ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #คนไทยจะได้รับ 5 ผลกระทบ!! ถ้าหากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชผ่าน

#คนไทยจะได้รับ 5 ผลกระทบ!! ถ้าหากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชผ่าน

11 October 2017
907   0

รศ.ดร.สุรวิช วรรณไกรโรจน์ อาจารย์คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชหลายสมัย รวมทั้งคำสั่งแต่งตั้งล่าสุดจากมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2560ได้รับการเสนอชื่อจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เข้าร่วมร่างพ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 จึงเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญไม่กี่คนในประเทศไทยที่ติดตามและรู้เท่าทันเบื้องลึกหนาบางของกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองพันธุ์พืช (plant variety protection) เป็นอย่างดี




งานวิจัยเรื่อง “ผลกระทบและข้อเสนอแนะต่อการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา UPOV1991 และการแก้พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542” ได้สรุปว่า การแก้ไขกฎหมายพ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ตามแนวทางของสหภาพคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (UPOV1991) นั้น จะทำให้เกิดผลกระทบดังนี้
1) การที่ประเทศไทยจะต้องสูญเสียอิสระบางส่วนในการตัดสินใจให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ เนื่องจากอนุสัญญาฯได้กำหนดห้ามการตัดสินใจในบางประเด็น2) การที่วิสาหกิจต่างชาติซึ่งมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีและทุนสูง เข้ามายึดครองตลาดส่วนขยายพันธุ์ (เมล็ดพันธุ์และกิ่งพันธุ์) ของประเทศไทย ผ่านการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ของทั้งพืชเศรษฐกิจและพืชที่นักปรับปรุงพันธุ์พืชชาวไทยยังไม่ได้ปรับปรุงพันธุ์มากยิ่งขึ้น3) การที่ประเทศไทยจะต้องสูญเสียความมั่นคงทางอาหารและการเกษตร เนื่องจากการพึ่งพาพันธุ์พืชใหม่จากต่างประเทศมากยิ่งขึ้น4) การที่เกษตรกรจะต้องมีภาระต้นทุนส่วนขยายพันธุ์ที่ใช้ในการเพาะปลูกมากขึ้น เนื่องจากอายุการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ยาวนานและระบบตลาดส่วนขยายพันธุ์ของไทยไม่ได้เป็นระบบตลาดแข่งขันเสรีอย่างแท้จริง วิสาหกิจต่างชาติซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดในสัดส่วนที่สูงจึงจะสามารถกำหนดราคาสินค้าให้อยู่ในระดับสูงที่สุดได้5) การที่ประเทศไทยจะต้องสูญเสียประสิทธิภาพการดูแลจัดการทรัพยากรชีวภาพลง
โดยในประเด็นที่ 5 งานวิจัยได้ขยายความให้เห็นว่า การที่สหภาพคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ เห็นว่าการเปิดเผยแหล่งที่มาของเชื้อพันธุกรรมซึ่งใช้ในการปรับปรุงพันธุ์หรือแสดงหลักฐานการได้มาซึ่งเชื้อพันธุกรรมที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ต้องไม่ถูกใช้เป็นเงื่อนไขในกระบวนการพิจารณาคำขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่นั้น จะเป็นการลดทอนประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรชีวภาพอย่างร้ายแรง เป็นการสนับสนุนโจรสลัดชีวภาพ (Biopirate) ทางอ้อมนั่นเอง
รศ.ดร.สุรวิช วรรณไกรโรจน์ จบจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์รุ่น 37 เป็นเพื่อนร่วมภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร เดียวกันกับ ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร แต่น่าแปลกที่งานศึกษาและความเห็นของดร.สุรวิช ทั้งที่ผ่านกรมวิชาการเกษตรโดยตรงและผ่านสื่อต่างๆ กลับไม่สามารถหยุดยั้งการเดินหน้าของกระทรวงเกษตรในการเดินหน้ายกเลิกพ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 และร่างกฎหมายฉบับใหม่ที่เดินตาม UPOV1991 ได้เลย
แม้ประชาชนจะลุกขึ้นตั้งคำถาม แต่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ชุติมา บุณยประภัสร ซึ่งรู้เรื่องการเจรจาเอฟทีเอดีที่สุดคนหนึ่ง และพลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ ต่างเก็บตัวเงียบไม่แสดงความเห็นใดๆที่เป็นเรื่องใหญ่มากถึงมากที่สุดของเกษตรกรรายย่อย และอนาคตของเกษตรกรรมและระบบอาหารของประเทศ
ดาวน์โหลดเพื่ออ่านงานศึกษาของรศ.ดร.สุรวิช วรรณไกรโรจน์ เรื่อง ผลกระทบและข้อเสนอแนะต่อการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา UPOV และการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ได้ที่http://www.biothai.net/sites/default/files/2013_pvp_surawithdocument03_research.pdf
ดูและฟังการบรรยายเพิ่มเติมเรื่องผลกระทบจากการคุ้มครองพันธุ์พืชในมิติอื่นๆ เช่นบรรษัทสามารถหลีกเลี่ยงการขออนุญาตและแบ่งปันผลประโยชน์เมื่อใช้พันธุ์พืชพื้นเมืองในการปรับปรงพันธุ์ได้อย่างไรที่https://www.youtube.com/watch?v=pHQGIanz7Qo
ที่มา : BIOTHAIศุภกิจ โพธิผลสำนักข่าววิหคนิวส์