เรื่องฮอต ประเด็นฮิต » #กมธ. จับมือ ภาคประชาสังคม !และองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นน่าน สร้างฝายแกนดินซีเมนต์นับสิบตัว

#กมธ. จับมือ ภาคประชาสังคม !และองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นน่าน สร้างฝายแกนดินซีเมนต์นับสิบตัว

24 February 2022
291   0

กรรมาธิการแก้จน-ลดเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา จับมือ ภาคประชาสังคมและองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นน่าน สร้างฝายแกนดินซีเมนต์นับสิบตัว

ระหว่างวันที่ 14-20 กุมภาพันธ์ 2565 นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภาได้มอบหมายให้นายสุภัทร ราชธา เป็นตัวแทนของประธาน คณะกมธ. ในการ ทำงาน ร่วมกับชมรมคนปลายน้ำ รักษ์ต้นน้ำน่าน และ คนรักษ์ดิน น้ำ ป่า น่าน และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นน่าน
พื้นที่จังหวัดน่านส่วนใหญ่แล้วเป็นภูเขา ในหน้าฝนจะมีฝนตกลงมาค่อนข้างมากและไหลลงสู่ห้วยหนองต่างๆทำให้เกิดปัญหา ตะกอนดินไหลทับถมลงมา และ ยังสร้างปัญหาน้ำท่วม ซึ่ง นอกจากสร้างความเสียหาย ทางเศรษฐกิจและสังคมแล้ว ยังเป็นความสูญเปล่าของน้ำฝนตามธรรมชาติ อีกด้วย
ที่ผ่านมา พี่น้องเกษตรกรน่านได้สร้างฝายที่ทำด้วยไม้ไผ่ ก้อนหินและปูนซีเมนต์ตามลำดับ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายกย่องที่พวกเขาพยามแก้ปัญหาของตัวเอง แต่เนื่องจากฝายทั้งสามแบบมีจุดอ่อนคือน้ำจะลอดออกใต้ฝายได้ ทำให้ไม่สามารถเก็บกักน้ำเอาไว้ได้

14 กุมภาพันธ์ นายสุภัทร ราชธา และคณะ จิตอาสา จำนวน 8 คนจากจังหวัดขอนแก่น โดยการสนับสนุน ของผอ. ภัทรพล ณ หนองคาย ได้ลงพื้นที่ๆ ต.น้ำเกี๋ยน อ.ภูเพียง จ.น่าน พบ สปก. ผอ.ศูนย์น้ำ นายก อบต.และกำนัน ต.น้ำเกี๋ยน เพื่อร่วมกันวางผังน้ำ และ วางจุดก่อสร้างฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ เพื่อจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างใน วันรุ่งขึ้น

15 กุมภาพันธ์ ชมรมรักษ์ดิน น้ำ ป่า น่าน ได้กล่าวต้อนรับ นายสุภัทร ราชธา และคณะ โดยฉายภาพรวมของปัญหาฝาย ที่ชาวบ้านร่วมกันสร้างขึ้น และต้องการให้ปรับปรุงฝายแบบเดิมให้เป็นฝายแกนดินซีเมนต์ เพราะเห็นว่าจะเป็นการแก้ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น
โครงการนี้ ในระยะแรกเป็นการปรับปรุงฝ่ายปูนแบบเดิมกว่า 10 แห่ง หลังจากนั้นจะทยอยปรับปรุงฝายอีกจำนวนมาก รวมทั้งจะสร้างฝายแกนดินซอยซีเมนต์ขึ้นใหม่อีก 8 แห่งด้วย
นอกจากนี้ นายสุภัทร ราชธาได้สาธิตวิธี “การเตรียมรับน้ำฝนลงในดิน” ซึ่งเป็นนวัตกรรมในการกักเก็บน้ำฝน ได้ดีกว่าเดิมและมีประสิทธิภาพประสิทธิผลที่สูงกว่าเดิม เพราะช่วยลดปริมาณน้ำที่ไหลทิ้งลงสู่ทะเล และทำให้พื้นที่ต้นน้ำเป็นที่ชุ่มน้ำ ลดปัญหาโลกร้อน ไฟป่าและฝุ่นละอองหมอกควัน ฯลฯ ได้อีกด้วย
ในวันเดียวกันนั้น กำนันต.น้ำเกี๋ยน นายผ่อง มหาวงศนันท์ ผญ.จิตรกรลำทะสอน ได้ระดม เกษตรกรสร้างฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ ณ ลำห้วยเบี้ย พื้นที่ต้นน้ำเหนือหมู่บ้าน โดย คณะจิตอาสาได้เข้าร่วมกับเกษตรกรในการสร้างฝายด้วย สำหรับฝายที่สร้างขึ้นใหม่นี้ นอกจากจะเน้นความประณีตแล้ว ยังเน้นความทนทานมากเป็นพิเศษ

16 กุมภาพันธ์ นายสุภัทรดิศ ราชธา ลงพื้นที่ ต.ผาสิงห์ อ.เมือง จ.น่าน พบ ชมรมคนรักษ์ดิน น้ำ ป่า น่าน และผอ.รร.สามัคคีวิทยาเทศบาลเมืองน่าน อาจารย์และนักเรียน และได้วางจุดก่อสร้างฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ และให้นักเรียนช่วย ก่อสร้างฝาย (ก่อสร้างแล้วจำนวน20แห่ง) จนแล้วเสร็จ พร้อมขุดสะดือลำห้วยด้านเหนือน้ำ เพื่อเติมน้ำลงใต้ดิน และในวันเดียวกันนายสุภัทร ราชธา ยังได้พบกับดร.บุญรัตน์ (กรมการข้าว) ผญ.อิทธิพล อ.เวียงสา จ.น่าน เพื่อออกแบบระบบใช้พลังงานโซล่าเซลล์ เป็นต้นแบบที่ อ.เวียงสา จ.น่าน เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ต่อไป

17 กุมภาพันธ์ นายสุภัทรดิศ ราชธาและคณะได้ ลงพื้นที่ ต.ศรีษะเกศ อ.นาน้อย จ.น่าน พบ ประธานสภา รองนายก ผญ. เพื่อดูจุดที่เหมาะสมในการสร้างฝายหลายแห่ง เมื่อได้รับงบประมาณก่อสร้างแล้ว อีกทั้งยังได้บรรยายและตอบคำถามเรื่องฝายแกนดินซีเมนต์ ที่ครอบคลุมเรื่องวิธีการก่อสร้าง ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นตามมา และงบประมาณการก่อสร้างให้แก่นายอำเภอนาน้อย จ.น่าน และนายก.อบต.จำนวนมาก ของอ.นาน้อย และรับทราบเรื่องการลงดูพื้นที่ๆเหมาะสมในการก่อสร้างฝายต้นแบบที่ อบต.สถาน ด้วย
นอกจากนี้ ในบ่ายวันเดียวกัน นายสุภัทรดิศ ราชธา ยังได้บรรยายเรื่องฝายที่ห้องประชุม อบต.สถาน ให้ นายก อบต.ใน อ.นาน้อย จำนวน 7 แห่ง ได้รับทราบเรื่อง รูปแบบต่างๆของฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ การทำสระดินซีเมนต์ การใช้พลังงานโซล่าเซลล์ในการทำการเกษตรแบบผสมผสานด้วยการใช้ระบบน้ำหยด
รวมทั้งการลงดูจุดพื้นที่ๆเหมาะในการก่อสร้างฝายหลายแห่ง หลังจากที่มีงบประมาณก่อสร้างแล้ว พร้อมกำหนดจุดก่อสร้างฝายต้นแบบ เพื่อก่อสร้างในวันรุ่งขึ้น (18/2/65)

20 กุมภาพันธ์ 2565 นายสุภัทรดิศ ราชธา เป็นตัวแทนร่วมส่งมอบฝายแกนดินซีเมนต์จำนวน 8 แห่ง (ไม่รวมฝายดินซีเมนต์ที่มีการปรับปรุงคุณภาพของฝายให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีขึ้นกว่าเดิม) และแปลงปลูกป่าของ คนปลายน้ำรักษ์ต้นน้ำและชมรมคนรักษ์ดิน น้ำป่าน่านให้ ชาว ต.ลุ่มน้ำเกี๋ยน อ.ภูเพียง จ.น่าน ดูแลรักษาต่อไป

สำหรับการสร้างฝายที่น่าน ผมมีมุมมองในเรื่องนี้ 6ประการคือ
ประการแรก ความสำเร็จในการสร้างฝายขนาดเล็ก ที่จังหวัดน่านเกิดจากการร่วมมือกันระหว่างคณะกรรมาธิการกับ ภาคประชาสังคมทั้งที่อยู่ในพื้นที่และที่มาจากกรุงเทพ และองค์การบริหารส่วนตำบลในหลายๆอำเภอ ของจังหวัดน่าน
ประการที่สอง การต่อสู้กับความยากจนเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกของไทย เพราะความยากจนทำให้เกษตรกรไม่สามารถพึ่งพิงตนเองได้และเป็นฝ่ายที่ถูกกระทำจากตลาด (market) และรัฐ (state) หากแก้ปัญหานี้ให้ตกไปไม่ได้ ก็เป็นเรื่องยากที่ประเทศไทยจะเดินหน้าทางด้านเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพภาพในระยะยาว
ประการที่สาม การสร้างฝายขนาดเล็กของชุมชน แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรต้องการรักษาวิธีการผลิตที่ไม่ทำลายระบบนิเวศและทำให้เกิดการจ้างงานในภาคเกษตรเพิ่มขึ้น และยังสามารถรักษาเกษตรกรรายย่อยให้คงอยู่ในระบบเศรษฐกิจใหญ่ได้
ประการที่สี่ กระบวนการสร้างฝายเล็ก ที่มีประชาชน และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมช่วยให้เกิดความสมานฉันท์ในชุมชนขึ้น กล่าวคือคณะกรรมาธิการให้ความคิด อบต.ดูแลกฎหมาย ภาคประชาสังคมออกค่าปูนซีเมนต์ และชาวบ้านร่วมกันออกแรง
ประการที่ห้า เป้าหมายของการสร้างฝายขนาดเล็กคือการกินดีอยู่ดีของเกษตรกร การสร้างฝายมีนัยยะถึง การผนวกรวมคนในท้องถิ่นเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยได้อย่างมีเกียรติ และศักดิ์ศรี
ประการที่หก พื้นที่น่านเต็มไปด้วยป่าเขา พื้นที่ต้นน้ำ และความงดงามทางธรรมชาติ อยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่ควรสนับสนุนธุรกิจเอกชนให้เกษตรกรบุกรุก ธรรมชาติและทำลายป่า เพียงเพื่อปลูกพืชตามฤดูกาล ไปทำอาหารสัตว์ของธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น
การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมสมัยใหม่ ของไทย ต้องเลือกเส้นทางการพัฒนาที่จะส่งผลระยะยาวต่อประชาชน ทั้งในรุ่นปัจจุบันและอนาคตด้วย เราต้องไม่นำทรัพยากรที่เป็นทุนทางธรรมชาติมาใช้จนหมด เพราะว่าการมีชีวิตและ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และความมั่งคั่ง ในอนาคตยังต้องอาศัยทุนเหล่านี้ด้วย
รัฐบาลไทย จึงจำเป็นต้องเข้ามาปรับปรุงแหล่งน้ำขนาดเล็ก การทำมาหากิน และชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรส่วนใหญ่ให้พึ่งตนเองได้ จนกระทั่งมีฐานะทางเศรษฐกิจเหมือนกับคนชั้นกลาง หากทำเช่นนี้ได้ เท่ากับมีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมที่ระดับรากฐานของสังคม ประเทศไทยจะมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมได้อย่าง ยั่งยืน
ประชาธิปไตยแบบที่ประชาชนมีส่วนร่วมนี้จึงเป็นตัวเสริมและเป็นตัวที่ช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนดีขึ้นกว่าเดิมทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม