ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #ตั้งพรรคทหารก็เท่ากับแบ่งแยกผู้รักชาติ

#ตั้งพรรคทหารก็เท่ากับแบ่งแยกผู้รักชาติ

13 November 2017
873   0

ตลอดเวลาที่ผ่านมา 85 ปี คนไทยคงมีประสบการณ์ทางการเมืองมาไม่น้อย เกี่ยวกับการตั้งพรรคทหาร ทั้งในยุค รสช.ในปี 2534 จนเกิดวิกฤติ พฤษภาทมิฬ ในปี 2535 ในยุคพลเอกสุจินดา จอมพลป. พิบูลสงคราม จอมพลสฤดิ์ ธนรัชต์ พลเอกสนธิ บุญยรัตกรินทร์ ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ก่อตั้งพรรคทหาร

          

แต่ที่ผ่านมาพรรคทหารในทุกยุคทุกสมัยมีเป้าหมายหลักคือการสืบทอดอำนาจ ทางการเมืองเพียงเท่านั้น โดยจะอ้างว่าทกรรม “ทำเพื่อชาติ” ทุกครั้งไป แต่สุดท้ายก็จะล่มสลายลง ขาดความยั่งยืน มั่นคง ขณะเดียวกันพรรคทหารยังทำลายความเป็นปึกแผ่นของ ฐานการเมืองฝ่ายรักชาติ ที่จะอยู่ตรงข้ามฝ่ายทำลายชาติ อันเป็นตัวบั่นทอนให้สถาบันสั่นครอนในเวลาเดียวกัน เพราะสุดท้ายผู้ชนะคือฝ่ายล้มล้างการปกครอง

ในระยะ10 ปีที่ผ่านมา ในการรัฐประหารถึง 2 ครั้ง การถูกยุยงทั้งทางตรงและทางอ้อม จากสนิมที่เกิดจากเนื้อในเหล็ก จะกัดกร่อนเนื้อเหล็กจนขาดสะบั่นลงในที่สุด ในยุครัฐประหารที่ผ่านมาทหารถูกหลอกให้ตั้งพรรคการเมือง โดยใช้ทหารด้วยกันเอง ที่เดินสายยุยงปลุกระดม ปัจจุบันก็มีนายทหารยศพลเอก “ตระกูลเดิม” เดินสายสนับสนุนทั้งทางตรง และทางอ้อม กับพรรคเล็กและพรรคปลาไหลไว้เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งยุให้อดีตผู้ใต้บังคับบัญชาไปกรอกหูให้ผู้มีอำนาจตั้งพรรคทหาร

จนมีการไปเจรจาลับๆกับกำนันท่านหนึ่ง ที่จะแบ่งแยก “พรรคประชาธิปัตย์” อันเป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งเมื่อ 6 เมษายน 2489 อันเป็น “วันจักรี” ที่อยู่คู่ราชบัลลังค์มาตั้งแต่สมัยราชกาลที่ 7 ที่มี พท.ควง อภัยวงค์ น้องชายของ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ที่มีพระนามเดิมว่า เครือแก้ว อภัยวงศ์ บุตรีของพระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์) กับคุณเล็ก บุนนาค ต่อมาได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า สุวัทนา ได้เข้ารับราชการฝ่ายใน ในตำแหน่งเจ้าจอมสุวัทนา และได้รับการสถาปนาเป็น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีของรัชกาลที่ 6 ตามลำดับ พรรคประชาธิปัติย์มีเป้าหมายเชิงนัยยะที่สำคัญ เพื่อต่อสู้กับเผด็จการคณะราษฎรที่ใช้กำลังทหารยึดอำนาจรัชกาลที่ 7 ตั้งแต่ปี 2475 ในเวลา 06.05 น.

หลักเหล่านี้ภาษาทหารอาจเรียกว่าการแทรกซึม บั่นทอน เอาประโยชน์เข้าล่อ ทางการเมืองเรียกหลักเหล่านี้ว่ากลยุทธ์ “แบ่งแยกศัตรู” เพื่อให้เกิดการแบ่งแยก ล้มลงอย่างกระทันหันของนักการทหารที่อ่อนด้อยเรื่องการเมือง ที่ชะล่าใจ เถลิงในอำนาจ ที่เพิ่งล้มลงมาหมาดๆในการรัฐประหารครั้งที่ผ่านมาในปี 2549 จนเป็นวาทกรรม “เสียของ” และถูกเอาคืนกรณี “เขายายเที่ยง” ในที่สุด

การตั้งพรรคหารจึงมิใช่เป็นเพียงตั้งพรรคการเมืองขึ้นเพื่อแสวงหาอำนาจเท่านั้น หากมองผิวเผินพรรคทหารอาจจะได้รับบทเรียนอย่างแสบเผ็ด ดั่งพรรคมาตุภูมิ แต่แท้ที่จริงแล้ว ผู้ที่ต้องมารับผลจากพรรคทหารคือ “สถาบันชาติ” เพราะเมื่อฝ่ายรักชาติถูกแบ่งแยก กำลังย่อมจะอ่อนแอลง ความพ่ายแพ้ย่อมเกิดขึ้นกับผู้รักชาติเป็นเรื่องธรรมชาติ การตั้งพรรคทหาร จึงเท่ากันทแบ่งแยกผู้รักชาตินั้นเอง

“ การเมืองคือการแสวงหาอำนาจ นักการเมืองคือนักแสวงหาอำนาจ อำนาจที่ยิ่งใหญ่คืออำนาจการปกครองประเทศ ประชาชนจึงต้องรู้จักนักการเมือง และพรรคการเมืองอย่างลึกซึ้ง ก่อนจะมอบอำนาจให้นักการเมือง “

เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา
13 พฤศจิกายน 2560