เรื่องฮอต ประเด็นฮิต » #ดีเซล 45 บาท ! รมว.พลังงานชี้หากรัฐไม่อุ้ม รับน้ำมันแพงอาจยืดเยื้อ

#ดีเซล 45 บาท ! รมว.พลังงานชี้หากรัฐไม่อุ้ม รับน้ำมันแพงอาจยืดเยื้อ

18 June 2022
242   0

   เมื่อเวลา 8.05 น. วันที่ 18 มิ.ย.65 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน คุยเรื่องบ้านเรื่องเมืองกับรัฐมตรี กล่าวในวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย คลื่น 92.5 เรื่องทำไมน้ำมันแพงขึ้น รัฐบาลช่วยอะไรอยู่บ้าง? ว่า เรื่องข้อมูลพื้นฐานด้านพลังงานของไทยเป็นประเทศนำเข้าพลังงานจำนวนมาก ประมาณ 90% มีการใช้ 1 ล้านบาเรลล์ต่อวัน และก๊าซธรรมชาติ ไทยมีในประเทศแต่ใช้มาแล้วประมาณ 30 ปี จึงต้องมีการนำเข้าประมาณ 35% แม้ในอ่าวไทยจะมีก๊าซธรรมชาติ แต่นำขึ้นมาใช้ประมาณ 65%

ทั้งนี้ ก่อนหน้าเกิดโควิด-19 ราคาน้ำมันก็ทรงๆตัวอยู่ที่ 70-80 เหรียญต่อบาเรลล์ พอช่วงโควิด-19 เกิดขึ้นการเดินทางไปมาหาสู่กันก็ลดลง การใช้พลังงานลดลงเช่นกันอยู่ที่ประมาณ 50 เหรียญต่อบาเรลล์ ทุกอย่างเป็นหน้าที่ของทุกประเทศ ปี 2563 อยากลำบากเพราะยังไม่มีวัคซีน

มาถึงปี 2564 เริ่มมีวัคซีนเข้ามา ทุกคนเริ่มหาวัคซีนประเทศที่ใช้ก่อน เศรษฐกิจก็เริ่มดีก่อนกิจกรรม การเดินทางมีเพิ่มขึ้น การใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ปลายปี 2564 เริ่มทะยานขึ้น จาก 50 เหรียญต่อบาเรลล์ เป็น 70 เหรียญต่อบาเรลล์ และขึ้นไปเกือบ 100 เหรียญต่อบาเรลล์

เมื่อต้นปี 2565 การใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นอีกครั้ง หลังมีความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนขยายวงไปทำให้เกิดความขัดแย้งของขั้วอำนาจ 2 ขั้ว ทำให้เกิดวิกฤตอีกำครั้ง ทำให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นไม่จบ น้ำมันบางตัวสูงขึ้นเป็นประวัติศาสตร์ เพราะรัสเซียผลิตน้ำมัน 11 ล้านบาเรลล์ต่อวัน คิดเป็น 10% ของปริมาณน้ำมันโลก ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นจาก 100 เหรียญสหรัฐต่อบาเรลล์ เพิ่มเป็น 120 เหรียญสหรัฐต่อบาเรลล์ และไม่มีทีท่าจะหยุด รวมไปถึงก๊าซธรรมชาติก็สูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งไทยยังนำเข้า 35% เคยซื้อ 10 เหรียญสหรัฐ แต่ขณะนี้ราคาเกือบ 30 เหรียญสหรัฐแล้ว

*น้ำมันแพงเกิดจากเรื่องภายนอกรัฐบาลไม่ได้ก่อขึ้นแต่ไทยน้ำมันพลังงานยังถูก

ราคาน้ำมัน พลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากปัจจัยภายนอก ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เป็นวิกฤตซ้อนวิกฤตสงครามซ้อนโควิด เป็นสิ่งที่ต้องอยู่กับเราสักระยะ ราคาน้ำมัยนขึ้นมาเกือบ 2 เท่า พร้อมกับสินค้าอีกหลายๆอย่างที่เป็นวัตถุดิบ แพงขึ้นอีก 7-8 ตัว

อาทิ พลังงาน ข้าวข้าวสาลี ทองแดง เป็นต้น ส่งผลให้มีการกักกันทางการค้าเกิดขึ้น สินค้าหลายประเทศที่แพงขึ้น กระทบต่อเมืองไทย และทำให้ค่าบาทอ่อนตัว แม้จะดีต่อการส่งออก เศรษฐกิจยังดำเนินการต่อได้แม้เงินเฟ้อจะสูงขึ้น เศรษฐกิจยังโตได้เแต่สินค้านำเข้าจะแพงขึ้น เป็นผลกระทบ 2 ด้าน อยากให้ประชาชนเข้าใจไม่ใช่เรื่องที่รัฐบาลก่อขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยภายนอก

ราคาน้ำมันอาเซี่ยนใน 10 ประเทศไทยอยู่อันดับ 7-8 จะถูกกว่าหลายประเทศมี เพียงไม่กี่ประเทศที่ ราคาถูกกว่าไทย คือมาเลเซีย และ บรูไน เพราะเป็นผู้ส่งออก ผู้ขายน้ำมัน จึงแบ่งปันกำไรมาช่วยประชาชนได้ รัฐบาลพยายามพยายามรักษา ประคับประคองค่าครองชีพพยายามค่าครองชีพ โดยเฉพาะน้ำมันดีเซล เพราะกระทบวงกว้าง เมื่อเทียบกับราคาเพื่อนบ้าน เบนซินเงินเก็บเข้ากองทุนจะไม่เหลือแล้ว

อีกอย่างรัฐบาลต้องรักษาเสถียรภาพ ให้ไทยสามารถมีพลังงานใช้ตลอดเวลา หากต้องตรึงราคาทุกตัวอาจเกิดข้อจำกัด มีเงินตราต่างประเทศจำกัด ขาดแคลนพลังงานเหมือนบ้าน อาจขาดแคลนน้ำมัน ปั๊มน้ำมันอาจเปิดเป็นเวลา ไม่มีน้ำมันไม่ซื้อและราคาสูงมาก จนเห็นหลายๆครั้งมีการเข้ามาจากต่างประเทศมาเติมน้ำมันในประเทศไทย รัฐบาลอนุโลมให้สำหรับนักท่องเที่ยว ไม่เพียงน้ำมันอย่างเดียว ก๊าซหุงต้มไทยก็ถูกกว่าเพื่อนบ้าน ก็ยอมรับว่ากังวลว่าจะมีการลักลอบส่งออกไปให้เพื่อนบ้าน

*ไม่จริ๊งค่าการกลั่นแค่ 3 บาทต่อลิตร 8-9 บาทต่อลิตรคิดยังไง

นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า สำหรับเรื่องของค่าการกลั่น คือ ส่วนต่างของราคาน้ำมันดิบกับค่าเฉลี่ยของราคาผลิตภัณฑ์ที่โรงกลั่นขายได้ นี่ตามหลักสากล เพราะน้ำมันดิบนำเข้าใช้ประโยชน์เลยไม่ได้ ต้องนำมาแยกส่วน แต่ละโรงกลั่นมีค่าการกลั่นไม่เท่ากัน

ย้อนหลังไป 10 ปีค่าการกลั่นอยู่ที่ประมาณ 2 บาทต่อลิตร แต่เมื่อช่วงโควิด-19 ค่าการกลั่นเหลือไม่ถึง 1 บาทต่อลิตร ถือว่าเขาไม่มีกำไร ส่วน ปี 2565 กระทรวงพลังงานใช้วิธีเดียววิธีเดิมในการคำนวณที่ทำมานานแล้ว ค่าการกลั่นจะอยู่ที่ 3 บาทต่อลิตร สูงกว่าค่าเฉลี่ยช่วงโควิด ที่ต่ำมาก

อยากให้ประชาชนเข้าใจ เขาไม่ได้มาปล้น ตัวเลข 8 บาทต่อลิตร 9 บาทต่อลิตร ไม่รู้จริงๆคำนวณอย่างไร เป็นเรื่องที่พูดคุยกัน กับโรงกลั่นรัฐบาลขอความร่วมมือขอความช่วยเหลือประชาชนตลอดเวลา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

โดย เรื่องของโรงกลั่น จะมีส่วนรักษาความมั่นคงให้กับประเทศได้อย่างไร ประเทศที่มีโรงกลั่นกับไม่มีโรงกลั่นเสถียรภาพเรื่องของพลังงานมันต่างกัน หากไทยไม่มีโรงกลั่นปล่อยให้มีการนำเข้า อาศัยการซื้อน้ำมันจากต่างประเทศ ต้องซื้อ ต้องแย่งซื้อบวกค่าขนส่ง ราคาต้องสูงกว่าทุกวันนี้มากๆ ต้องสำรองน้ำมันดิบ ไม่ต่ำกว่า 10 วัน แต่ทุกวันนี้ไทยมีสำรองไว้ไม่ต่ำกว่า 60 วัน เพื่อป้องกันการขาดแคลน

*รัฐไม่อุ้มดีเซลอยู่ที่ 45 บาทต่อลิตร-สิ้นเดือนมิ.ย.กองทุนน้ำมันติดลบแสนล้าน

นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวต่อว่า ตั้งแต่โควิด-19 เกิดขึ้นถึงปัจจุบัน 2 ปีกว่ารัฐบาลเข้าดูแลในเรื่องของความเดือดร้อนของประชาชนในภาพรวม ส่วนเรื่องพลังงานมีการการตรึงราคาดีเซลให้อยู่ 110 เหรียญสหรัฐต่อบาเรลล์ รัฐบาลก็ตรึงราคาไว้ที่ 30 บาทต่อลิตร ราคาทุกวันนี้ขึ้นไปอยู่ประมาณ 170 เหรียญสหรัฐต่อบาเรลล์ และน้ำมันดิบ 120 เหรียญสหรัฐต่อบาเรลล์ ก็ต้องปรับขึ้นเป็นความจำเป็น ราคาขึ้นมาประมาณ 35 บาทต่อลิตร

แต่รัฐบาลยังช่วยอยู่หากไม่ช่วยอะไรเลย ราคาน้ำมันจะอยู่ที่ 45 บาทต่อลิตร รัฐบาลช่วยอุ้มราคาอยู่ที่ 10 บาทต่อลิตร หรือประมาณ 2 หมื่นล้านบาทต่อเดือนกองทุนน้ำมันติดลบอยู่ 9 หมื่นล้านบาทคาดจะถึง 1 แสนล้านบาทในสิ้นเดือนนี้

ทั้งนี้หากมีการปรับราคาขึ้นเลยที่เดียว จะไม่ใช่แค่เรื่องของการขนส่ง แต่จะเป็นภาระให้กับประชาชน ราคาสินค้าที่แพงขึ้น น้ำมันดีเซล กระทบต่อการขนส่งต้นทุนสินค้าจำนวนมาก ในอดีตมีกองทุนเพื่อส่งเสริมอะไรต่างๆขณะนี้ก็ตัดแทบจะเป็นศูนย์

ส่วนผสมไบโอดีเซลตอนนี้เหลือครึ่งเดียว การปรับลดภาษีสรรพสามิตตอนนี้ตัดแล้วหลังมีการเรียกร้องกันเยอะในส่วนของน้ำมันดีเซล การช่วยเหลือผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่มีใบอนุญาตสาธารณะตอนนี้ดำเนินการไปแล้ว กำลังศึกษาเพื่อขยายผลไปสู่ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ อย่างไรภายในเดือนมิ.ย.นี้น่าจะรู้กัน

*พลังงานพุ่ง 4 เท่ารัฐอุ้มไว้ให้ ปตท.การไฟฟ้าดูแลไฟฟ้า-ก๊าซหุงต้ม ค่อยๆขึ้น

ส่วนก๊าซหุงต้มต้องช่วยเหลือ อุดหนุนราคาประมาณ 1,500-2,000 บาทต่อเดือน แต่ก็ต้องปรับราคาขึ้นเรื่อยๆ แต่รัฐบาลก็ช่วยเหลือคนตัวเล็กคนถือบัตรสวัสดิการ พ่อค้า แม่ขาย เข้าโครงการรบส่วนลดเงินช่วยเหลือ การขึ้นอัตราไฟฟ้า ขึ้นมาที่ละสลึง หรือ25 สตางค์ ย้ำราคาสูงขึ้น 4 เท่า ไทยต้องนำเข้า 35% แต่รัฐบาลให้ ปตท.และการไฟฟาฝ่ายผลิตดูแลเรื่องนี้ไป แต่สำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือนรัฐบาลก็ดูแล

รัฐบาลดำเนินการการช่วยการขนส่งแท็กซี่ รัฐบาลขอความช่วยเหลือไปยัง ปตท. หลายเรื่องกำลังดำเนินการอยู่รวมกันแล้ว ตลอดเวลา 2 ปีกว่า จากโควิด-ปัจจุบัน เม็ดเงินที่รัฐบาลช่วย 2 แสนล้านบาทเพื่อลดผลกระทบจากราคาพลังานที่ขึ้นเกิน 2 เท่าตัว บางประเทศปรับเพิ่มขึ้นเลย บางประเทศปล่อยไหลเลย ตรงนี้เป็นความตั้งใจของรัฐบาล รัฐบาลพยายามรักษาเสถียรภาพทางการเงิน เมื่อพ้นวิกฤตแล้วเราต้องแข็งแรง

อย่างไรก็ตามส่วนของประชาชนทั่วไป หากมีส่วนช่วยเรื่องการประหยัดพลังงาน ในยามโควิด-19 มันแสนสาหัส แต่คนไทยร่วมมือเห็นอกเห็นใจกัน เป็นความร่วมมือเป็นการให้ความรู้ โดยกระทรวงพลังงานพยายามให้ความรู้ในการช่วยประหยัดพลังงาน คนไทยสามารถลดราคาน้ำมันไประมาณ 10% เพื่อร่วมกับรัฐบาล ช่วยกันมันไม่ใช่เรื่องยากเพื่อช่วยประเทศชาติไม่ต้องนำเข้าพลังงานให้สูงขึ้น ประหยัดทุกๆ 10% ของการใช้ จะลดเงินในการนำเข้า 10% เป็นความคุ้มค่า เป็นหน้าที่ของคนไทย และรัฐบาล กระทรวงพลังงานพร้อมเป็นตัวกลางรณรงค์ในเรื่องนี้ มีเป้าหมายลดพลังงาน 20%

**ลุ้นกลุ่มจี7หาทางออกน้ำมันแพงหนุนประชาชนใช้รถอีวี

นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า คาดว่าสถานการณ์น้ำมันแพงจะยืดเยื้อ โดยรัฐบาลยังติดตามใกล้ชิด แต่จะยืดเยื้อและราคาสูงเท่าไหร่นั้น ต้องติดตาม ปลายเดือนมิ.ย.นี้จะมีการประชุมจี 7 ประเทศผู้นำที่ได้รับผลกระทบจากพลังงาน ต้องหาทางออกให้กับประชากรทั้งโลก ประเทศจี 7 มหาอำนาจของโลก ได้ฝากหน่วยงานพลังงานที่จะต้องไปให้ข้อมูล นำเสนอ กลุ่มจี 7 ตามแนวทางที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้แนวทางไว้ ให้คิดถึงผลกระทบต่อทั่วโลก หากราคาพลังงานแพงเช่นนี้จะทำอย่างไร ปัญหาพลังงาน ไม่ใช้สิ่งที่เราก่อ เราต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

อย่างไรก็ตามรัฐบาลก็สนับสนุนให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้า(อีวี) สำหรับผู้ที่เตรียมจะเปลี่ยนรถยนต์ เพราะ อีวีเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติ ไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ ที่จะทำให้อีวีเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตรถยนต์ในประเทศ หากเปลี่ยนมาใช้รถอีวี ต้นทุนการเดินทางของไทยก็จะอยู่ที่ประมาณ 1 กิโลเมตร ต่อการใช้ไฟฟ้าไม่ถึง 1 บาท