ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #คุกรออยู่ ! ดูหมิ่นศาล ต่างจากละเมิดอำนาจศาล

#คุกรออยู่ ! ดูหมิ่นศาล ต่างจากละเมิดอำนาจศาล

7 September 2020
897   0

ความผิดฐาน “ดูหมิ่นศาล” แตกต่างจากข้อหา “ละเมิดอำนาจศาล”
________________\\\\\\\\\______________

โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม นักวิชาการกฏหมาย ศึกษา”กรณี “ละเมิดอำนาจ”ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา”ความแตกต่างระหว่าง”ดูหมิ่นศาล กับความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเพื่อให้พนักงานสอบสวนเป็นแนวทาง

หากพนักงานสอบสวนดำเนินคดีล่าช้า ผู้บังคับบัญชา และพนักงานสอบสวน อาจมีความผิดได้ “ผู้เขียนได้กล่าวโทษ นายอัจฉริยะ เรื่องรัตน์พงค์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยืออาชกรรม “ในความผิดฐานดูหมิ่นศาล” จังหวัด”พระนครศรีอยุธยา ” ต่อพนักงานสิบสวนสภอ.อยุธยา แต่ตำรวจนิ่งเฉย

ผู้เขียนมีความจำเป็นต้องดำเนินคดีกับตำรวจที่ทำสำนวคดีล่าช้าฯ ต่อไปเพื่อเป็นกรณีศึกษา และจะกล่าวโทษไปยังอธิบดีผู้พิพากษาภาคหนึ่ง เพื่อทำให้คดีนี้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายอัจฉริยะฯไม่ได้อยู้เหนือกฏหมาย

ความผิดฐาน “ดูหมิ่นศาล” อยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ในลักษณะที่ 3 ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม หมวดที่ 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม ในมาตรา 198 บัญญัติว่า
“ผู้ใดดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี หรือพิพากษาคดี หรือกระทำการขัดขวางการพิจารณาหรือพิพากษาของศาล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

ความผิด “ดูหมิ่นศาล” แตกต่างจากข้อหา “ละเมิดอำนาจศาล” โดยข้อหาหลังถูกบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในมาตรา 30-33 มีลักษณะที่มุ่งคุ้มครองกระบวนการพิจารณาคดีให้เป็นไปอย่างสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล แม้อยู่นอกศาลก็มีความผิดได้

ความผิด” ดูหมิ่นศาล” มีลักษณะที่มุ่งคุ้มครองสถานะและอำนาจของศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี ข้อหา “ละเมิดอำนาจศาล” มีลักษณะที่มุ่งคุ้มครองกระบวนการพิจารณาคดีให้ดำเนินไปโดยสงบเรียบร้อยและรวดเร็ว การกระทำที่นับเป็นความผิดในทั้งสองข้อหา

ดังนั้น “ความผิดฐาน”ดูหมิ่นศาล” เมื่อจำเลยให้”การรับสารภาพ”ในความผิดฐาน”ละเมิดอำนาจศาล”

ในความผิด”ฐานดูหมิ่นศาล”จะต้องร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด” เพื่อให้กฏหมายเกิดความศักดิ์สิทธิ เพื่อให้ผู้กระทำผิดมีความหลาบจำ การกล่าวหาศาล หรือบุคคลในขบวนการยุติธรรมไม่ว่าตำรวจหรืออัยการ หรือบุคคลทั่วไปโดยอาศัยยอดไล้นยอดแชร์นั้น “หมดสมัยแล้ว”จะต้องดูดำเนินการคดีทั้งหมด

แต่ด้วยเหตุ ความผิด”ฐานดูหมิ่นศาล”นั้น ศาลมิได้ดำเนินคดีในความผิดดังกล่าว เนื่องจากมีงานพิจารณาคดีจำนวนมาก เมื่อมีผู้กล่าวโทษต่อนักงานสอบสวน ว่า ให้ดำเนินคดีกับ”ผู้ให้การรับสารภาพ ในความผิดฐาน “ละเมิดอำนาจศาลแล้ว ในความผิด “ฐานดูหมิ่นศาล”

พนักงานสอบสวนต้องดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดที่ได้ กระทำการใดๆ เป็น การดูถูก เหยียบหยาม ด่าทอ สบประมาท ทำให้อับอาย และเป็นการกระทำที่ ลดคุณค่าของศาลในสายตาของผู้กระทำการดูหมิ่นศาล “จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”

โดยการไลน์สด พูดเป็นนัยยะว่าผู้พิพากษาลำเอี้ยง หรือกล่าวต่อประชาชนทั่วประเทศว่า”การตัดสินคดีของศาลไม่ยุติธรรม”เมื่อมีผู้กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวน ตาม มาตรา 2(8)

พนักงานสอบสวนต้องปฎิบัติตามคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่องการอำนวยการยุติธรรมในทางอาญา การทำสำนวนการสอบสวน มาตราควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดการสอบสวนในคดีอาญาหากพนักงานสอบสวนดำเนินการล่าช้า “ผู้กล่าวโทษ” ดำเนินคดีกับผู้ให้การ”รับสารภาพต่อศาล” ในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล โดยเร็ว หากดำเนินคดีล่าช้า “ผู้กล่าวโทษ”

สามารถร้องทุกข์ดำเนินคดีกับ พนักงานสอบสวน และผู้กำกับ สถานีตำรวจสถานีตำรวจภูธรณ์ พระนครศรีอยุธยาและผู้บังคับบัญชาระดับสูงนั้นๆได้ ต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อเอาผู้กระทำความผิดมารับโทษ