุขไม่โยกย้าย ,ศิลาบด หรือหินบดยา


หมายถึง ความหนักแน่น หรือความไม่มีโรค ,พันธุ์พืชมงคล หมายถึงการงอกเงย ,ฟักเขียว หมายถึง การอยู่เย็นเป็นสุข ,กุญแจทอง หมายถึง กรรมสิทธ์ความเป็นเจ้าของบ้าน และจั่นหมากทอง หมายถึง ความมั่งคั่ง

ทั้งนี้ในการพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะบรรทมเหนือพระแท่นราชบรรจถรณ์ พระแท่นที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประดิษฐานภายในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ตะวันออก สำหรับเป็นพระแท่นบรรทมเฉพาะพระมหากษัตริย์

6 สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อ 4 พ.ค.
ทรงเป็น “พระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์” หลังเข้าพิธีสรงพระมุรธาภิเษก ทรงรับน้ำอภิเษก และทรงสวมพระมหาพิชัยมงกุฎ โดยออกพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว”

ทรงพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการแก่ปวงชนชาวไทยว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป”


มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสุทิดา ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

ในการเสด็จออกมหาสมาคม ทรงมีพระราชดำรัสตอบพระบรมวงศ์และประมุข 3 ฝ่าย มีใจความตอนหนึ่งว่า “ขอเชิญชวนทุกท่านทุกฝ่ายในมหาสมาคมนี้


และประชาชนชาวไทยทุกคนได้ตั้งความปรารถนาร่วมกันกับข้าพเจ้า ในอันที่จะร่วมกันปฏิบัติงานตามฐานะและหน้าที่ของตนโดยยึดเอาประโยชน์ คือความเจริญมั่นคงของประเทศชาติ


และความผาสุกร่มเย็นของประชาชนเป็นเป้าหมายสูงสุด”ทรงประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภกในที่ชุมนุมสงฆ์เฉลิมพระราชมณเฑียร และเถลิงพระแท่นราชบรรจถรณ์


5 พฤษภาคม 2562 – เป็นพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ และเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราสถลมารค
• 9.00 น.พระราชพิธี เฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ เลี้ยงพระ เทศน์ ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย

• 16.30 น. เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค โดยเริ่มจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ไปยังวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ตามลำดับ

Cr.truststoreonline

สำนักข่าววิหคนิวส์