ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #ตร.ไม่รับแจ้วความ ! ดร.สุกิจ ชี้บทเรียนราคาแพง

#ตร.ไม่รับแจ้วความ ! ดร.สุกิจ ชี้บทเรียนราคาแพง

23 June 2021
525   0

…………\\\\\……………………
โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม นักวิชาการด้านกฏหมาย

ศึกษากรณี ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พิพากษาคดีกล่าวหา พ.ต.ท. ปัญญาพจน์ ปานทอง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวน (สบ.2) สถานีตำรวจนครบาลบางบอน ไม่รับแจ้งความ กรณีผู้เสียหายถูกปล้นทรัพย์ และปลอมเอกสารเปรียบเทียบปรับคดี…

ประชาชนส่วนใหญ่ เบื่อหน่ายกับตำรวจท้องที่ ประชาชนไปแจ้งความพนักงานสอบสวนก็จะทำตัวเปรียบเสมี่ยนศาลเสียเอง จะปัดความรับผิดไม่รับแจ้งความ โดยส่วนใหญ่จะบอกว่าไม่ใช่อยู่ในอำนาจการสอบสวนของตน “เจตนาของกฏหมายนั้น ระบุว่า
ในคดีความผิดทางอาญาที่ประชาชนพึ่ง”ตำรวจนั้น จะต้องมีการสอบสวนโดยชอบเท่านั้น หากคดีมีความเกี่ยวพันกันหลายท้องที่ ๆใดท้องที่หนึ่งเป็นผู้มีอำนาจสอบสวน

คดีนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด พ.ต.ท. ปัญญาพจน์ ปานทอง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวน (สบ.2) สถานีตำรวจนครบาลบางบอน ไม่รับแจ้งความ มีมูลความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157, 161, 162 (1) , (4) และมาตรา 200…ฐานเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าพนักงานปลอมเอกสาร เจ้าพนักงานทำเอกสารเท็จ และเจ้าพนักงานในการยุติธรรมช่วยเหลือบุคคลมิให้ต้องรับโทษ …

ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 157 “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ประกอบ มาตรา 161 “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร กรอกข้อความลงในเอกสารหรือดูแลรักษาเอกสาร กระทำการปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้น ต้องระวางโทษ…”

คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 2974/2516…“คำร้องทุกข์” เป็นคนละเรื่องกับ “อำนาจการสอบสวน” ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.124 ไม่ได้บังคับให้ร้องทุกข์เฉพาะต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวน แม้พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่ง ซึ่งมิได้มีอำนาจสอบสวนในคดีนั้น ก็ยังมีอำนาจรับคำร้องทุกข์คดีนั้นได้

คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 419/2556 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 เรื่อง การรับแจ้งความ กรณีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนที่ความผิดมิได้เกิดในอำนาจของตนให้รับแจ้งความ แล้วส่งเรื่องไปยังพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจต่อไป พนักงานสอบสวนมีหน้าที่รับคำร้องทุกข์ ห้ามมิให้ปฏิเสธว่าเหตุมิได้เกิดในเขตอำนาจของตน…

คำพิพากษาศาลฎีกา 7630/2549…โจทก์เมาสุราประพฤติตนวุ่นวายครองสติไม่ได้ในที่สาธารณะ เมื่อพนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบปรับแล้วทำให้คดีเป็นอันเลิกกัน ต่อมาโจทก์ได้ร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีกับผู้ที่ทำร้ายโจทก์ จำเลยในฐานะพนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องรับคำร้องทุกข์ การที่จำเลยไม่รับคำร้องทุกข์ของโจทก์ในข้อหาทำร้ายร่างกาย โดยอ้างแต่เพียงว่าคดีเลิกกันแล้ว โดยที่ไม่มีกฎหมายให้อำนาจ จึงเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา157

…คดีของ พ.ต.ท. ปัญญาพจน์ ปานทอง พนักงานสอบสวน สน.บางบอน
ศาลฯ พิพากษาว่าจำเลย มีความผิดตาม มาตรา 157 , 161 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษบทหนักตามมาตรา 157 ให้จำคุก 2 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ มีเหตุบรรเทาโทษ จึงลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 1 ปี 4 เดือน…

จึงเป็นอุทาหรณ์….ของพนักงานสอบสวนทั่วประเทศว่า การแจ้งความสามารถแจ้งที่สถานีตำรวจที่ใหนก็ได้ หากพนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความ จะเป็นความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ”…ข้อสำคัญ หากประสงค์จะดำเนินคดี ต้องระบุ “แจ้งความเพื่อดำเนินคดี” มิใช่ “แจ้งความเพื่อใช้เป็นหลักฐาน” จึงเป็นกรณีศึกษา

ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม