เรื่องฮอต ประเด็นฮิต » #คุก สส.เพื่อไทย ! 16 เดือน คดีเสียบบัตรแทน ไม่รอลงอาญา

#คุก สส.เพื่อไทย ! 16 เดือน คดีเสียบบัตรแทน ไม่รอลงอาญา

10 October 2022
256   0

วันที่ 22 ก.ย.2565 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษา คดีหมายเลขแดงที่ 22/2565 จำคุก 16 เดือน นายนริศร ทองธิราช ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต คดีเสียบบัตรแทนกัน ตามที่ปรากฏเป็นข่าวก่อนหน้านี้ 

ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org)เรียบเรียง คำพิพากษาฉบับเต็มรายงาน

ระหว่าง อัยการสูงสุด โจทก์ นายนริศร ทองธิราช จำเลย

เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

@ป.ป.ช.มีอำนาจไต่สวน-คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญแค่ส่วนประกอบ

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยข้อแรกมีว่า โจทก์มีอํานาจยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองหรือไม่ เห็นสมควรวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจําเลยเป็นลําดับ ไปดังนี้

ข้อที่จําเลยโต้แย้งว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอํานาจรับคําร้องที่เกี่ยวกับการกระทําของจําเลย เนื่องจากการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นอํานาจของรัฐสภาที่จะดําเนินการได้ ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 68 มิได้บัญญัติให้ผู้ร้องยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยตรงได้โดยไม่ผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากอัยการสูงสุดก่อน ส่งผลให้คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 15-18/2556 ไม่มีผลผูกพันคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 216 วรรคห้า คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงไม่มีอํานาจ ไต่สวนและชี้มูลความผิดตามผลแห่งคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น

เห็นว่า ตามคําวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญที่ 15-18/2556 ไม่มีประเด็นเรื่องความรับผิดทางอาญาของบุคคลใด ดังนั้น การที่บุคคลใดจะต้องรับโทษอย่างไรหรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่ต้องดําเนินการเป็นคดีอาญาอีกส่วนหนึ่งตามบทกฎหมายต่อไป โดยจะต้องมีการพิจารณาคดีอาญาโดยเปิดเผยต่อหน้าบุคคลที่อยู่ในฐานะเป็นจําเลย ทั้งในคดีอาญาให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด และมาตรฐานการพิสูจน์ความผิดในคดีอาญานั้น ศาลจึงต้องแน่ใจว่าจําเลยเป็นผู้กระทําความผิดโดยปราศจากความสงสัยตามสมควร เมื่อกระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีอาญามีความแตกต่างจากการพิจารณา และวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ย่อมมีอํานาจหน้าที่ไต่สวนข้อเท็จจริงตาม ความจริงที่เกิดขึ้นแล้วมีความเห็นหรือคําวินิจฉัยเองได้ ทั้งนี้ไม่ว่าจะได้มีคําวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญที่ 15-18/2556 หรือไม่ก็ตาม ซึ่งคดีนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็ได้ดําเนินการ ไต่สวนพยานหลักฐานนอกเหนือไปจากที่ปรากฏในคดีของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ส่วนคําวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวคงนํามาประกอบการไต่สวนข้อเท็จจริงเท่านั้น และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ให้โอกาสจําเลยชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาอย่างเต็มที่แล้ว แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. มิได้ชี้มูลความผิดไปโดยอาศัยเหตุที่คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดังที่จําเลยยกเป็นข้อต่อสู้ ข้ออ้างข้อนี้ของจําเลยฟังไม่ขึ้น

@การกระทําของสมาชิกรัฐสภาย่อมจะต้องถูกตรวจสอบได้

ที่จําเลยอ้างว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่มีอํานาจตรวจสอบว่ารัฐสภาหรือสมาชิก รัฐสภาได้ปฏิบัติถูกต้องตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา เพราะเป็นเรื่องภายในของรัฐสภาโดยเฉพาะนั้น

เห็นว่า แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติให้รัฐสภามีอํานาจ หน้าที่ในการเสนอญัตติและพิจารณาญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่ในส่วนการกระทําของสมาชิกรัฐสภาในฐานะเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐย่อมจะต้องถูกตรวจสอบโดยกระบวนการ ยุติธรรมได้ โดยหากมีการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติใดที่อาจมีความรับผิดทางอาญา สมาชิกรัฐสภานั้นก็ต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีโดยศาลที่มีอํานาจตามบทบัญญัติของกฎหมาย หาใช่ว่าจะมีการตรวจสอบภายในของสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้นดังที่จําเลยอ้าง คดีนี้เป็นการกล่าวหาจําเลย ซึ่งเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองว่ากระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการหรือทุจริตต่อหน้าที่ จึงอยู่ในอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่จะไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อดําเนินคดีอาญาแก่จําเลย ได้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542

@กระบวนการกก.ไต่สวน มิได้เร่งรีบ เร่งรัด มุ่งเอาผิด ส.ส.พรรคเพื่อไทย

ส่วนที่จําเลยอ้างว่า คดีนี้มีการเร่งรีบรวบรัดจนถือได้ว่าเลือกปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม เนื่องจากศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ มีทัศนคติที่เป็นลบต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย ส่วนศาสตราจารย์ ภักดี โพศิริ เคยถูกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย 129 คน ยื่นขอถอดถอนออกจากตําแหน่งมาก่อน แต่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กลับแต่งตั้งให้บุคคล ทั้งสองร่วมในองค์คณะในการไต่สวนข้อเท็จจริงและเป็นผู้รับผิดชอบสํานวนนั้น

เห็นว่า เมื่อพิจารณา จากรายงานการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. แล้ว ปรากฏว่าได้มีการไต่สวนพยานบุคคลมากถึง 30 ราย บ่งชี้ให้เห็นว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. มิได้ไต่สวนข้อเท็จจริงอย่างรวบรัด อีกทั้งศาสตราจารย์ พิเศษ วิชา ได้มีหนังสือลงวันที่ 12 ธันวาคม 2556 แจ้งคําสั่งไต่สวนข้อเท็จจริงให้จําเลยทราบว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะเป็นองค์คณะในการไต่สวน และมอบหมายให้ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา นายใจเด็ด พรไชยา และศาสตราจารย์ ภักดี กรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้รับผิดชอบสํานวนการไต่สวน ข้อเท็จจริง ตามเอกสารหมาย จ.11 หน้า 195 จําเลยก็ไม่ได้คัดค้านองค์คณะในการไต่สวน ข้อเท็จจริงดังกล่าว และต่อมายังได้มีการปรับเปลี่ยนกรรมการ ป.ป.ช. ผู้รับผิดชอบสํานวน เนื่องจาก ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา นายใจเด็ด และศาสตราจารย์ ภักดี พ้นจากตําแหน่งกรรมการ ป.ป.ช. โดย แจ้งให้จําเลยทราบตามหนังสือฉบับลงวันที่ 18 มีนาคม 2559 เอกสารหมาย จ.12 หน้า 196 แล้ว ดังนั้น เมื่อศาสตราจารย์พิเศษ วิชา และศาสตราจารย์ ภักดี พ้นจากตําแหน่งไปก่อนแล้วย่อมไม่อาจเข้าไปก้าวก่ายชี้นําในขณะที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาสํานวนการไต่สวนข้อเท็จจริงและ ลงมติเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2559 ว่าการกระทําของจําเลยมีมูลความผิดทางอาญาได้ ประกอบกับ การพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดําเนินการในรูปของคณะกรรมการ การที่กรรมการคนใด จะลงความเห็นย่อมอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวนข้อเท็จจจริง ดังจะเห็นได้จากที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเป็นเอกฉันท์ด้วยคะแนนเสียง 9 เสียงว่าในส่วนนายคมเดช ไชยศิวามงคล และนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร จากการไต่สวนข้อเท็จจริงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงและ พยานหลักฐานเพียงพอที่จะฟังได้ว่าได้กระทําความผิดตามที่กล่าวหา ข้อกล่าวหาไม่มีมูลให้ ข้อกล่าวหาตกไป ตามเอกสารหมาย จ.6 หน้า 134 ซึ่งนายคมเดชและนายยุทธพงศ์ก็เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคเพื่อไทยเช่นเดียวกับจําเลย แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. มิได้ดําเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงในลักษณะเร่งรีบรวบรัดโดยมุ่งจะเอาผิดดังที่จําเลยอ้างแต่อย่างใด

@ชี้ปมบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา มิได้ระบุเวลาเกิดเหตุ มิใช่สาระสำคัญ

ที่จําเลยอ้างว่า บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. มิได้ระบุเวลาเกิดเหตุเวลากลางวันดังเช่นคําฟ้องนั้น

เห็นว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 47 วรรคหนึ่ง เป็นเพียงกําหนดรูปแบบการแจ้ง ข้อกล่าวหาให้จัดทําบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา เพียงเพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบว่าได้มีการไต่สวนใน เรื่องใดและทราบว่าการกระทําของผู้ต้องหาเป็นความผิดเท่านั้น สาระสําคัญอยู่ที่ว่ามีแจ้งข้อกล่าวหาถูกต้องตามพยานหลักฐานแล้ว ซึ่งตามบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาแก่จําเลยได้ระบุวันเดือนปีที่ เกิดเหตุแล้ว ส่วนที่ไม่ได้กล่าวว่าเป็นเวลากลางวันก็เพราะได้ระบุโดยละเอียดเป็นวันที่ 10 กันยายน 2556 เวลา 17.33 นาฬิกา กับวันที่ 11 กันยายน 2556 เวลา 16.43 นาฬิกา ตามบันทึกแจ้ง ข้อกล่าวหาเอกสารหมาย จ.68 ทั้งจําเลยได้เข้าร่วมประชุมรัฐสภาในวันเกิดเหตุ ย่อมไม่มีเหตุที่ จะเข้าใจผิดหลงแต่อย่างใด และก็ไม่ทําให้จําเลยขาดโอกาสแสดงพยานหลักฐานแก้ข้อกล่าวหา จึงไม่ใช่ข้อที่จะทําให้การแจ้งข้อกล่าวหาคดีนี้เสียไป

@คำฟ้องชอบ- จําเลยมิได้แถลงต่อศาลว่าไม่เข้าใจคําฟ้อง

ที่จําเลยอ้างว่า ฟ้องของโจทก์ ข้อ 2.1 บรรยายว่า เวลา 17.33 นาฬิกา เมื่อ ประธานในที่ประชุมแจ้งให้สมาชิกลงมติร่างรัฐธรรมนูญ แต่ตามรายงานการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเอกสารหมาย จ.59 หน้า 3072 ระบุว่า ประธานได้สั่งปิดการประชุม เลิกประชุมเวลา 17.31 นาฬิกา บันทึกการออกเสียงลงคะแนนตามเอกสารหมาย จ.59 หน้า 3506 และคลิป วีดิทัศน์หมาย วจ.4 คลิปที่ 1 เป็นเวลา 17.29 นาฬิกา ส่วนฟ้องของโจทก์ ข้อ 2.2 บรรยาย ว่า เวลา 16.43 นาฬิกา เมื่อประธานในที่ประชุมขอมติปิดอภิปรายในมาตรา 10 แต่ตาม รายงานการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเอกสารหมาย จ.60 หน้า 3460 ระบุว่า ประธานได้สั่ง ปิดการประชุมและเลิกประชุมเวลา 01.35 นาฬิกา บันทึกการออกเสียงลงคะแนนตาม เอกสารหมาย จ.60 หน้า 3539 และคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.4 คลิปที่ 2 เป็นเวลา 16.46 นาฬิกา ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบนั้น

เห็นว่า การดําเนินคดีในระบบไต่สวน ศาลต้องพิจารณา ค้นหาความจริง หากจําเลยเห็นว่าคําฟ้องของโจทก์บรรยายไม่ชอบ จําเลยย่อมมีสิทธิแถลงต่อ ศาลก่อนหรือในขณะที่ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟังเพื่อให้ศาลสั่งให้โจทก์ชี้แจงข้อหา ตามคําฟ้องหรือแก้ไขหรือเพิ่มเติมรายละเอียดแห่งคําฟ้องจนจําเลยเข้าใจ แต่จําเลยให้การปฏิเสธโดยมิได้แถลงต่อศาลว่าไม่เข้าใจคําฟ้อง จําเลยจึงไม่อาจยกปัญหาว่าฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้อีก ประกอบกับฟ้องของโจทก์ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลากระทําความผิดในลักษณะประมาณเวลาอันเป็นเพียงรายละเอียด ในชั้นพิจารณา โจทก์ย่อมนําพยานมาไต่สวนได้ว่าการกระทํานั้นเกิดขึ้นช่วงเวลาซึ่งบรรยายไว้ในฟ้องได้ ฟ้องของโจทก์จึงชอบแล้ว

@แม้ ยกเลิก กม.ป.ป.ช.ฉบับปี 2542 แต่ ฉบับปี 2561 ยังคงให้การกระทําตามฟ้องเป็นความผิดอยู่

ที่จําเลยอ้างว่า หลังเกิดเหตุได้มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ใช้บังคับซึ่งเป็นผลร้ายแก่จําเลย โจทก์จะขอบังคับให้ลงโทษจําเลยไม่ได้นั้น

เห็นว่า ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2562 ปรากฏว่ามีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2561 โดยยกเลิกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 แต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 ยังคงบัญญัติให้การกระทําตาม ฟ้องเป็นความผิดอยู่และมีระวางโทษเท่าเดิม มิใช่เป็นการยกเลิกการกระทําอันเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายเดิมไปเสียทีเดียว การที่โจทก์มีคําขอให้ลงโทษผู้ถูกกล่าวหาตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 123/1 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทําความผิด และอ้างพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 ซึ่งเป็นกฎหมาย ที่ใช้บังคับขณะยื่นฟ้องมาด้วย ถือได้ว่าโจทก์อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทําเช่นนั้น เป็นความผิดแล้ว คําฟ้องของโจทก์จึงชอบแล้ว จากที่ได้วินิจฉัยมาข้างต้น สรุปแล้ว โจทก์มีอํานาจยื่น ฟ้องคดีนี้ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ข้ออ้างของจําเลยข้อนี้ ฟังไม่ขึ้น

@‘รังสิมา รอดรัศมี’ พยาน มีคลิปเสียบบัตรมัด

ปัญหาต้องวินิจฉัยข้อต่อไปว่า จําเลยกระทําความผิดตามฟ้องหรือไม่

ในปัญหานี้ ข้อเท็จจริงได้ความจากนางสาวรังสิมา รอดรัศมี เป็นพยานเบิกความว่า มีบุคคลถือบัตร อิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงคะแนนไว้ในมือจํานวนหนึ่งซึ่งมากกว่า 2 บัตร และใช้บัตรดังกล่าวใส่ เข้าออกในช่องอ่านบัตร พร้อมกดปุ่มบนเครื่องลงคะแนนต่อเนื่องกันทุกบัตร ปรากฏตามภาพในคลิป วีดิทัศน์หมาย วจ.6 คลิปที่ 1 และที่ 2 และ วจ.9 คลิปที่ 3 ซึ่งพยานจดจําบุคคลนี้ได้เป็นอย่างดีว่า คือ จําเลย เนื่องจากพยานและจําเลยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาหลายสมัยและรู้จักกัน อีกทั้ง ก่อนถ่ายคลิปวีดิทัศน์ดังกล่าวพยานได้จัดทําแผนผังระบุที่นั่งและเสื้อผ้าของจําเลยและติดต่อสื่อสาร กับผู้บันทึกภาพอยู่ตลอดในระหว่างบันทึกภาพ ประกอบกับในชั้นพิจารณาจําเลยซึ่งได้ดูภาพจาก คลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.6 คลิปที่ 2 และ วจ.9 คลิปที่ 3 แล้วก็เบิกความรับว่า บุคคลที่ปรากฏในภาพ ตามคลิปวีดิทัศน์ดังกล่าวคือ จําเลย อันเป็นการเจือสมกับคําเบิกความของนางสาวรังสิมา พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักให้รับฟัง

@ส่ง ตร.กองพิสูจน์หลักฐาน ไม่พบตัดต่อ

ส่วนที่จําเลยต่อสู้ว่า คลิปวีดิทัศน์ดังกล่าวมีการตัดต่อจึงเป็นพยานหลักฐานที่ไม่สามารถรับฟังลงโทษจําเลยได้นั้น

เห็นว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองได้ส่งคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.6 วจ.9 และ วจ.114 ไปตรวจพิสูจน์ที่กองพิสูจน์ หลักฐานกลาง สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ตามที่โจทก์จําเลยแถลงขอ ซึ่งพันตํารวจโทนิติ อินทุลักษณ์ นักวิทยาศาสตร์ (สบ 1) กลุ่มงานตรวจพิสูจน์อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ กองพิสูจน์หลักฐานกลาง สํานักงานพิสูจน์หลักฐานตํารวจ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ พยานโจทก์เบิกความว่า พยานตรวจพิสูจน์คลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.6 และ วจ.9 แล้วได้ทํารายงานการตรวจว่า ผลการตรวจพิสูจน์ไม่พบ ร่องรอยการตัดต่อแฟ้มข้อมูลภาพยนตร์ที่ตรวจพบตามรายการที่ระบุซึ่งรวมถึงคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.6 คลิปที่ 2 และ วจ.9 คลิปที่ 3 ดังนี้ การตรวจพิสูจน์วัตถุพยานคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.6 และวจ.9 ได้กระทําตามหลักวิชาโดยผู้เชี่ยวชาญ มีน้ำหนักให้รับฟัง ส่วนคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.2 คลิปที่ 3 ซึ่งปรากฏภาพบางส่วนอย่างเดียวกันกับคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.9 คลิปที่ 3 แต่มีเสียง แตกต่างกันนั้น นายเกียรติศักดิ์ พุฒิพันธ์ พยานโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ ในการไต่สวนคดีนี้ก็เบิกความว่า ในชั้นไต่สวนได้รวบรวมคลิปมาจากหลายแหล่ง ทั้งจากนักข่าว ทั้งศาลรัฐธรรมนูญ และผู้กล่าวหา พยานยึดถือคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.6 คลิปที่ 2 และ วจ.9 คลิปที่ 3 ที่ได้จากนางสาวรังสิมาเป็นหลักฐานที่ใช้ในการกล่าวหาจําเลยคดีนี้ จึงส่งไปตรวจพิสูจน์ที่ กองพิสูจน์หลักฐานแล้วปรากฏว่าไม่มีการตัดต่อ ส่วนคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.2 มิได้ส่งไปตรวจ พิสูจน์ ดังนี้เห็นได้ว่าเหตุที่คลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.2 คลิปที่ 3 ปรากฏเสียงการอภิปรายของสมาชิก ในเวลาอื่นซึ่งมิใช่เหตุการณ์ในเวลาลงคะแนนนั้น อาจมีการนําเสียงในเหตุการณ์อื่นมาใส่จนเป็น เหตุให้คลิปวีดิทัศน์ดังกล่าวปรากฏเสียงไม่สอดคล้องกับภาพเหตุการณ์ขณะลงคะแนนก็เป็นได้ กรณีจึงไม่อาจนําเอาคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.2 มารับฟังเป็นข้อพิรุธแก่คลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.6 และ วจ.9 จนทําให้มีน้ำหนักในการรับฟังลดน้อยลงแต่อย่างใด

@พยานโจทก์มีน้ำหนัก ‘มาร์ค’ เบิกความสอดคล้อง ‘รังสิมา’

ส่วนที่จําเลยอ้างว่า นางสาวรังสิมามิได้ ประท้วงเรื่องการเสียบบัตรแทนกันในขณะเกิดเหตุทั้งที่เคยประท้วงเรื่องนี้มาตลอด ทั้งนางสาวรังสิมา มิได้นําคลิปวีดิทัศน์มาแสดงต่อสื่อมวลชนตั้งแต่วันแรก ๆ ที่เกิดเหตุ จึงไม่น่าเชื่อว่าจะมีคลิปวีดิทัศน์ ในวันเกิดเหตุจริงนั้น

ข้อนี้นางสาวรังสิมาเบิกความถึงเหตุผลในเรื่องนี้ว่า เหตุที่พยานไม่ได้ประท้วงต่อ ประธานในที่ประชุม เพราะประท้วงทีไรก็ไม่ได้ผล ทั้งหากเปิดเผยเรื่องคลิปออกไปในตอนนั้นอาจทํา ให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลที่บันทึกภาพ พยานจึงนําคลิปวีดิทัศน์ไปให้หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และฝ่ายกฎหมายของพรรคตรวจสอบก่อนว่าจะสามารถดําเนินการต่อไปได้หรือไม่ ซึ่งความข้อนี้สอดคล้องกับคําเบิกความของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น พยานโจทก์อีกปากหนึ่งที่เบิกความยืนยันว่า นางสาวรังสิมาได้นําคลิปวีดิทัศน์ไปให้ ตรวจสอบจริง คําเบิกความของนางสาวรังสิมาดังกล่าวจึงนับว่ามีเหตุผลให้รับฟัง แม้ไม่ปรากฏว่า บุคคลที่ถ่ายภาพคือผู้ใดหรือบุคคลนั้นมิได้มาเบิกความยืนยัน ก็ไม่ทําให้พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักลดน้อยลง และแม้คลิปวีดิทัศน์เกิดขึ้นจากการแอบถ่ายก็ตาม แต่ก็เป็นการแอบถ่ายการกระทํา ที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว มิได้มีการก่อหรือจูงใจให้เกิดการกระทําดังกล่าว การนําเสนอคลิปวีดีทัศน์จึงเป็นการ นําเสนอพยานหลักฐานที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจําเลยกระทําความผิด ทั้งการพิจารณาคดีในระบบไต่สวน ศาลมีอํานาจอย่างกว้างขวางในการค้นหาความจริงเพื่อพิสูจน์ว่าจําเลยมีความผิดหรือบริสุทธิ์ ทั้งศาลได้ ส่งคลิปวีดิทัศน์ไปตรวจพิสูจน์และได้เปิดให้พยานดูต่อหน้าคู่ความหลายครั้งดังที่กล่าวมาแล้ว ศาลจึง รับฟังคลิปวีดิทัศน์ดังกล่าวประกอบพยานหลักฐานอื่นได้

@ข้อสงสัยทำไมไม่มีคลิปชิ้นอื่นจากนักข่าว ไม่เป็นข้อพิรุธเพราะไม่ได้เฝ้าตลอดเวลา

ที่จําเลยอ้างว่า ขณะมีการประชุมเพื่อพิจารณา แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมีผู้สื่อข่าวจํานวนมากเฝ้าสังเกตการณ์อยู่ หากจําเลยกระทําผิดตาม คลิปวีดิทัศน์ดังกล่าวก็จะต้องมีคลิปวีดิทัศน์อื่นด้วยนั้น

เห็นว่า ผู้สื่อข่าวหรือบุคคลอื่นไม่มีเหตุที่จะต้อง สนใจคอยเฝ้าสังเกตดูจําเลยเป็นพิเศษตลอดเวลา ทั้งการที่จะบันทึกภาพขณะเกิดเหตุได้ก็มิใช่เรื่องง่าย เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะและเครื่องเสียบบัตรลงคะแนนมีเคาน์เตอร์บังด้านหน้าอยู่ ตามภาพถ่ายในบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุเอกสารหมาย จ.67 หน้า 3622 ถึง 3630 ดังจะเห็น ได้จากนางสาวรังสิมาเองยังต้องใช้ความพยายามอย่างมากโดยให้บุคคลที่ไว้วางใจมาแอบบันทึกภาพ จําเลยโดยเฉพาะจึงได้มาซึ่งคลิปวีดิทัศน์ดังกล่าว ดังนั้น การที่ไม่ปรากฏคลิปวีดิทัศน์จากผู้สื่อข่าว จึงไม่เป็นข้อพิรุธแต่อย่างใด พยานหลักฐานจากการไต่สวนรับฟังได้มั่นคงว่า จําเลยนําบัตรหลายใบใส่ เข้าไปในเครื่องลงคะแนนตามที่ปรากฏภาพในคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.6 คลิปที่ 2 วจ.9 คลิปที่ 3 และ วจ.6 คลิปที่ 1 ทั้ง 3 ตอน จริง

@8 จนท.รัฐสภามัดบุคคลในคลิปใช้บัตรลงคะแนนมากกว่า 1 ใบ

ปัญหาต่อไปว่า การที่จําเลยนําบัตรหลายใบใส่เข้าไปในเครื่องลงคะแนนตามที่ ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์เป็นการลงคะแนนแทนสมาชิกรายอื่นหรือไม่

ในข้อนี้นางสาวสายฝน ไกรสมเลิศ นางบุษกร อัมพรประภา นางปัทมา แสงดี นางสาวธนพร ธิราพรธราวุธ นางอัจฉรา จุยืนยง นายกันตินันท์ ตั้งใจ นายเจษพันธ์ วงศาโรจน์ นายชนะ มาประสม พยานโจทก์ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับบัตรลงคะแนน การลงคะแนน และงานธุรการในที่ประชุมรัฐสภา ต่างเบิกความตรงกัน ว่า บัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงคะแนนนั้นสมาชิกรัฐสภามีบัตรจริงคนละหนึ่งใบ และมีบัตร สํารองอีกคนละหนึ่งใบ โดยบัตรสํารองเจ้าหน้าที่เก็บรักษาไว้ที่สําหรับให้สมาชิกขอรับไปใช้ในกรณีลืม นําบัตรจริงมา นอกจากนั้นยังมีบัตรพิเศษ (SP) สําหรับสมาชิกที่ลืมนํามาทั้งบัตรจริงและบัตรสํารอง โดยเฉพาะนางบุษกร นางปัทมา นางธนพร นางอัจฉรา นายกันตินันท์ พยานโจทก์ซึ่งได้ดู คลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.6 คลิปที่ 2 วจ.9 คลิปที่ 3 และ วจ.6 คลิปที่ 1 ในระหว่างการไต่สวนของ ศาลแล้วต่างเบิกความยืนยันตรงกันว่า บัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงคะแนนที่บุคคลในคลิปวีดิทัศน์นํามาใส่ลงในเครื่องลงคะแนนต่อเนื่องกันนั้นเป็นบัตรจริง และมีจํานวนมากกว่า 1 ใบ เหตุที่ทราบว่าเป็นบัตรจริงเนื่องจากเป็นบัตรที่มีรูปติดอยู่

อีกทั้งนางอัจฉรา นายเจษพันธ์ นายชนะ นายชัยรัตน์ นายรุ่งศิลป์ ดาแก้ว พยานโจทก์เบิกความต่อไปว่า เครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์เครื่องหนึ่งสามารถเสียบบัตรของสมาชิกใบแรกลงคะแนนแล้วดึงออก จากนั้นเอาบัตรสมาชิกรายอื่นเสียบ เข้าไปเพื่อลงคะแนนของสมาชิกรายอื่นได้จนกว่าจะมีการปิดลงคะแนน ดังนั้น การกระทําของจําเลย ดังกล่าวจึงเป็นการดําเนินการตามขั้นตอนลงคะแนนอันส่งผลให้ปรากฏผลการลงคะแนนหลายครั้ง สําหรับบัตรแต่ละใบได้ แต่เมื่อจําเลยและสมาชิกรัฐสภาคนหนึ่งต่างพึงมีและใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ แสดงตนและลงคะแนนได้เพียงคนละ 1 ใบ เพื่อลงคะแนนคนละ 1 เสียง เท่านั้น กรณีจึงมีเหตุผลและน้ำหนักให้รับฟังว่า จําเลยได้ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงคะแนนจํานวนหลายใบก็เพื่อ ลงคะแนนแทนสมาชิกรายอื่นด้วย

@อ้างมีหลายใบเพราะทำบัตรใหม่หลายครั้ง- สนง.เลขาฯสภายันไม่เคยออกให้ใหม่

ส่วนที่จําเลยต่อสู้ว่า จําเลยหลงลืมบัตรจึงขอทําบัตรใหม่หลายครั้ง จําเลยถือบัตรทุกใบที่ถูกยกเลิกและบัตรสํารองไว้เสมอ จึงเห็นเป็นเสมือนว่าจําเลยมีบัตรหลายใบนั้น

ข้อเท็จจริงได้ความจากนางสาวสายฝน ไกรสมเลิศ ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานบริการทั่วไป สํานักการประชุม สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พยานโจทก์ เบิกความประกอบหนังสือสํานักงาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรลงวันที่ 2 มีนาคม 2558 ลงนามโดยนายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เอกสารหมาย จ.66 ว่า สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ตรวจสอบการ ออกบัตรลงคะแนนเสียงใหม่ของจําเลยตั้งแต่เข้ารับตําแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรวันที่ 1 สิงหาคม 2554 จนถึงยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 แล้ว ไม่มีการออกบัตรลงคะแนนเสียงใหม่แทนบัตรใบเดิมแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อยู่ในวิสัยที่จําเลยจะมีบัตรอิเล็กทรอนิกส์ แสดงตนและลงคะแนนของจําเลยซึ่งเป็นบัตรจริงหลายใบได้ดังที่อ้าง

นอกจากนั้น นางสาวพรลภัส ถนอมนาค พยานโจทก์ซึ่งเป็นเลขานุการในที่ประชุม นายเจษพันธ์ วงศาโรจน์ และนายชัยรัตน์ ทาริยา พยานโจทก์ซึ่งร่วมกันรับผิดชอบดูแลระบบลงคะแนน ต่างเบิกความสอดคล้องกันด้วยว่า หาก ขอออกบัตรใหม่จะมีการยกเลิกบัตรเดิม ทําให้บัตรเดิมไม่สามารถนํามาใช้ลงคะแนนได้อีก ดังนี้ กรณี จึงไม่มีประโยชน์อันใดที่จําเลยจะต้องนําบัตรที่ถูกยกเลิกแล้วมาใส่ในเครื่องลงคะแนนในขณะเกิดเหตุ ยิ่งกว่านั้น นายชัยรัตน์พยานโจทก์ยังเบิกความด้วยว่า หากใช้ทั้งบัตรจริงและบัตรสํารองของสมาชิก คนเดิมก็จะเป็นฐานข้อมูลสมาชิกเดียวกัน ระบบจะแสดงผลการลงคะแนนเพียงครั้งเดียว เพราะ ระบบคอมพิวเตอร์อ้างอิงตามฐานข้อมูล กรณีจึงไม่มีเหตุผลใดที่จําเลยจะต้องใส่ทั้งบัตรจริงและบัตรสํารองของจําเลยลงในเครื่องอ่านบัตรต่อเนื่องในคราวเดียวกัน

@ข้ออ้างถือบัตรอื่นไว้ด้วย-แต่คลิปมัดเสียบบัตรในเครื่องหลายใบ มีสัญญาณไฟกะพริบขึ้น

ส่วนที่จําเลยอ้างว่า จําเลยถือบัตรอื่นไว้ด้วยนั้น เมื่อพิจารณาจากภาพตามคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.6 คลิปที่ 2 วจ.9 คลิปที่ 3 ก็ปรากฏว่า มีการเสียบบัตรลงในเครื่องลงคะแนนด้วยบัตรจํานวนหลายใบโดยมีสัญญาณไฟกะพริบทุกครั้งที่ใช้บัตรแต่ละใบอันแสดงว่าใช้งานได้เป็นปกติ แสดงให้เห็นว่าบัตรแต่ละใบที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์นั้น ล้วนแต่เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงคะแนนทั้งสิ้น ข้ออ้างของจําเลยขัดต่อเหตุผล ไม่มี น้ำหนักให้น่าเชื่อถือ พยานหลักฐานตามการไต่สวนฟังได้ว่า จําเลยนําบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตน และลงคะแนนซึ่งเป็นบัตรจริงจํานวนหลายใบเสียบในเครื่องลงคะแนนตามที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์ หมาย วจ.6 คลิปที่ 2 และ วจ.9 คลิปที่ 3 ลงคะแนนแทนสมาชิกรายอื่น

@ มีการกระทำตามคลิป เหตุการณ์ขณะลงมติปิดอภิปราย

ปัญหาต่อไปว่า การกระทําของจําเลยตามที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.6 คลิป ที่ 2 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการลงคะแนนตามฟ้องข้อ 2.1 และการกระทําของจําเลย ตามที่ปรากฏคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.9 คลิปที่ 3 และ วจ.6 คลิปที่ 1 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ขณะที่มีการลงมติปิดอภิปรายตามฟ้องข้อ 2.2 หรือไม่

ในข้อนี้นางอัจฉรา จูยืนยง และนาย เกียรติศักดิ์ พุฒพันธุ์ พนักงานไต่สวน ต่างเบิกความทํานองเดียวกันว่า เสียงที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์ วจ.6 คลิปที่ 2 ตรงกับข้อความที่บันทึกไว้ในรายงานการประชุมรัฐสภาเอกสารหมาย จ.59 แผ่นที่ 3068 และ 3069 ส่วนเสียงที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์ วจ.9 คลิปที่ 3 และ วจ.6 คลิปที่ 1 ก็ตรงกับข้อความที่บันทึกไว้ในรายงานการประชุมรัฐสภาเอกสารหมาย จ.60 แผ่นที่ 3243 ถึง 3245 เห็นว่า นางอัจฉรา พยานโจทก์เป็นผู้บังคับบัญชากลุ่มงานโสตทัศนูปกรณ์ สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือได้ว่าเป็นพยานคนกลาง ได้เบิกความยืนยันว่าเสียงที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์ หมาย วจ.6 คลิปที่ 2 และ วจ.9 คลิปที่ 3 ตรงกับข้อความรายงานการประชุมรัฐสภา ซึ่งรายงาน การประชุมรัฐสภาดังกล่าวก็เป็นเอกสารที่เจ้าหน้าที่อื่นได้จัดทําขึ้นตามหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานในทางราชการตั้งแต่ก่อนมีการกล่าวหาคดีนี้ และรายงานการประชุมดังกล่าวได้บันทึกถ้อยคําของผู้เข้าร่วม ประชุมไว้แบบแทบทุกถ้อยคํา ย่อมนํามาเปรียบเทียบกับเสียงที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.6 คลิปที่ 2 และ วจ.9 คลิปที่ 3 ได้ พยานหลักฐานจากการไต่สวนจึงมีความเชื่อมโยงกัน ทั้งเมื่อศาลได้ พิจารณาดูคลิปดังกล่าวจากการที่ศาลได้จัดให้เปิดให้พยานหลายปากดูต่อหน้าคู่ความทั้งสองฝ่าย ประกอบด้วยแล้ว เชื่อว่า คลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.6 คลิปที่ 2 เป็นภาพเหตุการณ์ลงคะแนนระหว่าง ที่มีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภาในมาตรา 9 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2556 ตามฟ้องข้อ 2.1 ส่วนคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.9 คลิปที่ 3 เป็นเหตุการณ์ลงมติ ปิดอภิปรายที่มีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภาใน มาตรา 10 เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2556 ตามฟ้องข้อ 2.2 อีกทั้งคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.6 คลิปที่ 1 เป็นการลงคะแนนในเหตุการณ์ต่อเนื่องในคราวเดียวกันกับฟ้องข้อ 2.2

ส่วนที่จําเลยอ้างว่า บันทึก แจ้งข้อกล่าวหาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ระบุเวลากระทําผิดวันที่ 10 กันยายน 2556 เป็นเวลา 17.33 นาฬิกา แต่รายงานการประชุมร่วมกันของรัฐสภาระบุว่าเลิกประชุมเวลา 17.31 นั้น เป็น การบันทึกรายละเอียดซึ่งอาจคลาดเคลื่อนได้ และเวลาแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย จึงไม่ใช่ข้อพิสูจน์ว่า เป็นเหตุการณ์คนละวันกันดังที่จําเลยอ้าง

ส่วนที่จําเลยอ้างว่า การลงมติแต่ละครั้งใช้เวลาไม่เกิน 2 ถึง 3 วินาที ประธานในที่ประชุมก็จะขอผลการลงมติ แต่ในคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.6 ปรากฏภาพ เป็นระยะเวลา 1 นาที 23 วินาที จึงไม่ใช่เหตุการณ์ที่มีการลงคะแนนเพื่อขอมติที่ประชุมนั้น

เห็นว่า ข้ออ้างของจําเลยเป็นการกล่าวอ้างขึ้นเองโดยไม่มีพยานหลักฐานใดสนับสนุน และเมื่อ พิเคราะห์จากคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.6 คลิปที่ 1 แล้ว เห็นได้ว่าเป็นการบันทึกภาพเหตุการณ์เริ่ม ตั้งแต่มีการขอให้สมาชิกที่เข้ามาแสดงตนซึ่งต้องรอสมาชิกทําการเสียบบัตรและกดปุ่มแสดงตน และเมื่อส่งผลการแสดงตนว่ามีสมาชิกแสดงตนครบองค์ประชุมแล้ว ประธานในที่ประชุมจึงขอให้สมาชิกลงคะแนนซึ่งต้องรอเวลาสําหรับให้สมาชิกเสียบบัตรและกดปุ่มแสดงตน โดยเสียงประธานใน ที่ประชุมในคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.6 คลิปที่ 1 ตรงตามที่ได้บันทึกไว้ในรายงานการประชุมเอกสาร หมาย จ.60 แผ่นที่ 3243 ถึง 3245 โดยไม่มีข้อพิรุธใด ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า การกระทําของ จําเลยตามที่ปรากฏในคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.6 คลิปที่ 2 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการ ลงคะแนนตามฟ้องข้อ 2.1 และการกระทําของจําเลยตามที่ปรากฏคลิปวีดิทัศน์หมาย วจ.9 คลิป ที่ 3 และ วจ.6 คลิปที่ 1 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการลงมติปิดอภิปรายตามฟ้องข้อ 2.2

@ข้ออ้างผลสอบกมธ.ไม่พบผิด พอแถลงปิดคดีกลับรับว่าไม่มีการตั้ง – ถึงมีไม่ผูกพันศาล

ที่จําเลยอ้างว่า ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาตรวจสอบตามคําสั่งรัฐสภา ที่ 15/2556 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 ผลปรากฏว่าไม่พบการกระทําความผิด ทําให้ ข้อเท็จจริงยุติว่าไม่มีการกระทําความผิดนั้น ก็เป็นเพียงการตรวจสอบเหตุการณ์ในช่วงก่อนเกิดเหตุ คดีนี้ และจําเลยเองก็ยื่นคําแถลงปิดคดีรับว่าไม่มีการตั้งคณะกรรมาธิการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีนี้ ทั้งหากมีความเห็นของคณะกรรมาธิการดังกล่าวก็ไม่มีบทกฎหมายใดบังคับให้ศาลต้องผูกพัน วินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกัน ข้ออ้างของจําเลยจึงฟังไม่ขึ้น

@อ้างพ้นสภาพ ส.ส.ตั้งแต่รัฐประหาร – ศาลบอกขณะเกิดเหตุยังเป็น สส.- คสช.ไม่มีคำสั่งลบล้างการกระทําผิด

ที่จําเลยอ้างว่า หลังเกิดเหตุมีการรัฐประหารและยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ทําให้จําเลยพ้นสภาพจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การลงมติตามฟ้องถูกยกเลิกแล้ว จึงไม่มีผลทําให้รัฐหรือบุคคลอื่นเสียหายนั้น เห็นว่า ขณะเกิดเหตุ จําเลยดํารงตําแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยขณะนั้นการปฏิบัติหน้าที่ของจําเลยยังมีผลอยู่ แม้ต่อมาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีประกาศฉบับที่ 11/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นหมวด 2 แต่ก็หาได้มีผลเป็นการลบล้างว่าไม่มีการกระทําของจําเลยอันมิชอบด้วยกฎหมาย เกิดขึ้นในวันดังกล่าว หรือมีผลกลับกลายเป็นว่าการกระทําของจําเลยไม่เป็นความผิดตามกฎหมายไปได้

@อ้าง ส.ส.มีเอกสิทธิ์ลงคะแนน-ศาลต้องชอบด้วยข้อบังคับ ภายใต้คําปฏิญาณซื่อสัตย์สุจริต

ที่จําเลยอ้างว่า ในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา จําเลยจะแสดงความคิดเห็นหรือ ออกเสียงลงคะแนนย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนําไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวจําเลย ในทางใดมิได้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 130 วรรคหนึ่ง นั้น

เห็นว่า เอกสิทธิ์นี้เป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาดที่ได้รับความคุ้มครองโดยบทบัญญัติ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาได้แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความ คิดเห็นในที่ประชุมรวมทั้งลงคะแนนได้อย่างอิสระเสรี โดยไม่ต้องกังวลว่าจะไปกระทบกระเทือนหรือ เป็นผลร้ายแก่ผู้ใด แต่การใช้เอกสิทธิ์ดังกล่าวต้องชอบด้วยข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ตลอดจน อยู่ภายใต้คําปฏิญาณตนว่าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตด้วย เอกสิทธิ์ดังกล่าวจึงมิได้ เป็นข้อยกเว้นความรับผิดทางอาญาให้จําเลยสามารถลงมติแทนสมาชิกรัฐสภารายอื่นได้ มิฉะนั้นจะกลายเป็นเหตุให้นําเอกสิทธิ์ที่รัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครองนั้นมาใช้เพื่อกระทําการ อันละเมิดหรือฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญเสียเอง ข้ออ้างของจําเลยจึงฟังไม่ขึ้น

@ ละเมิดหลักการพื้นฐานของการเป็นสมาชิกรัฐสภา ขัดต่อหลักความซื่อสัตย์ สุจริตที่ได้ปฏิญาณตน

จากเหตุผลที่วินิจฉัยข้างต้น พยานหลักฐานตามการไต่สวนที่มีทั้งพยานบุคคลและ คลิปวีดิทัศน์ประกอบ จึงรับฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่า ขณะเกิดเหตุมีการออกเสียงลงมติร่าง รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา จําเลยนําบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและ ลงคะแนนซึ่งเป็นบัตรจริงของจําเลยและสมาชิกรายอื่นเสียบเข้าไปในเครื่องลงคะแนนหลายใบเพื่อ ลงคะแนนแทนสมาชิกอื่นตามฟ้องจริง การกระทําของจําเลยเป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานของการเป็นสมาชิกรัฐสภาซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่โดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือการครอบงําใด ๆ และต้องปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทยโดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามบทบัญญัติ มาตรา 122 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ขัดต่อหลักความซื่อสัตย์ สุจริตที่สมาชิกรัฐสภาได้ปฏิญาณตนไว้ตามมาตรา 123 และขัดต่อหลักการออกเสียงลงคะแนนตาม มาตรา 126 วรรคสาม ที่ให้สมาชิกคนหนึ่งมีเพียงเสียงหนึ่งเสียงในการออกเสียงลงคะแนน มีผลทําให้การออกเสียงลงคะแนนของรัฐสภาในการประชุมนั้น ๆ เป็นการออกเสียงลงคะแนนที่ทุจริต ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงของผู้แทนปวงชนชาวไทย ถือได้ว่าเป็นการกระทําทุจริตต่อหน้าที่ ในความหมายตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ดังนั้น การกระทําของจําเลยจึงเป็นการปฏิบัติในตําแหน่งหรือหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาซึ่งเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ปวงชนชาวไทย รัฐสภาและสมาชิกรัฐสภารายอื่น หรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต อันเป็นความผิดตามฟ้อง เมื่อการกระทําของจําเลยตามฟ้องข้อ 2.1 และข้อ 2.2 เป็นการกระทํา ต่างวันเวลากัน ลักษณะความผิดในแต่ละคราวอาศัยเจตนาในการกระทําความผิดแยกต่างหากจากกัน ได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน รวม 2 กรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91

อนึ่ง แม้ภายหลังการกระทําความผิด มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ใช้บังคับ โดยยกเลิกพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 แต่พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 ยังคงบัญญัติให้การกระทําตามฟ้องเป็นความผิดอยู่และมีระวางโทษเท่าเดิม จึงต้องลงโทษจําเลยตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่จําเลยกระทําความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคหนึ่ง

@ พิพากษา ผิด 2 กระทง คุก 16 เดือน พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรอ การลงโทษ

พิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 เป็นการกระทําความผิดหลายกรรม ต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 องค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้างมากให้ลงโทษจําคุกกระทงละ 1 ปี คําเบิกความของจําเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 78 คงจําคุกกระทงละ 8 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจําคุก 16 เดือน พฤติการณ์แห่ง คดีเป็นเรื่องร้ายแรง แม้ไม่ปรากฏว่าจําเลยเคยกระทําความผิดใด ๆ มาก่อนก็ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรอการลงโทษแก่จําเลย ส่วนที่โจทก์มีคําขอให้นับโทษในคดีนี้ต่อจากโทษของจําเลยในคดีหมายเลขดํา ที่ อม.8/2565 ของศาลนี้ นั้น เนื่องจากคดีดังกล่าวศาลยังมิได้มีคําพิพากษา คําขอส่วนนี้จึงให้ยก.

narit 0810 pic1narit 0810 pic2