ความดีของรธน 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 20 ฉบับ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นฉบับที่ 20
กฎหมายไทย
รัฐธรรมนูญ
กฎมณเฑียรบาล
พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญ
พระราชกำหนด
ประมวลกฎหมาย
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
บริหารบัญญัติ
องค์การบัญญัติ
รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็น
“ราชาธิปไตย “ ภายใต้รัฐธรรมนูญ
และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
(เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข)
กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้ง แตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 20 ฉบับ เคยผ่านการแก้ไขสำเร็จมาแล้ว 22 ครั้ง[1]
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่ตีความรัฐธรรมนูญและวินิจฉัยข้อขัดแย้งข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ”
การแบ่งกลุ่มรัฐธรรมนูญ
หากแบ่งกลุ่มรัฐธรรมนูญ
ด้วยการวัดที่ระดับการเลือกสมาชิกสภานิติบัญญัติ จะสามารถแบ่งได้เป็นสามกลุ่มดังนี้
สภาที่มาจากการเลือกตั้ง
: สภานิติบัญญัติในกลุ่มนี้จะมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (ซึ่งสภาผู้แทนมีการเลือกตั้งโดยตรง ส่วนสภาสูงซึ่งเรียกว่าพฤฒสภามาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม) และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (ที่ทั้งสองสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรง)
สภาที่มาจากการสรรหา
: สภานิติบัญญัติที่เกิดมาจากการสรรหาทั้งหมดหรือบางส่วน โดยที่สมาชิกผู้มาจากการสรรหานั้นมีอำนาจมากพอในการจำกัดอำนาจสมาชิกที่มีมาจาการเลือกตั้งได้ ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
สภาที่มาจากการแต่งตั้ง
: ฝ่ายบริหารมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดหรือเกือบจะเป็นเช่นนั้น ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม, ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502, ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519, ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
ข้อวิจารณ์
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบางฉบับมีการให้อำนาจฝ่ายบริหารโดยไม่มีการถ่วงดุล ทำให้ฝ่ายบริหารมีความเฉียบขาดในการจัดการเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดความฉับไวในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน แต่ก็นำมาซึ่งการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิดโดยมีการสั่งลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปแล้วเป็นจำนวนมาก
มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยถึง 4 ฉบับที่มีบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งในฉบับต่อๆ มานั้นหมายเลขมาตราได้เลื่อนไป แต่ผู้คนก็ยังนิยมกล่าวถึงกรณีการใช้อำนาจเด็ดขาดของนายกรัฐมนตรีว่า “ใช้อำนาจตามมาตรา 17″[ต้องการอ้างอิง]
ซึ่งมีบทบัญญัติดังนี้
มาตรา 17 ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน หรือการกระทำอันเป็นการก่อกวนหรือคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน หรือการกระทำอันเป็นการทำลายทรัพยากรของประเทศ หรือเป็นการบั่นทอนสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้งนี้ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันใช้ธรรมนูญการปกครองนี้และไม่ว่าจะเกิดขึ้น ภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและของสภานโยบายแห่งชาติ มีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำของนายกรัฐมนตรีรวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่ง ดังกล่าวเป็นคำสั่งหรือการกระทำหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการหรือกระทำ การใดไปตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ นายกรัฐมนตรีแจ้งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบ
กรณีการใช้อำนาจตามมาตรา 17 เช่น
การปราบปรามคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
การสั่งประหารชีวิตบ้านต้นเพลิงที่ตลาดพลู
การสั่งยึดทรัพย์จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดย จอมพลถนอม กิตติขจร
การสั่งยึดทรัพย์จอมพลถนอม กิตติขจร โดย สัญญา ธรรมศักดิ์[6]
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 44 ให้อำนาจแก่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเหนืออำนาจของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการซึ่งคล้ายคลึงกับธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 มาตรา 17 และมาตรา 48 ซึ่งนิรโทษกรรมความผิดของทหารทั้งในอดีตและอนาคต จนถูกวิจารณ์
และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 265 ซึ่งยังคงใช้บทบัญญัติมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว จนกว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ภายหลังการการเลือกตั้งทั่วไปจะเข้ารับหน้าที่
ปัจจุบัน ได้ใช้รธน ปี 2560 ในการเลือกตั้งทั่วไปมาแล้ว 2 ครั้ง คือในปี 2562 และ 2566
เจตนารมณ์ของการร่างรธน60 คือ ต้องการให้โอกาส คนดี มีความสามารถ เข้ามาปกครองบ้านเมือง ในระบอบ ราชาธิปไตย หรือประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข เท่านั้น
ดังนั้น
พฤติกรรมใดๆของนักการเมือง และผู้สนับสนุนกิจกรรมของพรรคการเมืองใดๆ ที่ไม่เป็นไปตาม เจตนารมณ์ ของรธน 60 ย่อมส่งผลให้ผู้นั้น มีปัญหากับรธน องค์กรอิสระ ผู้มีหน้่าที่บังคับใช้ รธน 60 ตามหลัก นิติรัฐ และนิติธรรม นั่นเอง
นี่คือความดี ของรัฐธรรมนูญ 2560^^
หลายคนไม่รู้ ไม่เคยเข้าใจ
ระบอบราชาธิปไตย = ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
เดิม ก่อน 24 มิย 2475 สยาม ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขมาโดยตลอด
27 มิย 2475 และ 10 ธค 2475 รัชกาลที่ 7 ทรงประทานรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวหรือฉบับที่1 และ2 ให้ปวงชนชาวไทย ตามลำดับ จนถึงปัจจุบัน เป็นรัฐธรรมนูญ ปี 2560 หรือฉบับที่ 20
ไทยไม่เคยปกครองด้วยระบอบ ประชาธิปไตย (โดยสมบูรณ์ ) เพราะ ระบอบ ประชาธิปไตย ต้องมีประธานาธิบดี เป็นประมุข
แม้แต่ระบอบคอมมิวนิสต์ ก้อล้วนแต่มีประธานาธิบดี เป็นประมุข
ทำไมระบอบราชา หรือระบอบราชาธิปไตยจึงอยู่กับสยามหรือไทย มายาวนานกว่า 785 ปี ? ( สยามตั้งเมื่อ พศ 1781 )
เพราะเป็นการปกครองที่เหมาะกับ
ชนชาวสยามที่ผสมผสาน หลากหลายด้าน
ขนบธรรมเนียม
ประเพณี
วัฒนธรรม
ความเชื่อ ศาสนา
เชื้อชาติ สีผิว
นั่นเอง
การก๊อปปี้ ระบอบการปกครองจากต่างชาติอื่นๆ ที่มีความแตกต่างจากเราอย่างมาก จึงไม่สามารถทำได้
หลายคนคงรู้แล้ว
หลายคนคงเข้าใจแล้ว^^
ดุลย์ จุลกะเศียน
วิศวนเกษตรกร#1
6 มกราคม 2567
หลังการอภิปราย พรบ งบประมาณประจำปี 2567