เรื่องฮอต ประเด็นฮิต » #ฉ้อฉลชิงอำนาจ ! ดร.ณฐพร จี้นายกตั้งกก.สอบลดโทษสุดซอย พวกทุจริตย้อนหลัง

#ฉ้อฉลชิงอำนาจ ! ดร.ณฐพร จี้นายกตั้งกก.สอบลดโทษสุดซอย พวกทุจริตย้อนหลัง

6 April 2022
446   0

 

ฉ้อฉลเชิงอำนาจ ?
หมายถึง การใช้อำนาจทางการเมือง เอื้อประโยชน์ทางการเมือง หรือธุรกิจให้กับกลุ่มของตัวเองหรือพวกพ้อง โดยการออก หรือแก้ไข กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการฉ้อฉล โดยไม่ต้องรับผิดชอบและยากต่อการตรวจสอบ ซึ่งเกิดขึ้นในยุคของรัฐบาล คสช.จนถึงปัจจุบัน ตัวอย่าง “ฉ้อฉลเชิงอำนาจ” กรณีลดโทษสุดซอย
ผมมีโอกาสได้อ่านแถลงข่าวของคณะกรรมการตรวจสอบฯ ที่ท่านนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้ง สรุปผลการตรวจสอบว่า “คณะกรรมการ ไม่พบความผิดพลาดหรือความบกพร่องในกระบวนการตราพระกฤษฎีกาอภัยโทษ ปีพ.ศ ๒๕๖๔” ผมตกใจแทบตกจากเก้าอี้ และเศร้าใจ นี่หรือคือการทำงานที่ประชาชนเขาเรียกร้องให้ตรวจสอบว่า ทำไมนักโทษคดีอาชญากรทางเศรษฐกิจ และที่เป็นภัยต่อสังคม จึงได้รับการลดโทษแบบสุดซอย ภายใน ๑ ปี ถึง ๔ ครั้ง ซึ่งรัฐมนตรี คณะกรรมการฯ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ไม่ทราบเลยหรือว่า การกระทำของท่าน เป็นการใช้อำนาจ ล่วงละเมิดอำนาจของศาลสถิตย์ยุติธรรม และไม่ทราบเลยหรือว่า คดีนี้กว่าจะมีคำพิพากษาต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๕ ปี สูญเสียงบประมาณแผ่นดิน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีอย่างมหาศาล ศาลตัดสินจำคุก ๕๐ ปี แต่พวกท่านใช้เวลาภายใน ๑ ปี ลดโทษให้เหลือ ๖ ปี อย่างนี้เรียกว่าปกติหรือคับ ฉะนั้น หน้าที่ของคณะกรรมการฯที่จะต้องตรวจสอบว่า ระเบียบ ขั้นตอน วิธีการ หลักเกณฑ์ ตั้งแต่การเลื่อนชั้นนักโทษ ประวัติพฤติกรรม ในการกระทำความผิด เพื่อพิจารณาเสนอชื่อในการขอรับพิจารณาพระราชทานอภัยโทษมีขั้นตอนใด ที่แสดงให้เห็นถึงการเอื้อประโยชน์ แต่มิใช่การตรวจสอบกระบวนการตราพระราชกฤษฎีกา เนื่องจากการตราพระรากฤษฎีกามีขั้นตอน กระบวนการ และวิธีการ ที่กฎหมายกำหนดไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องตรวจสอบ ในกรณีนี้สิ่งที่คณะกรรมการควรจะตรวจสอบว่า ทำไมนักโทษคดีที่เป็นภัยต่อสังคม จึงได้รับการลดโทษอย่างสุดซอย
รัฐมนตรีกับพวก ทำไมจึงไม่ออกระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ในการเลื่อนชั้น ในการขอเสนอชื่อขอพิจารณาพระราชทานอภัยโทษแก่นักโทษกลุ่มที่เป็นภัยต่อสังคม ให้แตกต่างจากนักโทษกลุ่มทั่วไป ผมขอยืนยันว่า พระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษเป็นสิ่งที่ดี และมีความจำเป็น และเป็นเรื่อง “ขบวนการยุติธรรมสมานฉันท์” ที่จะช่วยเหลือนักโทษที่กระทำความผิดไม่ร้ายแรง ฟื้นฟูให้เป็นคนดีคืนสู่สังคม แต่นักโทษที่เป็นอาชญากรทางเศารษฐกิจและเป็นภัยต่อสังคม บุคคลกลุ่มนี้จะได้รับการอภัยโทษก็ต้องมีหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้เกิดความสำนึกในผลแห่งการกระทำ และวิธีการเหล่านี้เกือบทุกประเทศในโลกนี้เขาก็ใช้กัน
ฉะนั้น การดำเนินการ ลดโทษแบบสุดซอยครั้งนี้ จึงน่าจะเป็นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือโดยทุจริต ซึ่งคณะกรรมการจะต้องตรวจสอบ
กรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ประธานผู้พิจารณาเสนอชื่อผู้จะได้รับพระราชทานอภัยโทษ จากเดิมเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ทุกจังหวัด แก้ไขเป็นผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัด ซึ่งภาษาชาวบ้านเรียกว่า “เล่นเองกินเอง” กรณีแบบนี้เขาเรียกว่าผิดปกติไหมคับ
สิ่งที่ประชาชนเขาเคลือบแคลงสงสัยและเรียกร้องให้มีการตรวจสอบการลดโทษอย่างสุดซอย จะต้องหาผู้กระทำความผิด มาลงโทษ
ว่าทำไม บุคคลที่เป็นภัยต่อสังคมจึงได้รับโทษแบบสุดซอยเช่นนี้
ฉะนั้น จึงไม่พ้นหน้าที่ ของนายกรัฐมนตรี ในยุค “ฉ้อฉลเชิงอำนาจ” จะต้องทำการ “แก้ไขในสิ่งที่ผิด” ตั้งกรรมการสอบสวนรัฐมนตรี คณะบุคคล ที่อาศัยกฎหมาย กฎ ระเบียบ เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มบุคคลที่เป็นอาญชกรทางเศรษฐกิจให้ได้รับการลดโทษอย่างสุดซอย เพื่อให้ประชาชนได้คลายความเคลือบแคลงสงสัย
เช่น การตรวจสอบว่า รัฐมนตรีและบุคคลที่เกี่ยวข้อง มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับนักโทษกลุ่มนี้อย่างไรหรือไม่ และต้องมีการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของรัฐมนตรีกับพวกที่เกี่ยวข้อง ตั้งปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งบุคคลที่จะเป็นประธานในการตรวจสอบดังกล่าว ควรจะต้องเป็นบุคคลที่ประชาชน ให้ความศรัทธาเชื่อถือและมีความเป็นกลางและไม่จำเป็นต้องใช้เวลาที่ยาวนานเนื่องจากข้อมูลข้อเท็จจริงจะมีประชาชนเขาส่งให้คณะกรรมการที่เขาไว้ใจ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ผมจึงกราบเรียนขอให้นายกรัฐมนตรี ได้โปรดพิจารณาสั่งตั้ง คณะกรรมการสอบสวน กรณีดังกล่าวเพื่อเป็น “การตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน”
ดร.ณฐพร โตประยูร
อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน
6 เมษายน 2565