ข่าวประจำวัน » #ทิ้งระเบิดกรุงเทพฯ..!! ในประเทศไทย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2(ชมคลิป)

#ทิ้งระเบิดกรุงเทพฯ..!! ในประเทศไทย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2(ชมคลิป)

14 July 2017
1734   0


#ทิ้งระเบิดกรุงเทพฯ!!จังหวัดต่างๆในประเทศไทย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2(ชมคลิป)

การทิ้งระเบิดกรุงเทพฯ และ จังหวัดต่างๆในประเทศไทย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2

การที่ไทยประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ทางสหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้ส่งเครื่องบิน บี 24, บี 29 และ บริสตอล เบลนไฮม์ (Mk.1 L6739) มาทิ้งระเบิด ยังพระนคร ธนบุรี และ จังหวัดต่างๆในประเทศไทย

  เพชร โพธิ์ดำ – พระนครและธนบุรีถูกเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีทิ้งระเบิดระหว่างปี พ.ศ. 2485 ถึง 2488 รวม 34 ครั้งสถานที่ที่ถูกโจมตีได้แก่ สถานีรถไฟหัวลำโพง สถานีรถไฟบางกอกน้อย สถานีรถไฟช่องนนทรีย์ สถานีรถไฟบางซื่อ โรงงานซ่อมสร้างหัวรถจักรมักกะสัน โรงไฟฟ้าวัดเลียบ โรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ สะพานพุทธยอดฟ้า สะพานพระราม 6 ท่าเรือคลองเตย สนามบินดอนเมือง สถานทูตญี่ปุ่น ที่พักและคลังอาวุธของทหารญี่ปุ่น ที่ตั้งปืนต่อสู้อากาศยานบริเวณถนน กาติ๊บ สนามเป้า กองสัญญาณทหารเรือข้างสวนลุมพินี ประตูทดน้ำบางซื่อ โรงเก็บสินค้าและโรงงาน การทิ้งระเบิดในระยะแรก ระหว่างปี 2486 ถึงกลางปี 2487 เป็นการโจมตีทิ้งระเบิดในเวลากลางคืน ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2487 จึงได้เริ่มโจมตีทิ้งระเบิดในเวลากลางวัน] การทิ้งระเบิดมีการทิ้งผิดเป้าหมายที่ต้องการเป็นจำนวนไม่น้อย เช่น วัดราชบุรณราชวรวิหาร ทำให้ภาพวาดของขรัวอินโข่งถูกทำลาย เครื่องบินทิ้งระเบิดที่ใช้มีแบบบี-24 ซึ่งส่วนใหญ่จะมาทิ้งระเบิดเวลากลางคืน ปืนต่อสู้อากาศยานได้ยิงต่อสู้โดยใช้ไฟฉายส่อง ค้นหาเป้าหมายแบบประสานกันจากจุดต่าง ๆ บนพื้นดิน เมื่อจับเป้าคือเครื่องบินได้แล้ว ก็เกาะเป้าไว้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ปืนต่อสู้อากาศยาน ยิงทางเครื่องบินทิ้งระเบิด จะต่อสู้โดยยิงปืนกลอากาศสวนมาตามลำแสงของไฟฉาย ซึ่งจะเห็นได้จากกระสุนส่องวิถีจากปืนกลอากาศ ที่ยิงมาเป็นชุดยาว

ทางกองทัพอากาศไทยได้ส่งเครื่องบินขับไล่ขึ้นต่อสู้สกัดกั้น แต่ไม่ได้ผลเพราะเครื่องบินที่มีสมรรถนะต่ำกว่า และต่อมาในระยะหลังที่ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบบี -29 ซึ่งจะบินมาเป็นหมู่ในระยะสูง ปืนต่อสู้อากาศยานยิงไม่ถึง จึงได้มีการมาทิ้งระเบิดเวลากลางวันอย่างเสรี อีกทั้งรัฐบาลต้องประกาศให้ประชาชนเตรียมพร้อมสำหรับการทิ้งระเบิด เมื่อมาถึงทางการจะเปิดเสียงสัญญาณหวอเสียงดังเพื่อเตือนให้ประชาชนได้ระวังตัว เช่น หลบอยู่ในหลุมพรางที่ขุดขึ้นเอง หรือพรางไฟ เป็นต้น แต่ประชาชนบางส่วนก็ได้อพยพย้ายไปอยู่ตามชานเมืองหรือต่างจังหวัด ตลอดจนลงไปอยู่ในหลุมที่ทางการจัดสร้างไว้ เป็นต้น ซึ่งการอพยพนั้นมักจะเดินกันไปเป็นขบวนกลุ่มใหญ่เหมือนขบวนคาราวาน โดยชานเมืองที่ผู้คนนิยมไปกันเป็นจำนวนมากคือ บริเวณถนนสุขุมวิท ซึ่งในเวลานั้นเรียกว่า บางกะปิ

ตั้งแต่เดือนมกราคม 2487 ถึงเดือนมกราคม 2488 ประเทศไทยถูกโจมตีทางอากาศจากฝ่ายสัมพันธมิตร ประมาณ 250 ครั้ง มีเครื่องบินเข้าปฏิบัติการประมาณ 2,490 เที่ยวบิน ทิ้งลูกระเบิดทำลายประมาณ 18,600 ลูก ระเบิดเพลิงประมาณ 6,100 ลูก ทุ่นระเบิดประมาณ 250 ลูก พลุส่องแสงประมาณ 150 ลูก มีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,900 คน บาดเจ็บประมาณ 3,000 คน อาคารถูกทำลายประมาณ 9,600 หลัง เสียหายประมาณ 1,200 หลัง รถจักรเสียหาย 73 คัน รถพ่วงเสียหาย 617 คัน เรือจักรกลเสียหาย 14 ลำ เรืออื่น ๆ ประมาณ 100 ลำทรัพย์สินเสียหายประมาณ 79 ล้านบาท


<iframe src=”https://www.facebook.com/plugins/video.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fsuphisara1991%2Fvideos%2F263670114037008%2F&show_text=0&width=560″ width=”560″ height=”314″ style=”border:none;overflow:hidden” scrolling=”no” frameborder=”0″ allowTransparency=”true” allowFullScreen=”true”></iframe>

ทีมข่าว สำนักข่าว vihok news รายงาน